นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากช่อง 3 ผ่านรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ให้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ สลิปปลอม

นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากช่อง 3 ผ่านรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ให้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ สลิปปลอม

นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากช่อง 3 ผ่านรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ให้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ สลิปปลอม

นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า โปรแกรมดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาบนเว็บเบส โดยการเขียนโค้ด และใช้โปรมแกรมตัดต่อมาประกอบกัน ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็สามารถปลอมแปลงสลิปขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

เช่นเดียวกับนายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่า การทำสลิปปลอม หรือการเขียนโปรแกรมปลอมสลิป ทำได้ไม่ยาก

ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องเรียน จากเจ้าของร้านขายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ว่า ถูกคนร้ายในคราบลูกค้า ปลอมสลิปหลอกโอนเงินซื้อมือถือ จำนวน 2 เครื่อง มูลค่า 35,200 บาท

พฤติกรรมของคนร้ายรายนี้ จะเข้ามาซื้อโทรศัพท์มือถือในลักษณะเร่งรีบ พยายามรีบปิดการซื้อโดยเร็ว ไม่ค่อยต่อรองราคา จากนั้นจะขอจ่ายเงิน แบบโอนผ่านบัญชีธนาคาร โดยอาศัยจังหวะนี้ปลอมสลิปขึ้นมา ก่อนจะโชว์สลิปให้พนักงานในร้านดู

เจ้าของร้านยอมรับว่า พนักงานของร้านเองก็ไม่รอบคอบ ที่ไม่ส่งสลิปให้เช็คยอดเงินทันทีหลังการซื้อขาย เนื่องจากกำลังให้บริการลูกค้ารายอื่นอยู่ จึงถูกหลอก

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบ ยังพบว่ามีร้านขายมือถือ ย่านบางพลี สมุทรปราการ ถูกคนร้ายรายนี้ ใช้สลิปปลอมซื้อมือถือเช่นเดียวกัน โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค.65 ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหาย 29,900 บาท

ขณะเดียวกัน วานนี้มีการเปิดเผยว่า กลุ่มเฟซบุ๊ก ‘ชุมชนสายเทา Marketing’ มีสมาชิกรายหนึ่ง โพสต์ขายโปรแกรมสำหรับแก้ไขข้อมูลสลิปโอนเงินบนแอปธนาคารในมือถือ โดยโปรแกรมนี้สามารถเปลี่ยนข้อมูลได้ทั้งหมด ตั้งแต่ วันที่ , เวลา, รหัสอ้างอิง, ชื่อบัญชี รับ - โอน และ จำนวนเงิน

เมื่อระบุข้อมูลครบถ้วน ก็กดให้โปรแกรมสร้าง (generate) ภาพสลิปปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมา ก็จะสามารถนำไปใช้ได้ทันที และสลิปที่ออกมานั้นมีลายน้ำ และตอนนี้สามารถทำสลิปปลอมได้แล้ว 2 ธนาคารดัง

จากการสำรวจดูโพสต์ต่างๆ ในกลุ่มเฟซบุ๊กนี้ พบว่ามีอีกหลายโพสต์ที่เปิดขายไฟล์ภาพสลิปโอนเงินปลอม แม้กระทั่งไฟล์ PSD บัตรประชาชน ที่สามารถแก้ไขได้ทุกจุด โดยอ้างว่าเอาไว้ทำการตลาด (ส่วนใหญ่เป็นเว็บพนันออนไลน์)

ส่วนกรณีข้างต้นที่มีการใช้สลิปปลอมซื้อโทรศัพท์มือถือนั้น น่าจะเป็นการตัดต่อ ตัวเลข เพราะมิจฉาชีพจะต้องโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อให้ได้สลิปตัวจริงมา ก่อนจะทำการตัดแปะ เปลี่ยนตัวเลขลงไป สังเกตได้จาก ตัวเลขในสลิปปลอม จะลอยเอียง ไม่ตรงเป็นระนาบเดียวกัน

ทั้งนี้ การตรวจสอบว่าเงินเข้าบัญชีจริงหรือไม่ ทำได้ไม่ยากเพียงแค่เสียเวลาเล็กน้อย แค่สแกน QR CODE บนสลิปโอนเงินแบบ E-Slip สามารถตรวจสอบ ชื่อผู้โอน จำนวนเงิน วันและเวลาที่โอนเงินได้ หากยอดเงินไม่ตรง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นสลิปปลอม และอีกวิธีใช้บริการแจ้งเตือนของธนาคาร ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อมียอดเงินเข้าบัญชี สามารถนำไปเทียบยอดเงินกับสลิปได้

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/socialnews/weekend/303420

https://www.youtube.com/watch?v=HjOxzwP3Uws&t=10s