สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้ร่วมประชุมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE) และสมาคมการค้าไทยสตาร์ทอัพ (Thai Startup) โดยการหารือในครั้งนี้เน้นไปถึงเรื่องปัญหาการว่าจ้างงานและการคุ้มครองสิทธิ์ผู้พัฒนาในการผลิตซอฟต์แวร์เป็นหลัก

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565
ทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้ร่วมประชุมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE) และสมาคมการค้าไทยสตาร์ทอัพ (Thai Startup)
โดยการหารือในครั้งนี้เน้นไปถึงเรื่องปัญหาการว่าจ้างงานและการคุ้มครองสิทธิ์ผู้พัฒนาในการผลิตซอฟต์แวร์เป็นหลัก

ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รวมถึง Startup ต่างๆ อาจประสบปัญหาไม่ได้รับค่าจ้าง หรือต้องปรับแก้ไขบ่อยครั้งหลังส่งมอบงาน
ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากถึงขั้นฟ้องร้องอาจใช้เวลาหลายปี และอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายข้อหาหมิ่นประมาทได้หากมีการปรึกษากับบุคคลที่สามที่มิใช่ทนายความ ซึ่งความไม่เป็นธรรมตั้งแต่เริ่มขึ้นตั้งแต่เซ็นสัญญาว่าจ้าง แต่ก็ต้องยอมเซ็นสัญญาเพราะบริษัทว่าจ้างเป็นผู้มีอำนาจต่อรองสูง

จากปัญหาที่เกิดขึ้น
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เล็งเห็นถึงความไม่เป็นธรรมต่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ จึงได้ร่วมหาทางออกของปัญหาเหล่านี้ ร่วมกับสมาคมสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE) และสมาคมการค้าไทยสตาร์ทอัพ (Thai Startup) เพื่อร่วมประชุม หาทางออกร่วมกันและเบื้องต้นในที่ประชุมมีการเสนอแนะให้ทำ Template Agreement เพื่อเป็นมาตรฐานในการจ้างงานเดียวกัน และใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก จะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถใช้อ้างอิงในการเป็นมาตรฐานหลักของอุตสาหกรรมนี้ได้ต่อไป โดยทั้ง 3 สามคมนี้จะร่วมมือเพื่อหาทางออกของปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และหยุดส่งต่อความไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และสตาร์ทอัพต่อไป

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้จัดงาน Speed Dating Day Offline ที่ Software Park เป็นครั้งที่ 11 หลังนักเรียน Codecamp เรียนจบ มีนักเรียน และมีบริษัทใหญ่ ๆ เข้าร่วม เพื่อรับนักเรียน Codecamp ไปทำงาน

วันที่ 11 กรกฎาคม สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้จัดงาน Speed Dating Day Offline ที่ Software Park เป็นครั้งที่ 11 หลังนักเรียน Codecamp เรียนจบ มีนักเรียนเข้าร่วมงาน 32 คน และมีบริษัทใหญ่ ๆ เช่น ธ.กรุงศรี, เงินติดล้อ, โรงพยาบาลพระรามเก้า, T.N. incorporate มาเข้าร่วมงานเพื่อรับนักเรียน Codecamp ไปทำงาน

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบคุณ Software Park ที่ support สมาคมมาตั้งแต่งานถูกจัดขึ้นครั้งแรก ทำให้โครงการดำเนินมาต่อเนื่องถึงครั้งที่ 11 เปลี่ยนคนจากสายอาชีพอื่นเป็นโปรแกรมเมอร์ เปลี่ยนชีวิตมาแล้วกว่า 300 ชีวิต แก้ปัญหาโปรแกรมเมอร์ขาดแคลนอย่างยั่งยืนแท้จริง

