คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้เข้าร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Coding ในชีวิตประจำวัน ให้กับคณะครู และนักเรียน

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้เข้าร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Coding ในชีวิตประจำวัน ให้กับคณะครู และนักเรียนโรงเรียนอรุณวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และคณะครูโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ในปัจจุบันหลายโรงเรียนทั่วโลกได้จัดการเรียนการสอน Coding ให้เป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐานที่ถูกบรรจุในหลักสูตรให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ในโรงเรียน โดยเด็กนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการคิด การวางแผนอย่างเป็นระบบ และนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จบลงไปแล้วกับกิจกรรม Monthly Meet Up debate มันๆ ในงาน High Code vs Low Code จัดขึ้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ร้าน Clazy Café

จากกระแสดราม่าร้อนแรงที่เกิดขึ้นในโลกโซเชียล จึงนำไปสู่การจัดกิจกรรม Meet Up ในงาน High Code vs Low Code จัดขึ้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ร้าน Clazy Café โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 40 คน ในรูปแบบการ debate ระหว่างทีม Low Code นำโดย คุณตั้ม ณปนายุ ศิริกระจ่างศรี TBNsoftware และคุณแชมป์ นริศร ลิมสวัสดิ์ไพศาล Microsoft Thailand และทีม High Code นำโดย คุณออม ก้องเกียรติ คุณพาณิชย์โชติ Brikl และคุณเปรม กิตติกร ประเสริฐศักดิ์ borntoDev ได้ร่วม dabate ในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เช่น ทักษะที่จำเป็นของทั้ง 2 แบบ และ ระยะเวลาในการเรียนรู้ (learning curve), ความรวดเร็ว และความเสี่ยงในการพัฒนา, ข้อกำจัด และความท้าทาย High Code และ Low Code, โอกาส และการเติบโตในสายอาชีพ, High Code และ Low Code สามารถทำงานร่วมกันได้ไหม หรือต่อยอดอย่างไรได้บ้าง เป็นต้น

หลังจบการ debate ยังต่อด้วยกิจกรรม Networking ร่วมพบปะพูดคุย สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ และแชร์ความรู้ ประสบการณ์ไปกับผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแจกรางวัล โดยทาง Talance ได้แจกรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ถึง 2 รางวัลด้วยกัน

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบคุณ Speakers ทั้ง 2 ทีม ที่มาร่วม debate และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมงาน รวมถึง Moderators ทั้ง 2 ท่าน ที่ช่วยดำเนินรายการผ่านไปด้วยดี และที่สำคัญขอขอบคุณผู้สนับสนุนทุกท่านที่สนับสนุนสมาคมฯ มาด้วยดีตลอด รวมถึงผู้เข้าร่วมงาน และทีมงานทุกท่านที่ทำให้กิจกรรม Meet Up ในครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี แล้วพบกันใหม่กับกิจกรรม
Monthly Meet Up ในเดือนถัดไป

สำหรับใครที่พลาดกิจกรรมนี้ สามารถดู Live ย้อนหลังได้ที่ >
https://www.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย – บริษัท Kok Kok จำกัด จับมือลงนาม MOU มุ่งพัฒนาสร้างความรู้ด้านซอฟต์แวร์ และพัฒนาสายอาชีพโปรแกรมเมอร์

.
วันที่ 21 ตุลาคม 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย นำโดย นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมฯ, นายอภินันท์ วรตระกูล กรรมการและประชาสัมพันธ์สมาคมฯ และนายเอกนรินทร์ ศิริทรัพย์ กรรมการและนายทะเบียนสมาคมฯ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก Mr. Anousit Koulavong ผู้อำนวยการ บริษัท Kok Kok จำกัด และคณะ เพื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือพัฒนาความรู้ด้านซอฟต์แวร์ (software) และฮาร์ดแวร์ (hardware) ณ ประเทศลาว

.

.
จุดประสงค์ของการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือนี้ เพื่อพัฒนาความรู้ด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรภายในและภายนอกบริษัท กระตุ้นความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้านอื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร และสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายโปรแกรมเมอร์ในประเทศลาว ด้วยเหตุนี้ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงที่จะลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อพัฒนาบุคลากรและการศึกษาในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

.
โดยการทำ MOU ครั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กร มีความตั้งใจที่จะผลักดันสายอาชีพโปรแกรมเมอร์ให้ก้าวหน้า เพิ่มจำนวนคนที่มีประสิทธิภาพในสายอาชีพโปรแกรมเมอร์ เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง

.

