ผลักดันให้ Programmer มีบทบาทใน Tech Startup และนำ Tech Startup มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย

Hello my first Blog!!
ปกติผมเป็นคนไม่ค่อยเขียนอะไรเยอะ แต่ผมอ่านข่าว อ่านหนังสือ และหาความรู้ทุกด้าน นอกจากด้าน Programming ดังนั้นผมเลยพบเจออะไรมามากมายผมเลยขอเขียน Blog แบบง่ายๆ โดยการแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Video หรือข่าว ที่เกี่ยวกับ "Programmer และ Tech Startup" ละกันครับ เพราะความฝันผมคือผลักดันให้ Programmer มีบทบาทใน Tech Startup และนำ Tech Startup มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย  ดังนั้น Blog ส่วนใหญ่ผมจะเน้นพวกนี้เป็นหลักละกันครับ

วันก่อนผมนั่งเรียบเรียงความคิดทั้งหมดของตัวเองเพื่อใช้ในการสมัครโครงการหนึ่ง ซึ่งเค้าให้คนที่อยากทำอะไรเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นยื่นใบสมัครกัน และผมก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ยื่นใบสมัครไป โดยต้องการแบบสอบถามมากมาย วันนี้ผมขอแชร์คำตอบของผมสักข้อนึงก่อนละกัน ถ้ามีคนสนใจผมจะได้แชร์ต่อ ถ้าไม่มีก็ถือว่าเขียนตัวหนังสือเยอะๆ เพิ่ม SEO ให้เว็บละกันเนอะ

คำถาม : ทำไมคุณจึงสมควรได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยในเวทีโลก (200 – 300 คำ) *

คำตอบ : 

เนื่องด้วยความเป็นตัวตนของผมดังต่อไปนี้
1. เมื่อเห็นปัญหาแล้วต้องการจะแก้ไข
การวิจัยล่าสุดเมื่อประมาณ 1 ปีที่แล้วได้บอกว่า "บุคลากรสาย IT เป็นที่ต้องการมากที่สุด รวมทั้งตกงานมากที่สุด" ถ้าใครได้ฟังคงแปลกใจว่าทำไมถึงมีเหตการณ์เช่นนี้ได้ แต่เมื่อผมลองวิเคราะห์ดูพบว่าปัญหานี้เป็นจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งจาก Programmer ที่ผมพบเจอเมื่อสำเร็จการศึกษามากลับไม่มีทักษะด้านเทคนิคที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง(เนื่องจากการสอนตามตำรา), ทัศนคติที่มุ่งหวังแต่จะทำงานน้อยสบายๆ เพื่อให้ได้เงินเดือนเยอะ, ขาด Softskill ด้านต่างๆ ที่แทบจะบอกกันว่า Programmer คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง และเห็นได้จากการที่บริษัทจำนวนมากโพสหางานตาม facebook group รวมทั้งเว็บ IT ชื่อดังอย่าง blognone.

เตรียมพบกับงาน โค้ดชิวๆ: มาคุยเฟื่องเรื่อง BACKEND กันชิวๆ 2 กย. 2558

ลักษณะงาน

งานโค้ดชิวๆครั้งนี้จะเป็นลักษณะ Lightning Talk คือ แต่ละหัวข้อจะมีเวลา 10 นาที (Setup 2 นาที พูด 8 นาที) โดยมี speaker ทั้งหมด 6 คน มาพูดเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Backend ที่น่าสนใจ และอยากหาเพื่อนร่วมพูดคุยในเรื่องนั้นๆกันต่อหลังงาน

กำหนดการ

เวลา
หัวข้อ

18:30 - 19:00
ลงทะเบียนเข้างาน

19:00 - 19:10
เปิดงานชิวๆ

19:10 - 19:20
Scalable Architecture Pitfalls

วโรกาส ภาณุสุวรรณ (นน), ผู้เขียนหนังสือ Agile Pitfalls

19:20 - 19:30
A Quick Look at Bigtable

ณัฐวุฒิ กุลนิรันดร (แก๊น), Software Engineer, Google

19:30 - 19:40
Concurrency with Clojure

ณัฐนาท พรประสิทธิ์สกุล (แท็ป), Developer, groundSWELL

19:40 - 19:50
Spinal - A Node.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายของโปรแกรมเมอร์ให้ได้รู้จัก ช่วยเหลือ และแบ่งปันความรู้กัน
เพื่อพัฒนาทักษะด้าน technical skill และ soft skill ให้แก่โปรแกรมเมอร์
เพื่อช่วยเหลือโปรแกรมเมอร์จากการถูกนายจ้างเอาเปรียบ และช่วยเหลือผู้ว่าจ้างจากการโดนโปรแกรมเมอร์ทิ้งงาน
เพื่อยกระดับภาพลักษณ์และสร้างความเข้าใจที่ดีต่อสายอาชีพโปรแกรมเมอร์
เพื่อเป็นพื้นที่ให้โปรแกรมเมอร์ได้แสดงศักยภาพ หรือสร้างความร่วมมือ
เพื่อสนับสนุน community ต่างๆในการจัดกิจกรรมเพื่อโปรแกรมเมอร์
Objectives