ในครั้งนี้มีนักเรียนหลายคนแสดงศักยภาพได้อย่างดีเยี่ยม และมีนักเรียนชั้นม.6 ถึง 4 คนมาเรียนใน camp ครั้งนี้ด้วย ในฐานะที่คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยร่วมก่อตั้งโครงการ Codecamp ร่วมกับ คุณกฤษฎา เฉลิมสุข นายกท่านก่อน รู้สึกยินดีที่โครงการเดินทางมาได้ไกลและยั่งยืนขนาดนี้ และทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยมุ่งมั่นจะพัฒนาบุคลากรในด้านอื่น ๆ ต่อไปเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการต่อสู้กับนานาชาติด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในเวทีโลกได้

ทีดี ตะวันแดง ตามหา Dev ร่วมทีมลุยภารกิจดันโชห่วยไทยให้รุ่ง มุ่งสู่ World-class Retail Platform ในงาน TD Tech Virtual Walk-in Interview พร้อมโชว์เบื้องหลังความสำเร็จ “ถูกดี มีมาตรฐาน” โต 10x ด้วย ‘TD Tech’ 

 

Digital Transformation กลายเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญที่ทุกหน่วยงานและองค์กรต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทันในยุค New Normal สิ่งที่ช่วยลดช่องว่างและเพิ่มสปีดในการพัฒนาองค์กรและคน นั้นคือ “เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ทำให้นักพัฒนา Developer (Dev) จึงมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ หรือ สร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ ให้กับองค์กรและลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมและธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจระดับชุมชน อย่าง “โชห่วย” ที่ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง ผ่านการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งบนสนามเศรษฐกิจระดับชุมชนและอยู่เป็นเสน่ห์คู่ชุมชนไทยต่อไปในอนาคต 

นายรุจ อัครพณิชสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด กล่าวว่า “ร้านโชห่วย นับเป็นเสน่ห์ที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าที่ไหนมี ‘ชุมชน’ ที่นั้นย่อมต้องมี ‘โชห่วย’ ทุกพื้นที่ แต่ยิ่งนานวันเข้าร้านโชห่วยเหล่านี้กลับถูกลดบทบาทลงด้วยสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เสน่ห์ที่เคยมีก็ถูกลดทอนน้อยลง คำถามคือทำไมถึงไม่มีใครเข้ามาช่วยยกระดับและสร้างการเรียนรู้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ให้กับโชห่วยให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาดได้ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ได้ลุกขึ้นมาปลุกปั้นโมเดลธุรกิจ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ ให้กับโชห่วยไทย จนปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 3 ปี พิสูจน์ผลสำเร็จของการดำเนินงานได้จากการเติบโตของบริษัทแบบ 10X จำนวนสาขาที่ขยายตัวทั่วประเทศไทยมีมากกว่า 3,500 สาขา ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยตั้งเป้าปลายปี 2565 ไว้ที่ 20,000 สาขา และร้านโชห่วยที่เข้าร่วมมียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 200% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก Features ใหม่ๆ เช่น Pre-Order เป็นการเพิ่มช่องทางขาย รวมถึงระบบ Membership  ที่ลูกค้าสามารถสะสมแต้มและนำแต้มเป็นส่วนลดและสินค้าที่ร่วมรายการที่สาขาใดก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ทำให้โชห่วยสามารถปรับตัวให้เทียบเท่ากับการแข่งขันในระดับชุมชนได้ นั่นคือ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดของ  ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ และ การอัพสกิลเจ้าของร้านโชห่วยเข้าสู่โลกดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยีของบริษัทฯ โดยทีม ‘TD Tech’ หน่วยงานที่รวมตัวเหล่าคน Dev ไทย เพื่อออกแบบแพลตฟอร์มให้กับคนไทยได้ใช้งานได้ง่ายๆ เข้าใจและตอบสนองโจทย์ความต้องการโดยเฉพาะ ด้วยการใช้องค์ความรู้และมาตรฐานระดับสากล” 

เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ และความสำคัญของ ‘TD Tech’

