ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) คืออะไร ???

ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)  คือ

เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้  การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ  เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง

เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง  ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด  โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ (more…)

[Startup CTO ตอนที่ 3] VC คืออะไร? เกี่ยวอะไรกับ Programmer? และเรื่องราวของบริษัท Invent

เนื่องจากทางผมได้มีโอกาสได้รู้จักกับพี่มดจากทาง Invent เลยติดต่อเพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Programmer ในแง่มุมของ Invent,การทำงานของ Invent รวมทั้งบริษัทในเครือ Invent ที่ทาง Invent เคยได้ลงทุนไป รวมถึงเรื่องๆราวอื่นๆ ที่น่าสนใจของบริษัท Invent เลยได้เป็นรายละเอียดดังบทความด้านล่างครับ แต่ก่อนที่จะเริ่มส่วนของบทสัมภาษณ์ ผมอยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทแนวๆ VC แบบ Invent และ focus จุดที่ Programmer ควรรู้ในมุมมองผมนะครับ
บริษัท VC คืออะไร?
บริษัท VC คือนักลงทุนในรูปแบบองค์กร ซึ่งมีหน้าที่หลักในการบริหารเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนในโครงการหรือบริษัทที่น่าสนใจ โดย VC จะทำการลงทุนโดยการให้เงินเพื่อแลกกับหุ้น โดยจะมีวัตถุประสงค์คือการช่วยเหลือให้บริษัทที่ลงทุนมีมูลค่ามากขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าหุ้นของ VC ในบริษัทนั้นๆ มีมูลค่ามากขึ้นด้วย โดยมูลค่าของหุ้นสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการประเมินมูลค่าเมื่อมีบริษัทอื่นๆ มาซื้อต่อ เช่น กรณีของ WhatsApp หรีือกรณีที่บริษัทเติบโตและมีกำไรจนสามารถเข้าตลาดหุ้นได้ เช่น กรณีของ Alibaba
ข้อดีของการร่วมงานกับ VC?
1. ชื่อก็บอกอยู่ครับว่า VC เป็นบริษัทที่ไปลงทุนกับผู้อื่น ดังนั้นเรื่องเงินทุนหรือสวัสดิการสำหรับพนักงานรับรองไม่น้อยหน้ากว่าใครครับ
2. โอกาสที่ดีในการลองทำงานแบบอื่นๆนอกเหนือจาก Programming เพื่อหาประสบการณ์ใหม่ๆ หรือกระทั่งบางคนที่อาจจะค้นพบตัวเองในภายหลังว่าไม่เหมาะกับงาน Programming ก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในชีวิตที่ดีอีกจุดหนึ่ง
3. ได้ความรู้ครบทั้ง Process ธุรกิจ
4. ไม่ซ้ำซากจำเจ
5. สามารถนำความรู้ทางด้าน Technical ทีมีเพื่อไปช่วยเหลือเวลาทำการวิเคราะห์ว่าบริษัทที่ VC จะลงทุนสามารถทำ Product นั้นๆ ได้จริงๆหรือไม่
ข้อดีของการร่วมงานกับบริษัทที่ VC ลงทุน
1. มีความมั่นคงทางการเงินเนื่องจากได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก VC มาแล้ว ทำให้มีความเสี่ยงน้อยกว่าบริษัท Startup เกิดใหม่ที่ยังไม่มีใครมาลงทุนเลย
2. ถ้าบริษัทนั้นๆ ยังมีจำนวนพนักงานไม่มากนักและเราเข้าไปเป็นรุ่นแรกๆ ก็จะมีโอกาสเติบโตพร้อมๆกับบริษัท โดยอาจจะได้หุ้นของบริษัทมาด้วย
3. ได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง เพราะเมื่อบริษัทเติบโตขึ้นเรื่อยๆ พวกระบบหรือ Product ต่างๆ ที่รองรับธุรกิจของบริษัทจะต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะพบเจอกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามามากมาย ทำให้มีโอกาสท้าทายความรู้ความสามารถของเราเป็นอย่างมาก
4. เป็นคนสำคัญในบริษัท และสามารถขึ้นตำแหน่งได้เรื่อยๆ และก้าวหน้าพร้อมกับบริษัท
เรื่องราวเกี่ยวกับบริษัท Invent
หลังจากเกริ่นไปเล็กๆ น้อยๆ แล้วเราก็มาทำความรู้จักบริษัท Invent มากขึ้นกันเลยครับ ต่อจากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์ล้วนๆ นะครับ

