คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain – NFT The Power of Hype)

คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain – NFT The Power of Hype)

วันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย พร้อมด้วยคุณสถาพน พัฒนะคูหา ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain - NFT The Power of Hype)

โดยการอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับนานามหาวิทยาลัยที่มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) มาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) ของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

แต่เดิมทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้มีการทำความร่วมมือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อย่างไม่เป็นทางการในรูปแบบของมาตรการเชิงรับ กล่าวคือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามายังสมาคม จึงมีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยต้องการ เช่น การวิพากษ์หลักสูตร, การจัดส่งวิทยากรเพื่อการอบรมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, การจัดส่งวิทยากรเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของนิสิตและนักศึกษา, การเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว, การฝึกงานของนักศึกษา เป็นต้น

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา รวมถึงการให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นิสิต นักศึกษาและมหาวิทยาลัย จากกิจกรรมที่ผ่านมา จึงต้องการเพื่อปรับมาตรการเป็นเชิงรุก เพื่อร่วมมือกับกลุ่มมหาวิทยาลัยและเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการประกาศจัดตั้ง "มาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) หรือ โครงการ TPA Education" ประจำปี 2564 ด้วยเหตุผลในการสร้างเครือข่ายและสัมพันธ์อันดีของสมาคมร่วมกับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนา ยกระดับองค์ความรู้ทางการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับนิสิตและนักศึกษา โดยผ่านกิจกรรมความร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของกิจกรรมที่ผ่านมาของสมาคม อาทิช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT), จัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่หรือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน, จัดส่งวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือประสานกับกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อสนับสนุนทั้งในด้านการเป็นวิทยากรให้กิจกรรมทางการศึกษา หรือการแนะแนวให้กับนิสิตนักศึกษา, ประสานงานเป็นสื่อกลางในการจัดหาสถานที่ฝึกงาน หรือรับสมัครงานกับบริษัทในเครือพันธมิตรของสมาคมให้แก่นิสิตนักศึกษา และความร่วมมือในการจัดกิจกรรมบูรณาการทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT), การดำเนินโครงการต่างๆ รวมถึงพัฒนาทักษะ ที่ทางสาขา คณะ มหาวิทยาลัยต้องการหารือเพิ่มเติมตามสมควร เพื่อเป็นรากฐานทางการศึกษาที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป

ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยชั้นนำมากมายที่เข้าร่วมเซ็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน อาทิ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยสยาม, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เป็นต้น