ทำไมทั่วโลก ถึงมองว่า Dev คือ Solution ของยุค  New Normal นั้นเพราะ “เทคโนโลยี” กลายมาเป็นกุญแจหลักในการปรับตัวในด้านธุรกิจ ทั้งการตลาด การซื้อขาย หรือแม้แต่ระบบฐานข้อมูล โปรแกรมต่างๆ และเครื่องมือต่างๆ จะถูกย่อส่วนมาไว้ในมือถือ หรืออุปกรณ์ดิจิตอลเท่านั้น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกองค์กรต้องการ Dev เข้ามาสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดและแก้ปัญหาให้กับธุรกิจ เช่นเดียวกับ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ ที่ให้ความสำคัญกับ Dev เป็นอันดับหนึ่ง และถือเป็นผู้บุกเบิกในการนำเอาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดการธุรกิจร้านโชห่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเรามีทีม TD Tech ณ ปัจจุบันรวมกว่า 200 ชีวิต เสมือนคอมมิวนิตี้รวมพลคน Dev ในการร่วมกันพัฒนาระบบเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาดูแลตั้งแต่ต้นน้ำกับการออกแบบและเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนา Feature ต่างๆ รองรับโจทย์ความต้องการของโชห่วยโดยมีทีม Tech หลังบ้าน สำหรับการเขียนโปรแกรม เชื่อมต่อและอัปเดตระบบ Supply Management ไปจนทีม Tech หน้าบ้าน กับเครื่อง POS และมือถือต่างๆ ณ ร้านโชห่วยที่ให้ความสำคัญกับ UX/UI ที่ง่ายต่อการใช้งาน หรือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ของโชห่วยอย่าง Font ตัวอักษรที่สามารถปรับขนาดเล็กใหญ่ได้ เป็นต้น รวมทั้งเรื่องระบบ Data เพื่อให้โชห่วยสามารถพัฒนาและแข่งขันในชุมชนได้อย่างเป็นธรรม จนทำให้ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ ก้าวสู่การเป็นผู้นำและได้รับความเชื่อมั่นทางด้านเทคโนโลยีจากเครือข่ายร้านโชห่วยทั่วประเทศ

Learn – Unlearn – Relearn ไม่หยุดนิ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพ Dev 

3 องค์ประกอบหลัก เพื่อเพิ่มศักยภาพทีม Dev ของ TD Tech สู่การสร้างสรรค์โซลูชั่นให้โชห่วยและคนไทยได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ และยกระดับแพลตฟอร์มสู่การเป็น World-class Retail Platform ได้แก่

ด้านเทคโนโลยี จึงนำเทคโนโลยีล่าสุดมาให้ Dev ได้สร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ อาทิ ระบบ Non-Blocking ที่ใช้ Spring Boot ในลักษณะ Reactor ทั้งหมด, การใช้ Database แบบ NoSQL มารองรับการทำงานของระบบ นอกจากนี้ ยังเพิ่มระบบ Data Science อย่าง MongoDB, Elastic Search, Kafka, Big Query, Airflow เป็นต้น ซึ่งเรารันระบบในลักษณะ Container Based และอยู่บน Cloud Native ทำให้สามารถ Scale ระบบได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่า เราใช้ Framework ระดับโลก เพื่อนำมาช่วยให้โชห่วยไทยไปต่อได้แบบไม่สะดุด โดยเอาเทคโนโลยีมาให้ใช้งานง่ายและเดินหน้าธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น 
ด้านแนวคิดการทำงาน เราใช้ Agile Methodology ที่เรียกว่า Scrumban ที่ดึงข้อดีในการใช้ Scrum และ Kanban เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ลื่นไหลและมีความยืดหยุ่น และยังเพิ่มการพัฒนาประสิทธิภาพของ Flow การทำงาน ตั้งแต่การรับงานและส่งมอบงานอย่างต่อเนื่อง ทั้ง Continuous Improvement, Work in Progress (WIP) และ Continuous Delivery เป็นต้น อีกสิ่งที่สำคัญ Dev ในแบบฉบับของ TD Tech จะมีความเชื่อว่า ‘คนสร้าง = คนซ่อม’ ซึ่งตรงนี้จะมีข้อดีที่แตกต่างจากการทำงานใน Enterprise ใหญ่ๆ  คือ มี Ownership กับระบบเต็มที่และได้รู้ว่า สิ่งที่คิดและทำ ผลออกมาเป็นอย่างไร ผ่านการรับ Feedback และ คอมเมนต์จากผู้ใช้งานจริง โดย Dev ที่พัฒนาระบบ จะสามารถเข้าแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ 
ด้านวัฒนธรรมองค์กร TD Tech ให้อิสระกับ Dev ในการทำงานสูง ทุกคนสามารถให้ Feedback ในเรื่องต่างๆ ได้เต็มที่ เกิดเป็น Self-Management และ Self-Improvement ด้วยตัวเอง ทำให้ Dev สามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก นอกจากนี้ การเกิดโอกาสให้แต่ละทีมสามารถ Feedback ฟีเจอร์ต่างๆ ของกันละกันได้ สิ่งนี้ทำให้ทีมเกิดการพัฒนาฟีเจอร์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้เช่นกัน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการ Work-Life-Balance และอิสระในการทำงานแบบ Hybrid ที่ไม่ยึดติดกับการต้องเข้าออฟฟิศทุกวันแบบเดิมๆ รวมไปถึงเปิด Regional Office เพิ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ เสริมทัพสำหรับ Dev ที่อยากทำงานที่เชียงใหม่ไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