แรกสุดเรามาทำความรู้จักกับพี่มดกันก่อนเลยดีกว่าครับ

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง หัวหน้าทีมอินเว้นท์ โครงการธุรกิจร่วมทุนของกลุ่มอินทัชมีประสบการณ์กว่า 20 ปีในวงการโทรคมนาคมและเทคโนโลยี และเป็นผู้ทำดีลซีรี่ส์เอในบริษัทอุ๊คบี หนึ่งในดีลสตาร์ทอันดับแรกๆของประเทศไทย คุณธนพงษ์เคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติและเป็นหนึ่งในทีมงานก่อตั้งบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทมหาชนที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 2,500 ล้านบาท
คุณธนพงษ์จบการศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์และประกาศนียบัตรผู้บริหารด้าน Venture Capital จาก University of California, Berkeley

InVent คือใคร? ทำอะไร?
อินเว้นท์ (InVent) เป็นโครงการธุรกิจร่วมทุนในรูปแบบ Corporate Venture Capital ของบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดยจะทำการลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในระยะเติบโต (Expansion stage)
โครงการอินเว้นท์ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 มีงบประมาณลงทุนประมาณ200 ล้านบาทต่อปี และลงทุนไปแล้วทั้งหมด 7 บริษัท
แต่ละบริษัทที่ได้ลงทุนไปมีโปรดัคอะไรบ้าง?
1. Ookbee ทำแพลตฟอร์ม Digital Publication ตั้งแต่ e-book ไปจนถึง e-magazine ต่างๆทำให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนสามารถอ่านหนังสือต่างๆแบบ on-the-go และยังสามารถเข้าถึงหนังสือจำนวนมากในรูปแบบการเหมาจ่ายได้
2. Meditech ทำเทคโนโลยีช่วยเหลือ (Assistive Technology) การสื่อสารให้กับผู้ป่วยเป็นอัมพาต โดยซอฟต์แวร์ซึ่งทำงานร่วมกับกล้อง HD จะทำการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาผู้ใช้เสมือนเป็นเมาส์ในการควบคุม Cursor บนจอเพื่อเลือกสื่อสารข้อความต่างๆบนรายการไปยังญาติผู้ดูแลหรือแพทย์และพยาบาล เช่น ผู้ป่วยรู้สึกหิว ง่วง หรือปวดท้อง เป็นต้น
3. Computerlogy ทำ Tool ด้าน Social Listening สำหรับองค์กรต่างๆในการติดตามแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของตนเองในแบบ real-time ว่าคนบนอินเตอร์เน็ตมีความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อสิ่งๆหนึ่งอย่างไรบ้างและผ่านทางช่องทางใดบ้าง
4. Infinity Levels Studio ทำเกมบนสมาร์ทโฟนในรูปแบบ Casual และ Free-to-Play สำหรับคนทุกเพศทุกวัย คล้ายกับบริษัท Super Cell
5. Sinoze ทำเกมดนตรีบนสมาร์ทโฟนสำหรับกลุ่มคนที่ชอบเสียงเพลง
6. Playbasis ทำแพลตฟอร์มและ API สำหรับพัฒนาระบบ Gamification เพื่อให้บริการกับองค์กรต่างๆในการสร้าง engagement กับทั้งบุคลากรภายในและลูกค้าภายนอกองค์กร
7. Golfdigg ทำแอพพลิเคชั่นสำหรับการซื้อดีลการจองสนามกอล์ฟในราคาพิเศษ รวมถึงบริการต่างๆใน Ecosystem การออกรอบตีกอล์ฟอีกด้วย
การทำงานของทีมอินเว้นท์ได้ใช้ Tools อะไรบ้าง?
เนื่องด้วยงานหลักของทางอินเว้นท์คือการวิเคราะห์โอกาสการร่วมทุน จึงไม่มี Tool อะไรที่เป็น Technical มากนัก โดยจะเน้นไปทาง MS Office และ โปรดัคต่างๆของ Google เช่น Google Doc และ Google Form ในการจัดการเอกสารทั่วๆไป
แม้ว่าทีมอินเว้นท์จะมีเพียงสี่คนแต่เนื่องจากลักษณะของงานเราต้องพบปะคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Entrepreneur, Investor, Mentor, Supporter หรือกระทั่ง Partner หน่วยงานรัฐและเอกชนต่างๆ ทำให้การบริหารจัดการคอนแทคให้สามารถติดตามความคืบหน้าของงานและความสัมพันธ์กับคนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยทางทีมได้ประยุกต์ใช้ CRM Tool ชื่อั Highrise ในการจัดการ Deal Sourcing และการติดตามความคืบหน้าของดีลต่างๆใน Pipeline (Highrise เป็นบริษัท Spin-off ของ Basecamp บริษัทซึ่งทำ Project Management Tool ชื่อดังที่โปรแกรมเมอร์หลายๆคนอาจจะคุ้นเคยกันดี)
ในทีมอินเว้นท์มีใครมีพื้นฐานเป็น Programmer มาก่อนบ้างไหม?
ทีมอินเว้นท์ทั้งสี่คนมี Background ด้านวิศวกรรมศาสตร์กันในหลากหลายสาขารวมถึงความรู้ในด้านการบริหารและการเงิน โดยมีสมาชิกอยู่หนึ่งคนที่ยังเขียนโค้ดเป็นเมื่อมีเวลาอยู่บ้าง ทั้งนี้เรามองว่าความเข้าใจในเทคโนโลยีในเชิงลึกเป็นความสามารถที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์การลงทุน VC เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นการทำ Deal screening ทีมเราหรือนักลงทุนที่มีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่ดีจะสามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วว่าโปรดัคที่บริษัทนำเสนอนี้ สามารถทำได้จริงหรือไม่ และใช้งานจริงได้ในระดับใด (Technical Feasibility) หรือคู่แข่งอื่นๆจะสามารถเลียนแบบทำตามได้ง่ายหรือไม่ (Differentiation / Barrier to Entry) จริงๆแล้วเว็บของทางอินเว้นท์นี้ทีมเราก็เขียนกันเอง ไม่ได้จ้างโปรแกรมเมอร์ข้างนอกทำ
คำแนะนำเล็กๆน้อยๆสำหรับโปรแกรมเมอร์ในฐานะนักลงทุน?
นอกจากความรู้เชิงลึกในเทคโนโลยีหนึ่งๆแล้ว อยากให้โปรแกรมเมอร์แสวงหาความรู้เฉพาะด้านในแง่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรม (Industry) ที่ตนเองมีความสนใจด้วย ปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีเฉพาะด้านหลายๆสาขาที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจกันมาก เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) เทคโนโลยีด้านงานโฆษณา (Adtech) หรือเทคโนโลยีของอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ (Internet of Things)
สนใจร่วมงาน?
แม้ทางอินเว้นท์จะไม่ได้เปิดรับตำแหน่งงานโปรแกรมเมอร์ แต่ 7 บริษัทในพอร์ทของอินเว้นท์ล้วนพร้อมที่จะรับ โปรแกรมเมอร์เก่งๆเข้ามาร่วมงานเสมอ สามารถดูบริษัทในพอร์ทของอินเว้นท์ทั้งหมดได้ที่http://www.

