คู่มือลัด: Scrum สำหรับสตาร์ทอัพ

คู่มือลัด: Scrum สำหรับสตาร์ทอัพ

สกรัม (Scrum) เป็นการบริหารโปรเจคอไจล์ (Agile) รูปแบบหนึ่งที่เน้นไปที่การทำงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ความเร็วและการทำรอบ

หากคุณได้ก้าวเข้าสู่ชุมชนสตาร์ทอัพ คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับวิธี Lean ทีม Scrum และ Agile ต่างก็มีหลายความเห็นมากมาย วันนี้ผมต้องการตัดความคิดเห็นที่คุณเคยได้ยินมาออกไป และโฟกัสกับสิ่งที่สามารถเปลี่ยนวิธีการบริหารทีม บริษัท หรือแม้กระทั่งชีวิตของคุณเอง:

สกรัม (Scrum)

สกรัม (Scrum) เป็นการบริหารโปรเจคอไจล์ (Agile) รูปแบบหนึ่งที่เน้นไปที่การทำงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ความเร็วและการทำรอบ ในระยะเริ่มต้นอาจมีกระบวนการวางแผนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เวลาส่วนใหญ่ที่ใช้ในโครงการ Agile นั้นคือการส่งมอบและการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโค้ด การสร้างต้นแบบ(prototype) หรือการสร้างสิ่งที่จับต้องได้

ในหนังสือ Scrum: The Art of Doing Twice the Work in Half the Time Jeff Sutherland ได้กล่าวไว้ไว้

Scrum ล้อมรอบไปด้วยความไม่แน่นอนและความคิดสร้างสรรค์ โดยวางโครงสร้างไว้กับขั้นตอนการเรียนรู้ ช่วยให้ทีมได้ประเมินทั้งสิ่งที่สร้างขึ้น และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือสร้างมันอย่างไร Scrum framework จะควบคุมว่าทีมทำงานอย่างไร และมอบเครื่องมือ scrum แก่สตาร์ทอัพเพื่อจัดการตนเองและพัฒนาทั้งความเร็วและคุณภาพของงาน

Scrum สำหรับสตาร์ทอัพ – หน้าที่

ในทีม scrum มีอยู่ 3 หน้าที่คือ Product owner scrum master และทีม scrum

Product Owner

Product Owner เป็นคนที่มีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับผู้ใช้ เข้าใจมุมมองของลูกค้าและสิ่งที่สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ

เขายังทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญเพื่อสร้าง User story โดย User story คือข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่มาในรูปแบบของ

จาก (หน้าที่) ฉันต้องการ (การทำงาน) เพื่อให้ (เหตุผล)

Product owner จะเป็นคนนำทีม agile ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทีมมุ่งหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยการจัดการและจัดลำดับความสำคัญของรายการใน Product Backlog ซึ่งเราจะพูดถึงในส่วน Scrum Artifacts

บาง บริษัท อาจมี Product owner มากกว่าหนึ่งราย  บุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนคณะกรรมการผลิตภัณฑ์มากกว่า Product owner ของ บริษัท อาจเป็น CMO หรือทีมพัฒนาและทีมบริการลูกค้าก็ได้

Scrum Master

หาก Product owner รับผิดชอบเกี่ยวกับ”อะไร”ที่เราจะทำ Scrum Master ก็จะรับผิดชอบว่าเราจะทำมัน”อย่างไร”  แต่แตกต่างจากโครงสร้างองค์กรแบบเดิม Scrum Master ไม่ใช่หัวหน้าของทุกคนในทีม

ในทางตรงกันข้าม Scrum นำหลักการมากจากการเป็นผู้นำแบบผู้รับใช้ (servant leadership) โดยหน้าที่หลักของ Scrum master คือแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในทีม

หนึ่งในข้อจำกัดที่ใหญ่ที่สุดของทีมหรือโปรเจค scrum คือเวลา และ Scrum Master จะช่วยเพิ่มสิ่งนี้โดยการขจัดอุปสรรคต่างๆและนำทีมไปสู่กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Scrum Master ยังช่วยในการทำ Daily Stand-up ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาทีและให้สมาชิกในทีมแต่ละคนตอบคำถาม 3 ข้อดังต่อไปนี้

  • เมื่อวานคุณทำงานอะไรบ้าง
  • วันนี้คุณจะทำอะไร
  • มีอุปสรรคอะไรบ้างที่ทำให้คุณช้าลง

นี่เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ทุกคนมีโอกาสได้ pitch และช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม ขณะเดียวกันยังได้เห็นสถานะภาพรวมในระดับสูงของโปรเจคอีกด้วย

สมาชิกของทีม

พวกเขาเป็นแกนหลักของทีม scrum! ตามหลักการทีมจะประกอบด้วย 5-9 คน ที่มีการทำงานร่วมกัน การจัดการตนเองและการทำงานข้ามสายงาน

และแม้ว่า Product owner จะตัดสินใจทิศทางของโปรเจคและ Scrum Master ก็สนับสนุนทีม แต่ท้ายที่สุดก็คือสมาชิกในทีม Agile ที่จะตัดสินใจว่าจะทำงานอย่างไร: พวกเขาได้ตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมือScrum สำหรับ startup แบบใด วิธีการที่จะใช้ สิ่งที่พวกเขาต้องการทำและสิ่งที่พวกเขาคิดว่าสามารถทำให้เสร็จสำหรับรอบ sprint นั้น