เมื่อธุรกิจขยาย ‘TD Tech’ ต้องขยาย เพราะ Dev คือหัวใจสำคัญ 

เป้าหมาย 20,000 สาขาในปี พ.ศ. 2565 และรุกคืบสู่โมเดลระดับ Southeast Asia นับเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ดังนั้น TD Tech ต้องขยายศักยภาพและเพิ่มพลานุภาพของแพลตฟอร์ม มุ่งเป้าหมายสู่การเป็น World-class Retail Platform แต่ความท้าทายสำคัญ คือ การสร้าง Tech Architecture โครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องสามารถรองรับจำนวนโชห่วยหลักหมื่นสาขา ผู้บริโภคนับล้านคน รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์ที่ต้องรองรับ Transaction จำนวนมหาศาล ดังนั้นการเลือกใช้ Tech Stack จึงต้องเลือกพัฒนาด้วย Top-technology Edge ที่ตอบรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเสริมทัพเพิ่มทรัพยากร Dev ไทยในทีม TD Tech จำนวนมากขึ้น ทั้ง Data, Platform Support, Engineering, Infrastructure and Cloud, IT Support, Solution Architect, DevOps, Product owner, Back-end, Front-end, QA, Data Science, UX/UI, Android Dev เป็นต้น 

สำหรับใครที่สนใจสามารถสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่  https://www.

คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain – NFT The Power of Hype)

วันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย พร้อมด้วยคุณสถาพน พัฒนะคูหา ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain - NFT The Power of Hype)

โดยการอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับนานามหาวิทยาลัยที่มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) มาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) ของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

แต่เดิมทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้มีการทำความร่วมมือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อย่างไม่เป็นทางการในรูปแบบของมาตรการเชิงรับ กล่าวคือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามายังสมาคม จึงมีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยต้องการ เช่น การวิพากษ์หลักสูตร, การจัดส่งวิทยากรเพื่อการอบรมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, การจัดส่งวิทยากรเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของนิสิตและนักศึกษา, การเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว, การฝึกงานของนักศึกษา เป็นต้น