[Startup CTO ตอนที่ 2] –Tech Startup Culture จ๊าบๆ และเรื่องราวของ Wongnai

จากตอนที่แล้วเรื่อง [Startup CTO ตอนที่ 1] – CTO คืออะไร? Startup ดียังไงในแง่มุม Programmer? ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี แต่สำหรับผมการเขียน Program ก็ยังง่ายกว่าเขียน blog ประมาณ 4 เท่า ยังไงก็จะลองปรับปรุงและทำ skill การเขียนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นะครับ โดย Series นี้ผมจะให้ CTO แต่ละบริษัท (หรือบางกรณี CTO ก็เป็น CEO ด้วย) มาเล่าเรื่องที่น่าสนใจของบริษัทตัวเองในแง่ที่ Programmer น่าจะสนใจ วันนี้เราเลยมาเริ่มต้นที่เรื่องราวของบริษัท Wongnai หรือบริษัทวงใน มีเดีย จำกัด
Wongnai คือใคร? ทำอะไร?
Wongnai ขอ copy บทสัมภาษณ์จาก Blognone เลยละกันครับ

"เราทั้งสี่คน ยอด ชินสุภัคกุล (CEO), ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ (CTO), ศุภฤทธิ์ กฤตยาเกียรณ์ (Software Architect), วรวีร์ สัตยวินิจ (Development Manager) เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกันสมัยเรียนวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเลยรู้จักกันมาก่อนครับ หลังเรียนจบแล้วทั้งสี่คนก็แยกย้ายกันไปทำงานประจำอยู่ช่วงหนึ่ง ยอด (CEO) ได้ไปเรียนต่อ MBA ในสหรัฐฯ ได้พบบริการอย่าง Yelp และใช้อยู่เป็นประจำ พอช่วงเบรกได้กลับมาเยี่ยมเมืองไทย แล้วพบว่าไม่มีบริการแบบเดียวกัน เวลาไปเที่ยวอย่างพัทยาก็ยังหาร้านอาหารที่น่าสนใจยาก การบอกทางก็ทำได้ลำบาก จึงได้ชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันทำบริการแบบนี้ในเมืองไทย" -- ที่มา  Blognone

โดยข้อมูลอื่นๆ สามารถดูได้จากบทสัมภาษณ์ที่ Blognone และ Droidsans ละกันครับ ผมไม่อยากกล่าวซ้ำหรือมาเรียบเรียงใหม่ทำ link เฉยๆ ดีกว่า