เพื่อสร้างเครือข่ายของโปรแกรมเมอร์ให้ได้รู้จัก ช่วยเหลือ และแบ่งปันความรู้กัน
เพื่อพัฒนาทักษะด้าน technical skill และ soft skill ให้แก่โปรแกรมเมอร์
เพื่อช่วยเหลือโปรแกรมเมอร์จากการถูกนายจ้างเอาเปรียบ และช่วยเหลือผู้ว่าจ้างจากการโดนโปรแกรมเมอร์ทิ้งงาน
เพื่อยกระดับภาพลักษณ์และสร้างความเข้าใจที่ดีต่อสายอาชีพโปรแกรมเมอร์
เพื่อเป็นพื้นที่ให้โปรแกรมเมอร์ได้แสดงศักยภาพ หรือสร้างความร่วมมือ
เพื่อสนับสนุน community ต่างๆในการจัดกิจกรรมเพื่อโปรแกรมเมอร์

ระบบคลาวด์ Google Compute Engine ในยุโรปล่ม เนื่องจากปัญหา "ฟ้าผ่า"

ประเด็นสำคัญของแวดวงคลาวด์คือการให้บริการได้ต่อเนื่อง (availability) ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถทำได้เพราะเหตุสุดวิสัยบางอย่าง ล่าสุด Google Compute Engine ในยุโรปต้องล่มไปเพราะเหตุ "ฟ้าผ่า"

เหตุเกิดที่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลในเมือง St. Ghislain ที่ประเทศเบลเยียม (ให้บริการโซน europe-west1-b) เกิดเหตุฟ้าผ่าที่โครงข่ายไฟฟ้าท้องถิ่น 4 ครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลใช้งานไม่ได้ชั่วขณะ ระบบสตอเรจของกูเกิลมีแบตเตอรี่สำรองในตัว สามารถทำงานต่อได้ตามปกติ แต่มีสตอเรจส่วนน้อยที่กลับมีปัญหาแบตเตอรี่ไม่ทำงานจนล่มไป ซึ่งวิศวกรของกูเกิลสามารถแก้ไขให้กลับมาทำงานได้ในภายหลัง

ปัญหาคือข้อมูลที่กำลังถูกเขียนบนดิสก์ในจังหวะที่ระบบไฟล่มกลับหายไปด้วย และไม่สามารถกู้คืนได้ ถือเป็นปัญหา data loss ที่รุนแรง แม้ว่าจะมีสัดส่วนแค่ 0.000001% ของพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งหมดก็ตาม

กูเกิลยอมรับว่าเป็นความรับผิดชอบของตัวเองที่ปล่อยให้เกิดปัญหานี้ และทยอยอัพเกรดระบบสตอเรจให้เป็นรุ่นที่ทนทานต่อปัญหาระบบไฟฟ้าล่มมากกว่าเดิม

Codecademy เพิ่มการใช้ API เข้าไปในหลักสูตรแล้ว

Codecademy เว็บสอนการเขียนโปรแกรมแบบโต้ตอบ (มี interpreter ให้เล่นผ่านเว็บ) ได้เพิ่มหลักสูตรการใช้ API แล้ว

หลักสูตร API นี้จะเน้นการใช้ API ในงานหลาย ๆ ด้าน เช่น ทำแอพ, เกม หรือเว็บ โดยมีเจ้าของ API ดัง ๆ เข้าร่วมหลายแห่ง เช่น YouTube, Bitly, NPR, SoundCloud, Parse ฯลฯ โดย Codecademy จะเพิ่มหลักสูตร API ใหม่ ๆ อีกในอนาคต

Codecademy เป็นเว็บสอนเขียนโปรแกรม โดยเริ่มสอนตั้งแต่ระดับไวยากรณ์ภาษา ทำให้เราเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ได้เร็ว และนอกจากเราจะเป็นผู้เรียนรู้แล้ว หากเราชำนาญภาษานั้นก็สามารถสร้างบทเรียนเพื่อสอนคนอื่นได้ด้วยครับ
เข้าไปเรียนได้ที่ Codecademy ฟรี

ที่มา: http://www.