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา รวมถึงการให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นิสิต นักศึกษาและมหาวิทยาลัย จากกิจกรรมที่ผ่านมา จึงต้องการเพื่อปรับมาตรการเป็นเชิงรุก เพื่อร่วมมือกับกลุ่มมหาวิทยาลัยและเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการประกาศจัดตั้ง "มาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) หรือ โครงการ TPA Education" ประจำปี 2564 ด้วยเหตุผลในการสร้างเครือข่ายและสัมพันธ์อันดีของสมาคมร่วมกับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนา ยกระดับองค์ความรู้ทางการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับนิสิตและนักศึกษา โดยผ่านกิจกรรมความร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของกิจกรรมที่ผ่านมาของสมาคม อาทิช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT), จัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่หรือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน, จัดส่งวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือประสานกับกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อสนับสนุนทั้งในด้านการเป็นวิทยากรให้กิจกรรมทางการศึกษา หรือการแนะแนวให้กับนิสิตนักศึกษา, ประสานงานเป็นสื่อกลางในการจัดหาสถานที่ฝึกงาน หรือรับสมัครงานกับบริษัทในเครือพันธมิตรของสมาคมให้แก่นิสิตนักศึกษา และความร่วมมือในการจัดกิจกรรมบูรณาการทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT), การดำเนินโครงการต่างๆ รวมถึงพัฒนาทักษะ ที่ทางสาขา คณะ มหาวิทยาลัยต้องการหารือเพิ่มเติมตามสมควร เพื่อเป็นรากฐานทางการศึกษาที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป

ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยชั้นนำมากมายที่เข้าร่วมเซ็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน อาทิ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยสยาม, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เป็นต้น

คุณพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (AIS) และ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา คุณพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (AIS) และ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

การเปิดงานโดย คุณซันเจย์ แอนดรูว์ โทมัส หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เอไอเอส และ คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกล่าวถึงความร่วมมือของโครงการนี้ว่าจะเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับ Startup ที่จะช่วยให้พาก้าวออกสู่ตลาดโลกได้อย่างถูกต้องและมั่นคงมากยิ่งขึ้น

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบริษัท Startup พัฒนาแพลตฟอร์มและส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ ทั้งระบบ Intelligent Cloud ที่สามารถรองรับการทำงาน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ในเวลาช่วงที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากได้อย่างไม่มีขีดจำกัด และการจ่ายเท่าที่ใช้ (Pay per Use) รวมถึง Intelligent Edge ที่จะทำให้เซนเซอร์ทุกจุดสามารถเชื่อมต่อกันด้วยบนเครือข่าย 5G ซึ่งสนับสนุนทั้ง Cloud Computing, IoT, AI, Blockchain และ AR/VR โดย Startup ไม่จำเป็นต้องมีทีมที่คอยดู Data Center ของตัวเอง

นอกจากความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มแล้ว ยังสนับสนุนในด้านการหาลูกค้าและโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เมื่อ Startup ได้เข้ามาร่วม Microsoft และ AIS Community โดย คุณสมศักดิ์ มุกดาวรรณกร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานกลุ่มธุรกิจพันธมิตร ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ยกตัวอย่าง Startup ที่ร่วมโครงการอย่าง อาทิ Buzzebees ที่ทำระบบ Point Redemption ให้กับธนาคารมากมาย และ Hackvax ที่ช่วยจัดการกระบวนการฉัดวัคซีน เป็นต้น โดยหลักเกณฑ์ที่จะเข้าร่วมโครงการนั้นจะต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งมาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ปี มีรายได้ไม่เกิน 15 ล้านเหรียญ โดยจะได้รับการสนับสนุนเป็น Microsoft Azure 120,000 เหรียญ เป็นเวลา 2 ปี, Microsoft 365, ระบบ CRM, บริการด้านการออกแบบด้าน Infrastructure และให้บริการด้านเทคนิคตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง

ดร.ศรีหทัย พรหมมณี ผู้จัดการด้านเอไอเอส สตาร์ทอัพ กล่าวว่า การจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันจำเป็นที่ต้องขับเคลื่อน Digital Economy โดยจะต้องก้าวทันโลกที่วิ่งไปข้างหน้าตลอดเวลา โดยเสนอสิ่งที่ต้องทำเป็นหลัก 3R ดังนี้ Restructure การเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ Replan ปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และ Reskill พัฒนาทักษะและความรู้ใหม่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งความร่วมมือนี้จะช่วยส่งเสริม Startup ทั้งระบบ Infrastructure ที่มีความน่าเชื่อถือสูงหรือแม้กระทั่งการนำใบเสร็จเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ซึ่งแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมี Startup ไทย ที่เป็นตัวอย่างจากโครงการ AIS the Startup อย่างเช่น AppMan ผู้ให้บริการ Intelligent Working Process และระบบ Intelligent Document Processing ระบบการประมวลผลและจัดการเอกสารดิจิทัล และ Zip Event ผู้ให้บริการ Virtual Content ที่เข้ามาจัดงานในรูปแบบออนไลน์เต็มรูปแบบและมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานอย่างมาก ซึ่งทั้งสอง Startup นี้จำเป็นที่ต้องทำงานบนเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงและรองรับปริมาณผู้ใช้งานมหาศาลตลอดเวลาและเครือข่ายของ Microsoft และ AIS คือ Solution ที่ช่วยสนับสนุนแต่ละโครงการประสบความสำเร็จมาโดยตลอด