แต่ส่วนที่เน้นคือประโยคที่ยกมาด้านบนนั่นแหล่ะครับ โดยจากที่เห็นคือทั้งทีมผู้ก่อตั้งมาจากสายงาน Programmer ทั้งนั้น และส่วนใหญ่ยังคงทำหน้าที่สาย Development กันอยู่ (CTO, Software Architect, Development Manager) นับได้ว่าทีมนี้มีความรักในการ Develop จริงๆ นับว่าเป็นหนึ่งใน Startup ที่ก่อกำเนิดจาก Technical background จริงๆ โดยเรื่องพวกนี้สามารถเห็นได้ตั้งแต่งาน Code Mania 01 (ดู Video ย้อนหลังที่ Link นี้) ซึ่งมีอาจารย์ที่ภาคคอมวิศวะจุฬาของผมแชร์ ทางพี่ยอด (CEO) เลยถามหา Sponsor ซึ่งตอนนั้นผมก็เลยทักไปทาง facebook และคุยต่อเนื่องจน Wongnai ก็ได้ Sponsor งานของเราในครั้งนั้น แล้วหลังจากนั้นผมก็เห็นทาง CTO พี่บอยวงในใส่เสื้อยืด Wongnai ไปปรากฎตัวตามงานต่างๆ ของสมาคมฯ เราอยู่เรื่อยๆ นับได้ว่า Wongnai เป็นบริษัทนึงที่เห็นความสำคัญของ Programmer เป็นอย่างดีและพร้อมจะสนับสนุน Programmer ให้ได้รับความรู้ และประสบการณ์ที่หลากหลายจริงๆ (หลังจากนั้นผมได้มีโอกาสไปพูดคุยกับพี่ยอดและพี่บอยที่ Office Wongnai เลยมั่นใจในแนวทางว่าบริษัทนี้ค่อนข้างเหมาะกับชาว Programmer อย่างเราๆ จริงๆ ครับ)

จนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมเกิด idea อยากให้ CTO บริษัทต่างๆ มาแชร์เรื่องราวที่ Programmer น่าจะสนใจเลยขอความร่วมมือไปยังพี่บอยให้ช่วยแนะนำบริษัทในแง่มุมที่ Programmer น่าจะสนใจ รวมถึง Technology หรืองานจ๊าบๆ ที่ Programmer จะสนใจกัน ทางพี่บอยก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ถึงกับเขียน Blog ขึ้นมาให้ผมเอาข้อมูลไปใช้เลยทีเดียว (Blog ยังไม่ Publish แต่ผมขอหยิบบางส่วนมาแชร์ก่อน ถ้า Publish แล้วจะใส่ Link ให้นะครับ)

"พี่บอย ภัทราวุธ ซื่อสัตยาศิลป์ CTO วงใน"

 
Culture จ๊าบๆ ของบริษัท Startup ที่น่าจะถูกใจ Programmer
อันนี้แทรกเล่นๆ ไม่เกี่ยวกับ Wongnai นะครับ แต่เผื่อใครมาอ่านจะอาจจะไป Adapt กับองค์กรท่านได้

** ที่มา Quora

facebook - "Facebook's Hack Month"

เมื่อพนักงานทำงานได้ระยะหนึ่ง (ส่วนใหญ่จะราวๆ 1 ปี) ทาง facebook จะให้เวลาพนักงาน 1 เดือนเพื่อไปทำ Project กับทีมอื่นๆ โดยถ้าทำเสร็จแล้วชอบใจก็จะสามารถไปอยู่ทีมนั้นได้เลยหรือถ้าอยากเปลี่ยนทีมก็สามารถเลือกทีมใหม่เผื่อไปลองใหม่ๆได้เรื่อยๆ
ข้อดีคือพนักงานสามารถได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ จากทีมอื่นๆ ในส่วนอื่นๆ
สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

Dropbox - "Dropbox's Hack Week"

ให้เวลาพนักงาน 1 อาทิตย์ไม่ต้องทำอะไรเลย เพื่อที่จะทำ feature ใหม่ๆ หรือ product  ใหม่ๆ
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ video

LinkedIn - "LinkedIn's Food Truck Fridays"

เอารถบรรทุกขายอาหารมาที่ Office โดยจะมีรถมากมายหลากหลายอาหารให้พนักงานเลือกกินฟรี และเกมส์หรือการแข่งขันให้พนักงานไปร่วมสนุกอีกด้วย

VMware - "VMware's Giving Program"

เมื่อทำงานครบ 4, 6, 8 หรือ 12 ปีแล้ว พนักงานจะได้เงินจำนวนหนึ่งเพื่อเลือกได้ว่าสามารถนำไปบริจาคให้องค์กรใดๆ ก็ได้เช่น ถ้าถึง 12 ปีจะได้ 12,000 USD  (ถึงจุดนี้หลายคนอาจจะคิดว่ามี Option ให้เอาเงินตัวเองได้ไม๊....)