ท้ายที่สุดสมาชิกในทีม Scrum ไม่ได้เพียงรับผิดชอบเฉพาะส่วนของตัวเองในโปรเจค พวกเขายังคาดว่าจะช่วยให้สมาชิกในทีมก้าวข้ามอุปสรรคและช่วยให้ทีมส่งมอบผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ในตอนท้ายของทุก sprint

ดังที่ Chris Sims และ Hillary Louise Johnson กล่าวไว้ “สิ่งที่เรากำลังอธิบายคือการเปลี่ยนความคิดจาก 'การทำงานของฉัน' เป็น 'การทำงานชิ้นนั้น' '

Scrum สำหรับสตาร์ทอัพ – ทรัพย์สิน* (Artifact)

Scrum Artifacts

ในตอนนี้คุณได้ทราบแล้วว่าการสร้างทีม scrum ต้องมีใครบ้าง และต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละวัน

The Product Backlog

Product Backlog คือสิ่งที่ทีมจำเป็นต้องทำทั้งหมดในโปรเจคนั้นๆ ประกอบด้วย user story โดยจะบริหารโดย Product owner

ซึ่งจะจัดรายการตามลำดับความสำคัญ สิ่งที่สำคัญที่สุดจะอยู่บนสุดของรายการ

The Sprint Backlog

Sprint คือระยะเวลาการทำงาน โดยมีการกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดเอาไว้ สามารถมีระยะเวลาสั้น เพียงหนึ่งอาทิตย์หรือยาวถึงหนึ่งเดือน

Sprint Backlog จะคล้ายกันกับ Product backlog ตรงที่ประกอบไปด้วยทุกอย่างที่ทีมตัดสินใจจะส่งมอบในหนึ่ง sprint ทีมจะตัดสินว่าเรื่องใดจะอยู่ใน Sprint Planning Meeting ของแต่ละสัปดาห์บ้าง ซึ่งมักจะจัดในทุกๆวันจันทร์

Burndown Chart

Burndown Chart เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ product owner ต้องรับผิดชอบ โดยแสดงถึงเรื่องและงานที่ทีมยังต้องทำเมื่อเทียบกับเวลาของโปรเจค

หากทีมทำงานได้ดี Burndown chart ควรแสดงเส้นกราฟที่ลดลงเรื่อย ๆ จนถึงแกน x

The Scrum Task Board

Scrum Board แบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ คือ สิ่งที่จะทำ (To-Do) กำลังทำ (Doing) ทำเสร็จแล้ว (Done)

นี่คือสิ่งที่ยอดเยี่ยมมากเพราะคุณสามารถดูได้ว่าทีมของคุณอยู่จุดไหนของช่วงเวลา และยังแสดงว่าแต่ละทีมใช้เวลาในการทำงานเท่าไหร่เพื่อคุณสามารถจัดสรรทรัพยากรให้สอดคล้องได้

ความหมายของ “ทำเสร็จแล้ว” (Done)

ผมชอบการให้นิยามของคำว่า “ทำเสร็จแล้ว” (Done) จากหนังสือ Scrum: A Breathtakingly Brief and Agile Manifesto

“โปรแกรมเมอร์อาจจะเรียกบางอย่างที่ “ทำเสร็จแล้ว” เมื่อตอนที่เขาได้เขียนโค้ด เทสเตอร์อาจจะคิดว่าการ “ทำเสร็จแล้ว” หมายความว่างานได้อัพโหลดสู่เซิร์ฟเวอร์ของผลิตภัณฑ์นั้น นักธุรกิจอาจจะคิดว่างานที่ “ทำเสร็จแล้ว” คือการที่เราสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้า และลูกค้าพร้อมใช้บริการ”

บทสรุป

ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ทำช่วยให้ทีม Scrum ในสตาร์ทอัพของคุณปะรสบความสำเร็จได้ แต่เราหวังว่าคุณเริ่มมองภาพออกว่าจะสามารนำทีม scrum สำหรับสตาร์ทอัพมาใช้ขั้นตอนงานของคุณอย่างไร และจะช่วยคุณได้อย่างไร

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ก่อตั้งเริ่มต้นที่พยายามส่งมอบงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือคุณเป็นผู้ประกอบการที่มีความมั่นคงมากขึ้นและต้องการหาวิธีทำความเข้าใจกับโครงการทั้งหมดที่คุณกำลังทำอยู่ Scrum for Startups สามารถช่วยได้!

 

อ้างอิง

Scrum for Startups: A Quick Guide

*ที่มาของคำว่า "ทรัพย์สิน" http://www.scrum123.com/scrum/agile-scrum-begin-of-journey/

เตรียมพบกับหลักสูตร FULL TIME COURSE (JAVA)) เรียนกัน 3 เดือน

Codecamp

  1. คอร์สเรียนเข้มข้นจันทร์ – ศุกร์ เต็มวัน
  2. ฝึกงานด้วย Agile/Scrum ได้ทำงานจริงกับบริษัทจริง
  3. Speed Dating Day เลือกบริษัทที่ใช่กว่า 30 บริษัท

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่