หาก Startup ใดสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครได้ที่ https://thestartup.

Huawei เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน AppsUP 2021 APAC ชิงเงินรางวัลกว่า $200,000

โอกาสดีๆ ของนักพัฒนา Mobile App

กับการแข่งขัน ?????? ???? ???? ชิงเงินรางวัลกว่า 200,000 เหรียญสหรัฐ

ในปีนี้ คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้วย

นอกจากเงินรางวัลและประการณ์การworkshop กับโค้ชมากฝีมือ พบปะผู้เข้าแข่งขันจากนานาประเทศ สั่งสมประสบการณ์ที่หาได้ยากแล้ว ยังเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์แอพในสื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นับเป็นการโอกาสที่พลาดไม่ได้เลยสำหรับนักพัฒนา

สนใจสมัครเข้าร่วมแข่งขัน หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://bit.

Microsoft ร่วมกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ AiPEN Studio ยกระดับทักษะด้านดิจิทัลให้คนไทย เปิดให้เรียนออนไลน์ฟรี! บนแพลตฟอร์ม Digital Skill

ด้วยความร่วมมือจาก Microsoft กับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ Aipen Studio สนับสนุนส่งเสริม ยกระดับทักษะดิจิทัลเพื่อคนไทย เพิ่มโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้ ด้วยการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี ร่วม 30 คอร์สเรียน พร้อมเนื้อหาที่มีคุณภาพและหลากหลาย อาทิเช่น ทักษะด้านสายข้อมูล, Data Science, Power BI หรือ ด้าน AI เป็นต้น ช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถพัฒนาทักษะเฉพาะทางผ่านการเรียนออนไลน์ได้ พร้อมทั้งมีการรับรองด้วยมาตรฐานต่าง ๆ (Certificate) เมื่อเรียนคอร์สเรียนนั้น ๆ เสร็จสิ้น ผ่านแพลตฟอร์ม Digital Skill

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2562 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ร่วมด้วยสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย แถลงข่าวเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม Digital Skill เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนากำลังคนและบุคลากรดิจิทัล และกระตุ้นความสนใจทักษะดิจิทัลเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุคใหม่ และเพื่อให้บริการความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะด้านที่มีความต้องการสูงแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยมีการดำเนินงานและให้บริการแบบ Online ตั้งแต่ทักษะเบื้องต้น (Fundamental) จนถึงระดับมืออาชีพ (Professional Certification) และจะพัฒนาให้ Digital Skill เป็นคอมมูนิตี้สำหรับแรงงานด้านดิจิทัล (Digital Workforce) ที่สามารถพัฒนาทักษะดิจิทัล ส่วนความร่วมมือที่ชัดเจนคือ จะร่วมกับ Microsoft เพื่อนำเนื้อหาต่าง ๆ ที่ Microsoft สอนไว้มาแปลเป็นภาษาไทย เพื่อลดกำแพงทางภาษาสำหรับคนไทย รวมถึงจะมีการออกประกาศนียบัตร (Certificate) แล้ว และจะมีความร่วมมือกับพันธมิตรในการพัฒนาหลักสูตรอื่นต่อไป

“ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ดิจิทัลสกิล เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในยุคนี้ และเป็นปัญหาที่ทุกองค์กรต้องเผชิญการขาดแคลน ในไทยมีคนไอที 340,000 คน การรอเรียนจบคงไม่ทัน ดังนั้น วิชั่นของไมโครซอฟท์ในปี 2020 คือ ทำอย่างไรให้คนที่เหลือมีดิจิทัลสกิล”

ด้วยความร่วมมือระหว่าง Microsoft กับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมด้วยบริษัท Aipen Studio ได้สนับสนุนเนื้อหาต่าง ๆ ที่ Microsoft สอนไว้มาแปลเป็นภาษาไทย สามารถเรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Digital Skill เพื่อลดกำแพงทางภาษาสำหรับผู้ใช้ สนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยการเปิดคอร์สเรียนออนไลน์พร้อมเนื้อหาที่มีคุณภาพและหลากหลายที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจสามารถพัฒนาทักษะเฉพาะทางผ่านการเรียนออนไลน์ได้ อาทิเช่น ทักษะด้านสายข้อมูล, Data Science, Power BI หรือ ด้าน AI เป็นต้น พร้อมทั้งมีการรับรองด้วยมาตรฐานต่าง ๆ (Certificate) เมื่อเรียนคอร์สเรียนนั้น ๆ เสร็จสิ้น

คอร์สเรียนออนไลน์พัฒนาทักษะดิจิทัลของ Microsoft บนแพลตฟอร์ม Digital Skill ปัจจุบันมีมากมายร่วม 30 คอร์สเรียน อาทิเช่น คอร์สเรียนออนไลน์เกี่ยวกับ Data ขั้นพื้นฐาน สำหรับทุกคน หรือคอร์สเรียนเกี่ยวกับ Data ขั้นพื้นฐาน เรียนจบสามารถสอบรับ Certificate DP-900 สำหรับสาย Data ขั้นพื้นฐาน และ DP-100 สำหรับสาย Data Science จาก Microsoft ได้ รายละเอียดดังนี้

สาย Data ขั้นพื้นฐาน

Microsoft Azure Data Fundamentals จำนวน 4 คอร์ส

Explore core data concepts : https://go.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยร่วมเป็นหนึ่งในการผลักดันศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์ของคนไทย

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 นายอิศเรศ ประจิตมุทิตา รักษาการนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย เป็นตัวแทนสมาคมเข้าร่วม "พิธีแสดงเจตจำนงเข้าร่วมกฎบัตรภาคีปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Thai AI Consortium)" "พิธีเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรความสามารถพิเศษด้านปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer)" และ "พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการองค์ความรู้ดิจิทัลการรับรองและพัฒนาทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ (AI Academy Alliance)" ณ โรงละคอนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในงาน พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย นำโดย ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคม ตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา กว่า 70 องค์กร

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ลงนามคณะผู้ก่อตั้ง AI Academy Alliance ร่วมกับ 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย, สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต, เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดย สถาบันวิชาการทีโอที ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อจัดการองค์ความรู้ดิจิทัล การรับรองและพัฒนาทักษะ ด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ

ในงานครั้งนี้ มีหน่วยงานเข้าร่วมทั้งสิ้นถึง 73 หน่วยงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานและองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยพร้อมจะขับเคลื่อนไปสู่สังคมปัญญาประดิษฐ์ โดยจุดประสงค์ของการร่วมมือจากหลายฝ่ายในงานครั้งนี้คือ การพัฒนาบุคลากรของชาติ สร้างทรัพยากรการเรียนรู้ และดำเนินกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก ‘ชุมชนปัญญาประดิษฐ์’ สู่ ‘ระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์’ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิต การเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุน และการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทัดเทียมสากล

โครงการ Young TPA Camp รุ่น 1

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ The Self Made จัดตั้งขึ้นเพื่อเหตุผลในการ ยกระดับและพัฒนาโปรแกรมเมอร์ไทย โดยการให้ความรู้ ส่งเสริมพัฒนาทักษะ สร้างโอกาสใหม่ๆ พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยยกระดับให้แก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างดียิ่ง อีกทั้งมีเป้าหมายที่จะใช้การศึกษาเพื่อช่วยเหลือสังคม เปลี่ยนแปลงประเทศไทยด้วยการศึกษา