ที่เหลือลองอ่านเพิ่มเติมกันเองนะครับ

 
Team Dev ของวงในต้องทำอะไรบ้าง ?
กลับมาเรื่องวงในต่อ อย่างที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่า Wongnai เป็น Web หรือ App เพื่อดูร้านอาหาร Review ร้านอาหาร ดังนั้นอาจจะมี Programmer สักนิดๆหน่อยๆก็พอ เพราะตอนนีี้ก็พัฒนาเสร็จแล้วน่าจะพอแล้วจะมีอะไรให้ต้อง Code อีก? แต่ว่าเรื่องจริงสำหรับ IT Product นั้นต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาครับ เพราะธุรกิจนี้คนมา Copy ได้ไม่ยาก แต่ว่าผู้พัฒนา Product ต้องทำสิ่งต่างๆ เรื่อยๆ เพิ่ม Feature ที่ลูกค้าต้องการเรื่อยๆ ไม่งั้นก็จะเหมือน Hi5, Yahoo, Socialcam ที่ท้ายสุดก็โดนแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปรวมไปถึงมีบางรายต้องปิดบริษัทเลยทีเดียว ทางพี่บอยเลยพยายามอธิบายงานต่างๆ ที่มีให้ทีม Dev ทำกันต่อไป ผมเลยขอเอามาสรุปคร่าวๆ ราวๆ นี้นะครับ
ลักษณะของเว็บวงใน
แตกต่างจากเว็บดังๆ ของไทยบางเจ้า ที่อาจจะมีแค่ 1 ประเภทเท่านั้น โดย Wongnai สามารถ แบ่งได้ Function เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

Location-based service - เช่น หาร้านอาหารรอบๆ ตัวเอง
User-Generated Content Website - แนวๆ ข้อมูลต่างๆ ที่เกิดจาก User เช่น Review
Social Network - ตรงตัวไปมา
Search Engine - ค้นหาร้านอาหาร

Feature ต่างๆ ที่ยังต้องพัฒนาเพิ่มเติม
อันนี้ผมขอแบ่งหมวดตามการจัดของผมเองละกันครับ โดยทุกๆ บทความอาจจะแบ่ง Feature ตามหัวข้อดังนี้ไปเลย
1) ส่วนความถูกต้องของข้อมูลที่ได้เวลามี Input ใดๆ (ส่วน Input)
หรือพูดง่ายๆ คือการจัดการสิ่งที่ป้อนเข้ามาในระบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลนั้นๆ ไปทำงานอื่นๆ เพิ่มเติมต่อได้ โดยของวงในมี function ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้ ดังนี้

1.1) Search - ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดจาก Google หรือเว็บ Social ทั้งหมดที่มีกล่อง Search โดยผู้ใช้งานต้องการหาอะไรซักอย่างนั้นแหล่ะ โดยคาดหวังว่าจะได้ผลลัพท์ที่ตรงกับความต้องการ โดยถ้า Search แล้วไม่ตรงซัก 2-3 ครั้งก็อาจจะโมโห หงุดหงิด ไม่ใช้งานอีกก็ได้ ดังนั้นระบบต้องรู้เลยว่า "สิ่งที่ป้อนเข้าไป" มีความหมายว่าอะไรโยสิ่งที่วงในต้องการทำ ได้แก่

การรู้ว่า Keyword เป็นประเภทอะไร (ร้านอาหาร, ร้านในจังหวัด, ประเภทร้านอาหาร)- อันนี้ค่อนข้างยาก เพราะถ้าจะให้ฉลาดๆ ต้องใส่พวก Machine Learning เข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น พิมพ์ “บ้านไอซ์” น่าจะอยากค้นหาร้านที่ชื่อว่า บ้านไอซ์ (คือต้องการค้นชื่อร้าน), พิมพ์ “ภูเก็ต” น่าจะหมายถึงค้นหาร้านในภูเก็ต ไม่ใช่ค้นหาร้านที่ชื่อภูเก็ต (คือต้องการค้นสถานที่ร้าน), พิมพ์ “ซีฟู้ด” น่าจะหมายถึงค้นหาร้านอาหารทะเล (คือต้องการค้นประเภทร้าน)
การทำ Keyword ให้แม่นยำให้รู้ว่าการพิมพ์หลายๆ แบบ ท้ายสุดจะถูก map ไปยัง Keyword ใด- เช่น ง่ายๆ เลยคือ จากตัวอย่างข้างบน คนสามารถพิมพ์ "บ้านไอซ์" ได้เป็น "บ้านไอส์" "บ้าน ice" หรือถ้าชอบภาษาอังกฤษเยอะๆ หน่อยก็อาจจะใช้ "Baan Ice" แถมไอ้คำว่า Baan ก็สะกดได้หลายแบบอีก แค่คิดก็ปวดหัวไม่อยากทำไรต่อละครับ (จริงๆ อันนี้มีพวก Opensource บางอย่างมาตอบโจทย์ เช่นที่ผมเคยเล่นกับ Component Spell Check ของ Solr ก็ค่อนข้าง OK เลย)
Autocomplete หรือ Search Suggestion - เวลาพิมพ์แล้วจะขึ้นมาให้เลือกเลยว่าเราต้องการอะไร เห็นง่ายๆ ก็เช่นพิมพ์ "บ้านไ" ก็ขึ้น "บ้านไอซ์" เป็นหนึ่งใน Option ให้เลือก เลย