.
ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้ง 2 องค์กร ทั้งกิจกรรมในไทย และลาว ติดตามได้ทางเพจสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย (https://www.

depa – สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย สร้างสายสืบไซเบอร์กับโครงการ White Hat Hacking for Security 2022

ในปัจจุบันความสำคัญด้านความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กร ถือเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จากประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) รวมถึงการอนุมัติร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ผ่านมาในปีนี้ ทางองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมนโยบาย และแผนดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับพรบ. และแผนปฏิบัติการ ความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ จึงได้พูดคุยหารือกับ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง จาก depa และจัดตั้งโครงการ White Hat Hacking for Security เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้าน Cybersecurity เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลให้มากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ประสบความสำเร็จในรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 จากโครงการ White Hat Hacking for Security 2020 และ 2021 ทาง depa และ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรในการสร้างบุคลากรทางด้าน Cybersecurity เพื่อรองรับสังคมดิจิทัลในยุค Work from home เนื่องจากนโยบายการทำงานขององค์กรที่เปลี่ยนไป ทำให้แผนการป้องกันข้อมูลต้องถูกพัฒนาไปพร้อมกันตามยุคสมัย แต่บุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์กลับขาดแคลนเป็นอย่างมาก ทั้งกำลังพล ความรู้ และความเชี่ยวชาญ เพราะยังถือว่าเป็นวิชาชีพใหม่ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก จึงเป็นโอกาสของคนที่กำลังมองหาอาชีพใหม่ในยุคดิจิทัล ที่เปิดโอกาสด้านความก้าวหน้าของสายอาชีพ โอกาสในการทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความต้องการในตลาดการจ้างงานยังมีเป็นจำนวนมาก

โครงการ White Hat Hacking for security 2022 ได้รับเกียรติจาก นางสาวสุชนา สินธวถาวร รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง เป็นประธานในพิธีกิจกรรม Capture the Flag ณ อาคารมหาวชิรุณหิศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.รตินันท์ บุญเคลือบ หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เห็นความสำคัญในกิจกรรมดังกล่าว จึงร่วมสนับสนุนสถานที่การจัดกิจกรรม Capture the Flag ครั้งนี้ขึ้น

สำหรับโครงการในปีนี้ ได้เพิ่มการทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐานก่อนเริ่มเรียน เพื่อทดสอบระดับความรู้ของบุคลากรในด้าน Cybersecurity และหากบุคลากรท่านใดที่ไม่ผ่านการทดสอบ จะมีการปูพื้นฐานให้ใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนอย่างสูงสุด ทั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ผ่านระบบ online ในรูปแบบเกมมิ่งผ่านแพลตฟอร์ม Gather Town ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้สะดวก ง่าย ไม่รู้สึกเบื่อ และยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนท่านอื่น และอาจารย์ได้เสมือนกับเรียน offline ทั้งยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้มีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียนที่กรุงเทพมหานคร นับเป็นการเปิดโอกาสสู่ภูมิภาคเป็นอย่างดี

ซึ่งกิจกรรมนี้ได้เริ่มจัดตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2565 ถึง 16 ตุลาคม 2565 โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมถึง 142 คนจากทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีกิจกรรมการแข่งขันทดสอบด้านการเจาะระบบ (Penetration Testing) Capture The flag โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ การแข่งขันของทีมโจมตี (Red Team) และทีมป้องกัน (Blue Team) ในการแข่งขันครั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลของทีมป้องกัน ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ คุณพัชระสิทธิ์ พรสกุลศักดิ์
รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณเอกณัฏฐ์ อเนกเจริญวณิช
รองชนะเลิศอันดับ 2 คุณนนท์รวิศ ชมชื่น

ผู้ที่ได้รับรางวัลของทีมโจมตี ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ คุณโสภณ ตั้งปทุม
รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณบวรทัต ทรัพย์ทวีวศิน
รองชนะเลิศอันดับ 2 คุณอรุณ ลิ้มวงศ์เจริญสุข