เขียนดีมีรางวัล Chrome เริ่มใช้งานคอมไพล์เลอร์ TurboFan สำหรับโค้ดบางประเภท

ทีมงาน Chrome เปิดตัวคอมไพล์เลอร์ตัวใหม่ใน Chrome ที่ค่อยๆ ใช้งานมาตั้งแต่ Chrome 41 ชื่อว่า TurboFan เพิ่มความเร็วโค้ดขึ้นไปอีกภึง 29% ในการทดสอบ zlib

TurboFan ไม่ได้เป็นคอมไพล์เลอร์ที่สามารถคอมไพล์จาวาสคริปต์ได้ทั้งหมด แต่โค้ดที่จะคอมไพล์ได้ต้องใช้เฉพาะบางฟีเจอร์ของจาวาสคริปต์เท่านั้น เช่น asm.

พื้นฐาน JavaScript ตอนที่ 1

การพัฒนา และสร้างเว็บเพจ มีหัวใจหลักอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ HTML, CSS และ JavaScript โดย HTML เป็นส่วนโครงสร้างหลักของเว็บเพจ CSS ใช้เพื่อปรับแต่งหน้าตาของเว็บเพจให้สวยงาม ส่วน JavaScript ใช้เพิ่มแต่งเติมลูกเล่นในการแสดงผลบนเว็บเพจ เช่น คลิกเมาส์ การตรวจสอบการกรอกข้อมูลในฟอร์ม การเลื่อนหน้าจออัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด ฯลฯ
JavaScript เป็น Script Language
สิ่งแรกที่เราต้องทราบเกี่ยวกับ JavaScript คือ เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เขียนลงบนเว็บเพจ โดย Web Browser จะเป็นผู้อ่านโค๊ตและตีความหมาย แล้วจึงแสดงผลออกบนหน้าจอ จะเห็นได้ว่า JavaScript จะต้องอาศัย Web Browser จึงไม่สามารถเขียนโปรแกรมแยกเป็นอิสระได้ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้โดยตรง หรือไม่สามารถเข้าใช้งานฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น USB, CD-Rom เป็นต้น
JavaScript เป็น Client Side Script ซึ่งหมายความว่ามีการแปลโค๊ตในฝั่งของ Client ซึ่งหมายความว่า หากเราเขียนโค๊ต JavaScript เราก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแสดงผลลัพธ์ได้นั้นเอง แต่ก็มีข้อยกเว้น คือ Node.

PHP กับ OOP มาปูพื้นฐานกันเสียใหม่ก่อน

วันนี้จะมาคุยถึงเรื่อง Object-oriented programming (OOP) ในภาษา PHP กันซะพอหอมปากหอมคอ

ก่อนอื่นนั้น เท่าที่สังเกตุส่วนมาก Developers สมัยนี้แทบจะเรียกว่า เขียนโปรแกรมแบบ OOP “เป็น” กันหมดแล้ว เพราะว่าสมัยนี้ Framework หรือว่า Components ต่างๆ นั้นถูกผลิตมาแบบ OOP เป็นเสียส่วนใหญ่ จริงๆ ก็เรียกได้ว่า แทบจะ 100% เลยทีเดียว ทั้ง Yii, CI, Zend, etc.

ภาษา Go เวอร์ชัน 1.5 ออกแล้ว

หลังจากพ้นกำหนดการในการออกเวอร์ชันใหม่มากว่า 20 วัน ภาษา Go ก็ได้ฤกษ์ออกเวอร์ชัน 1.5 อย่างสมบูรณ์เสียที โดยในเวอร์ชันนี้ได้พัฒนาปรับปรุงขึ้นมาหลาย ๆ ส่วน อาทิเช่น

compiler และ runtime ที่เขียนด้วยภาษา Go ทั้งหมด (ข่าวเก่า)
Garbage Collector ทำงานแบบ Concurrent แล้ว
โปรแกรมภาษา Go จะถูกทำงานด้วยจำนวน core ของ CPU ทั้งหมดที่มี จากเดิมที่มีค่าเป็น 1 core ในเวอร์ชันก่อนหน้านี้
เพิ่มคำสั่งรองรับการทำ vendoring external dependencies ในระยะทดลอง

รายละเอียดอื่น ๆ สามารถติดตามได้จากที่มาของข่าว

ที่มา - Go 1.5 Release Notes

Code Mania X “ดูเบื้องหลังการทำงานของ Facebook ผ่านระบบ Configuration Management และชีวิตการทำงานเป็น Software Engineer ที่ Facebook”

งาน Code Mania X โดย เครือข่ายโปรแกรมเมอร์ไทย
ดูเบื้องหลังการทำงานของ Facebook ผ่านระบบ Configuration Management และชีวิตการทำงานเป็น Software Engineer ที่ Facebook
(more…)