2) ส่วนแสดงผลสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้คนสนใจใน Content นั้นๆ (ส่วน Output)
ยกตัวอย่าง ก็ Timeline ของ facebook ที่จะเลือกสิ่งที่เราสนใจมากที่สุดเพื่อแสดงผลในหน้านั้นๆ โดยถ้า algolithm นี้ไม่ดีพอผู้ใช้งานอาจจะเซ็งที่ได้รับรู้สิ่งที่ไม่ตรงกับความสนใจของเรา โดยทาง Wongnai ก็ค่อนข้างเน้นเรื่องนี้เช่นกันดังที่จะเห็นได้จากเรื่องเหล่านี้

2.1) ดูร้าน "ใกล้" - ดังที่พี่บอยพิมพ์ไว้ใน Blog ว่าการที่ผู้ใช้ค้นหา “ร้านใกล้ตัว” จริงๆ แล้วถ้าให้ถูกต้อง ต้องบอกว่าผู้ใช้กำลังหา “ร้านดีๆ ใกล้ตัว” มากกว่า หรือในมุมมองที่ผมเสริมเข้าไปได้ คืออาจจะเป็นร้านประเภทที่ผมชอบ (ของหวาน, อาหารญี่ปุ่น) ที่อยู่ใกล้ๆ ด้วย โดยอาจจะดูประวัติจากอดีตว่าผมชอบ Bookmark หรือไป Review ร้านอาหารประเภทใดบ้าง รวมถึงอีกประเด็นนึงคือใกล้จะมีเรื่องการเดินทางมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น "ถ้าเรายืนอยู่แถวสยามสแควร์ ร้านที่อยู่แถวชิดลม ก็คงไม่เรียกว่าใกล้" "ถ้าเราอยู่ต่างจังหวัด คำว่าร้านใกล้ ก็อาจจะเป็น ร้านที่อยู่ห่างออกไปซัก 5 กิโลเมตร "

2.2)  ส่วนจัดลำดับการแสดงผล - คือการเลือกร้านที่ผู้ใช้สนใจขึ้นมาแสดงก่อนโดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่

ปัจจัยอะไรบ้างที่จะนำมาเป็นตัวคิดคะแนนให้กับร้านค้า แล้วต้องช่างน้ำหนักกันยังไงบ้าง
ร้านที่รีวิวเยอะดาวเยอะ แต่ว่าไม่ฮิตแล้ว ควรจะอันดับดีเหมือนเดิมตลอดกาลมั้ย
ร้านหรูๆ ราคาแพงๆ โอกาสที่จะเป็นร้านที่คุณภาพดีค่อนข้างมาก แต่โดยธรรมชาติแล้ว ร้านประเภทนี้ก็มักจะมีรีวิวน้อยเป็นเรื่องปกติ เพราะคนไปกินน้อย ทำยังไงให้ร้านที่รีวิวน้อยแต่ดาวดี มีโอกาสออกสู่สายตาผู้ใช้
คำนวณอันดับของร้านตามแกนต่างๆ อีกเช่น "คำนวณอันดับของร้านในหมวดเดียวกัน", "คำนวณอันดับของร้านในพื้นที่เดียวกัน (จังหวัดเดียวกัน)"

2.3) Feed - เป็นสิ่งที่ Social Network ต้องเจอเหมือนๆ กันคือการเลือก Content ยังไงให้น่าสนใจที่สุด และจะจัดเก็บและ Query ข้อมูลที่มีมากมายมหาศาลยังไงให้ไม่กระทบกับเรื่อง Performance เช่น