สำหรับท่านที่สนใจโครงการด้านการพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัล สามารถติดตามสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ หรือ ต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ติดตามได้ทางเพจของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

ขอขอบคุณสำนักข่าวมติชนออนไลน์ และสำนักข่าว MGR Online
https://www.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมกับ True Digital Park House of Digital Academy (HODA) จัดกิจกรรม Meet Up “ออกแบบ App แบบไหนไม่ให้ล่มตอนสิ้นเดือน” ณ Townhall M ชั้น 6, True Digital Park

จบลงไปแล้วกับกิจกรรม Meet Up “ออกแบบ App แบบไหนไม่ให้ล่มตอนสิ้นเดือน” จัดขึ้นวันที่ 27 กันยายน 2565 ณ Townhall M ชั้น 6, True Digital Park โดยความร่วมมือระหว่าง สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย x True Digital Park House of Digital Academy (HODA)

โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานถึง 80 คน ได้ร่วมพูดคุย เสวนาไปกับ Speaker ทั้ง 4 ท่าน พร้อมสร้างบรรยากาศสนุกสนานกับ MC ผ่านหัวข้อ “ออกแบบ App แบบไหนไม่ให้ล่มตอนสิ้นเดือน” หลาย ๆ คน มักประสบปัญหาเจอระบบที่ชอบล่มในตอนสิ้นเดือน จริง ๆ แล้วมีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ระบบล่ม และจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร และนอกจากนี้ Speaker ยังได้ร่วมแชร์ Case Study และร่วมตอบคำถามของผู้ฟัง

กิจกรรมภายในงานยังไม่หมดเท่านี้ หลังจบ Talk Session ต่อด้วยกิจกรรม Networking พบปะพูดคุย สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ และแชร์ความรู้ ประสบการณ์ไปกับผู้เข้าร่วมงาน

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบทุกท่านที่สนับสนุนสมาคมฯ มาด้วยดีตลอด รวมถึงผู้เข้าร่วมงาน และทีมงานทุกท่านทำให้กิจกรรม Meet Up ในครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

ร่วมติดตามกิจกรรม Meet Up และกิจกรรมอื่น ๆ ของทางสมาคมฯ ได้ทางเพจสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

#TPA #ThaiProgrammer
#HODA #TrueDigitalPark
#meetup

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย เข้าเยี่ยมชมออฟฟิศ LOCA บริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำในประเทศลาว

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมออฟฟิศ LOCA บริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำในประเทศลาว ที่ให้บริการเรียกรถขนส่งผู้โดยสาร ทั้งนี้ ได้ร่วมพูดคุยกันเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมเมอร์ พร้อมทั้งโอกาสของ Startup ในประเทศลาว รวมถึงความร่วมมือต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

#TPA
#Loca #ThaiProgrammer

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ร่วมจัดกิจกรรม”Flutter Meetup 2022″ โดยร่วมกับ PALO IT Thailand x True Digital Park x Thai Programmer และ Thai Flutter Developer ณ True Digital Park

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ร่วมจัดกิจกรรม"Flutter Meetup 2022" โดยร่วมกับ PALO IT Thailand x True Digital Park x Thai Programmer และ Thai Flutter Developer ณ True Digital Park

ในกิจกรรมครั้งนี้ได้ร่วมพูดคุย และร่วมฟัง Speaker ทั้ง 3 ท่าน ในหัวข้อ

▪️ Flutter Vs React vs Vue for web development in 2022 (Flutter For Web)
▪️ Flutter State of Desktop (1st talk + kiosk demo)
▪️ Advanced error handling without try catch block in UI layer (Flutter Mobile)
▪️ Panel Discussion: common mistake in Flutter

#TPA #ThaiProgrammer #PALOIT #TrueDigitalPark
#Flutter #Meetup

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ในฐานะพาร์ทเนอร์และผู้สนับสนุนกิจกรรม HackBKK ได้รับเชิญเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานของทีมผู้เข้าร่วมกิจกรรม HackBKK ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