       จึงได้มีแนวคิดจัดแคมป์สร้างเว็บไซต์ระดับอุดมศึกษา ที่มีอายุตั้งแต่ 15 - 23 ปี และผ่านการคัดเลือกมาฝึกทักษะของตนเอง พร้อมกับสร้างเว็บไซต์ที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมปัจจุบัน โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายในแคมป์ ที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์ เตรียมพร้อมสำหรับชีวิตในการทำงานจริงและได้นำเสนอผลงานจริง ต่อผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ภายใต้ชื่อโครงการ “Young TPA Camp”

       สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำการแบ่งทักษะเชิงลึกออกเป็น 4 สาขา ตามความถนัดและความสนใจของผู้เข้าร่วม ดังนี้

1) ทักษะด้าน Front End Developer

2) ทักษะด้าน Back End Developer

3) ทักษะด้าน User Interface / User Experience (UX / UI)

4) ทักษะที่จำเป็นสำหรับ Product Owner : / Business Analytics / Project Management / Marketing

วัตถุประสงค์

1) เพื่อพัฒนาและยกระดับ ความสามารถผู้เข้าร่วมกิจกรรมในระดับอุดมศึกษาสู่ Coder มืออาชีพ
2) เพื่อสร้างเครือค่ายแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น
3) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนระดับอุดมศึกษา ได้เรียนรู้ทักษะ พร้อมทั้งแนวความคิด
จากผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จ และทิศทางของอนาคต

วันที่ 25 กันยายน 2563 - 28 กันยายน 2563

เริ่มรับสมัคร 10 สิงหาคม 2563 - 6 กันยายน 2563

-ประกาศผลรอบ 1       7 กันยายน 2563 คัดจากใบสมัคร

-ประกาศผลรอบที่ 2    11 กันยายน 2563 พร้อมนัดสัมภาษณ์ Online

-ประกาศผลรอบที่ 3    18 กันยายน 2563  

กลุ่มเป้าหมายและผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัย อายุตั้งแต่ 15 – 23 ปี ผ่านการ
คัดเลือกจำนวน 80 คน โดยจะแบ่ง เป็น 10 ทีม ทีมละ 8 คน

สนใจสมัครได้ที่  https://forms.

Soft ware Park สู่โครงการ EECI รองรับโปรแกรมเมอร์ยุคใหม่

ดร.ภัทราวดี พลอยกิติกูล ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์ปาร์ค ประเทศไทย ได้ให้เกียรติกับ TPA Channel By สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย  ถึง ซอฟต์แวร์ ในอนาคตที่กำลังขับเคลื่อนไป ในงาน Code Camp #5  Demo Day ที่จัดขึ้น ที่อาคาร ซอฟต์แวร์ปาร์ค ว่าทาง ซอฟต์แวร์ปาร์ค มีปรับการดำเนินการ ซอฟต์แวร์ พื้นฐานสู่การพัฒนาที่มากขึ้น โดยใช้ระบบ Automation และ โรโบติกส์ เพื่อตอบสนองแนวทางนโยบายของ สวทช. นำไปสู่โครงการ EECI ซึ่งจะเน้นการพัฒนานวัตกรรมในเขต EEC ที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนยีเกี่ยว Automation  โรโบติกส์ และ Intelligent โดยทาง ซอฟต์แวร์ปาร์ค จะมีการเพิ่มหลักสูตร เพื่อการพัฒนาบุคลากรในด้าน Automation และ โรโบติกส์ ให้มากขึ้นด้วย ดร.ภัทราวดี ได้กล่าวว่าตลาดโปรแกรมเมอร์ไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ยังขาดแคลนบุคลากรอีกประมาณ 35,000 อัตรา ข้อมูลจากสอวช. ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียด ได้ที่เว็ปไซด์ ของ สอวช.