"สมมติ User ชื่อ A มี Follower จำนวน 50,000 คน เมื่อ User A โพสอะไรก็ตามออกมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะต้องมีการเพิ่ม row ใน database อย่างน้อย 50,000 แถว  ถ้า User คนนี้โพสทีเดียว 10 รูปรวด แสดงว่าจะต้องเพิ่มทีเดียว 500,000 แถว"
3) ส่วนกระบวนการเพื่อให้ได้ Input หรือ Output นั้นๆ
หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่ต้องมีในระบบงานเพื่อ Support ให้เกิด Input หรือ Output นั้นๆ โดย Wongnai มีองค์ประกอบเหล่านี้

3.1) นำ User Data มาใช้งาน เช่น ถ้า User เคยทานอาหารประเภทซูชิ ก็ควรเลือกร้านซูชิมาก่อน หรือ ถ้า User เคย Bookmark ร้านไหน หรือร้านประเภทใดๆ ก็นำร้านนั้นๆ มาขึ้นก่อน หรืออาจจะร้านในหมวดที่ User สนใจมาขึ้นก่อน

3.2) Performance -เมื่อใดก็ตามที่มี Output ออกมา Output นั้นๆ ต้องมีประสิทธิภาพที่ดีด้วย (เร็ว) ทั้งส่วนที่เป็น Web และ Mobile โดยที่ Wongnai ใช้คือการ caching เช่นการ caching การค้นหาตาม keyword ซึ่งอาจจะทำง่ายหน่อย แต่บางอย่างอาจจะ cache ยาก เช่นการค้นหาตาม latitude, longitude  ดังนั้นก็ต้องคิดวิธี optimize การค้นหาร้านรอบตัวที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือใช้เทคนิคอื่นๆ มาเสริมเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ทั้งในด้าน Code และ Infrastructure

3.3) Big Data - ข้อมูลที่ Wongnai มีได้แก่ Geo-tagged, Profile ที่เกิดจาก Action ต่างๆ ของ user เช่น โพสรีวิว, โพสรูป, เช็คอิน, bookmark ร้าน, กด Like, คอมเม้นท์ ข้อแตกต่างของข้อมูลพวกนี้กับข้อมูลของเว็บอื่นๆ คือเป็น individual-centered มากกว่าจะเป็น group-centered อย่างเว็บบอร์ด
4) ส่วนอื่นๆ
4.1) ระบบ e-Voucher - อันนี้ผมก็พึ่งไปใช้มาในการกินร้าน Sushi Den มา นับว่าค่อนข้างสะดวกสบายทีเดียว จ่ายผ่าน Line Pay ลดเพิ่ม 10% รวมทั้งได้ตุ๊กตาแถมมาด้วย พอไปใช้งานที่ร้านก็แค่แสดงหน้าบนมือถือให้ทางร้าน Stamp ก็จบ

4.2) Mobile App - เพื่อรองรับ OS ใหม่ๆ ที่ออกมาเรื่อยๆ รวมถึงการปรับหน้าตาให้ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆ โดยผมย้อนกลับไปดู Mobile App ของวงในสมัยออกมาใหม่ๆ กับตอนนี้ถือว่าต่างกันมากๆๆ เลยทีเดียว นับว่าปรับตามสมัยนิยมไปเรื่อยๆ
สนใจร่วมงาน?
ท้ายสุดวงในยังเปิดรับสมัครพนักงานอยู่เป็นจำนวนมากนะครับ ใครสนใจดูรายละเอียดและการติดต่อได้ที่นี่
เพิ่มเติมเรื่อง Startup อื่นๆ
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เป็นพันธมิตรกับ Techsauce http://techsauce.

[Startup CTO ตอนที่ 1] – CTO คืออะไร? Startup ดียังไงในแง่มุม Programmer?

CTO คืออะไร?
หนึ่งใน career path ท้ายสุดที่สำคัญของสาย Programmer อย่างพวกเราคือการเป็น CTO ไม่ว่าจะในบริษัทใหญ่ หรือบริษัท ท้ายที่สุดก็ต้องมีใครสักคนที่ดูแลส่วน IT ทั้งหมด ซึ่งคนที่เหมาะสมก็ควรจะเป็นคนที่มาจากสาย Programmer อย่างเราๆนี่แหล่ะ แต่ว่าในอุตสาหกรรม Software ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างตลอดเวลา Programmer นอกจากพัฒนาสิ่งที่ตัวเองมีอยู่(Technical Skill เช่น การเขียนโปรแกรมให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น) เราก็ควรจะพัฒนาทักษะด้านอื่นๆที่เหมาะสม เพื่อจะไปให้ถึงปลายทางท้ายที่สุดของสายอาชีพนี้
ทำไมต้อง Startup?
เราลองมาวิเคราะห์กันดู ว่าประโยชน์ของ Programmer ในการทำงานบริษัท Startup มีอะไรบ้างกันเลยดีกว่าครับ โดยผมแยกตาม State ต่างๆ ของ Start up ตามรูปด้านล่าง