วันที่ 25 สิงหาคม 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยในฐานะพาร์ทเนอร์และผู้สนับสนุนกิจกรรม HackBKK ได้รับเชิญเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานของทีมผู้เข้าร่วมกิจกรรม HackBKK ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร โดยกิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) และกรุงเทพมหานคร

ทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ขอรับไม้ต่อจากกิจกรรม HackBKK โดยจัดการแข่งขัน Hackathon ในโครงการ Hackathon: Bangkok Digitpolis เป็นการนำ idea มาต่อยอดเป็น Proof of concept ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของงาน National Coding Day งานรวมตัวคนสายเทค ภายใต้ธีม ‘Anyone Can Code’ จะถูกจัดขึ้นในต้นปีหน้า

ผู้ที่สนใจกิจกรรม Hackathon: Bangkok Digitpolis สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เพจสมาคม พร้อมเปิดรับสมัครทั่วประเทศในเร็ว ๆ นี้

คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญเข้าร่วมงานเปิดตัวและแสดงวิสัยทัศน์ของสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup)

วันที่ 9 สิงหาคม 2565 คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญเข้าร่วมงานเปิดตัวและแสดงวิสัยทัศน์ของสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ณ สถาบันนวัตรกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงานได้ร่วมฟังเสวนา และวิสัยทัศน์จาก ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม และคณะกรรมการการค้าสตาร์ทอัพไทย และได้พบปะสังสรรค์ Networking Party กับหน่วยงานชั้นนำ

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบคุณสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ที่เชิญสมาคมของเราเข้าร่วมเป็นเครือข่ายพันธมิตรสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup Alliance) สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันจากหน่วยงานชั้นนำของประเทศไทยในทุกภาคส่วน ในการเข้าร่วมครั้งนี้จะช่วยผลักดันกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพให้เติบโต และช่วยพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้ยั่งยืนต่อไป

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยเข้าร่วมหารือกับท่านภิมุก สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องงาน National Coding Day และเปิดโอกาสให้ยื่นเรื่อง โครงการไทยต้องรอด

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมหารือกับท่านภิมุก สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่องงาน National Coding Day และเปิดโอกาสให้ยื่นเรื่อง โครงการไทยต้องรอด

สำหรับการเข้าพบในครั้งนี้ คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้หารือเกี่ยวกับงาน National Coding Day ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในงานมีจัดการแข่งขัน Hackathon : Bangkok Digipolis ซึ่งได้ขอโจทย์การแข่งขันจากทางกรุงเทพมหานคร และเชิญท่านชัชชาติ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมกล่าวเปิดงานที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ คุณพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้มีโอกาสยื่นเรื่อง โครงการไทยต้องรอด ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้ร่วมมือกับ โปรแกรมเมอร์จิตอาสา และสภากาชาดไทย เป็นแอปพลิเคชันช่วยจัดการ Home Isolation ของผู้ป่วยโควิด และช่วยจัดระบบการจัดการของบริจาค เพื่อให้ผู้รับบริจาค และผู้ให้บริจาคได้รับ-บริจาคของได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น

โดยในโอกาสนี้ ท่านภิมุข สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวชื่นชมแอปพลิเคชัน โครงการไทยต้องรอด ว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ดี ตอบโจทย์ปัญหาการขาดแคลน และเข้าถึงของบริจาคได้อย่างดี

ทั้งนี้ ท่านภิมุข ยังได้ยื่นเสนอให้ทำแอปพลิเคชันมาจัดการ การบริจาคของสำหรับอัคคีภัยที่เกิดขึ้นบ่อยอยู่ในขณะนี้ ทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยยินดีเป็นอย่างยิ่ง พร้อมที่จะพัฒนาแอปพลิเคชันดังกล่าว รวมถึงโครงการไทยต้องรอด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้บริการให้มากขึ้น และมุ่งมั่นสร้างสรรค์แอปพลิเคชันใหม่ๆ ต่อไป

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ขอขอบพระคุณ ท่านภิมุข สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้สมาคมได้ร่วมหารือ และยื่นเรื่องในครั้งนี้ด้วย ทางสมาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการหารือในครั้งนี้จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหานอกพื้นที่กรุงเทพมหานครสืบต่อไป