โดยนี่คือมุมมองของลูกจ้างที่ไม่ใช้ Founder นะครับ
1. Startup แบบ Seed Funding
- ข้อดี - จะได้รับการปฏิบัติอย่างดี เพราะว่าเป็นรุ่นแรกๆ ถ้าบริษัทโต คุณก็จะได้ผลตอบแทนจากมูลค่าหุ้นเป็นปริมาณมหาศาลทีเดียว
- ข้อเสีย - เงินเดือนจำกัด จนถึงค่อนข้างน้อย
2. Startup ที่ได้รับ Early Stage
- ข้อดี - เงินเดือนกลางๆ จนถึงมาก ขึ้นกับบริษัท และความสามารถ
- ข้อเสีย - หุ้นที่ได้อาจจะน้อยลงมา หรืออาจจะไม่ได้เลย
3. Startup หลังจาก Later Stage
- ข้อดี - เงินค่อนข้างไม่เป็นปัญหาแล้วสำหรับขั้นนี้ สามารถให้ rate จ้าง Programmer ได้เท่ากับบริษัทข้ามชาติต่างๆ ทีเดียว แถมมีโอกาสได้หุ้นค่อนข้างมาก
- ข้อเสีย - เนื่องจากไม่ได้เป็นรุ่นแรกๆ ในบริษัท อาจจะได้หุ้นไม่มากนัก หรือไม่ได้เลย

โดยสรุปคือ ถ้าขยันและมีความสามารถ บริษํท Startup จะเห้นความสามารถของคุณเองครับ และมูลค่าของหุ้นส่วนใหญ่จะขึ้นไปจนคุ้มเหมือนคุณทำกิจการเองเลยทีเดียว ดังเช่น พนักงานรุ่นแรกๆ ของ Google หรือ facebook นั่นแหล่ะครับ (แต่เอามูลค่าบริษัทมาลองเทียบบรรยัติไตรยางค์กันเองนะครับ)
คุณลักษณะของ CTO
ในฐานะที่ผมเคยทำ Startup ในฐานะ CTO ทั้งที่สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อเมริกาและประเทศไทยเราเอง ผมเลยอยากมาแชร์ประสบการว่าเราควรจะมีทักษะอะไรบ้าง เพื่อที่จะทำหน้าที่ในตำแหน่ง CTO เพื่อสนับสนุนองค์กรของเราให้แข็งแกร่งที่สุด โดยหลักๆ แล้วคุณสมบัติพวกนี้ไม่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็น CTO ในบริษัทใหญ่ๆ หรือ CTO ใน Startup Company ก็ตาม

1. การควบคุม Project ให้เป็นไปอย่างตรงเวลาและเหมาะสม (Strong Project Management Skill) รวมทั้งการจัดการผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Project เพื่อให้สำเร็จไปด้วยดี

2. การสื่อสาร - เนื่องจากทุกฝ่ายแทบจะทั้งหมดยังไงก็ต้องมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับ CTO แต่ว่าการที่เราอยู่แต่หน้าคอมอย่างเดียว อาจจะไม่ถนัดด้านพูดคุยกับคนอื่นมากนัก จึงควรเพิ่มทักษะด้านนี้

3. Super Technical Skill - คุณต้องรู้ว่าจะใช้ Technology ไหนเพื่อตอบโจทย์ทาง business, รู้ว่าพัฒนาหรือเขียน Program ยังไงให้มีประสิทธิภาพที่สุด, การใช้ Technic ไหนมาลด cost ให้กับบริษัท

4. คิดแบบมองภาพรวม - ข้อข้างบนคือรู้ในด้าน Detail Technical แต่ว่า CTO ควรรู้ด้านภาพรวมด้วย (Detail Non Technical) เช่น การที่ CEO ต้องการทำ Function นึงๆ ควรจะทำระบบยังไงให้ตอบโจทย์ที่สุด, วิเคราะห์ function คู่แข่ง ว่าทำยังไงให้เหนือกว่า, รู้เรื่อง UX UI ว่าทำยังไงให้ผู้ใช้งานประทับใจ

5. จัดการมนุษย์ - สาย IT เป็นอีกสายที่ Programmer เป็นส่วนหลักของบริษัท (แบบเดียวกับสาย Finance ที่คุณค่าของบริษัทอยู่ที่คน)
แล้วจะพัฒนาตัวเองยังไงหล่ะ ?
วิเคราะห์หาจุดอ่อนตัวเอง แล้วเริ่มปรับปรุงครับ จะ Course Online หรือ เรียนก็ได้ หรืออาจจะเข้าร่วมสัมมนาต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Tech Startup โดยตั้งเป้าเลยว่าขณะนี้เราขาดคุณสมบัติใดบ้าง และจะศึกษาอะไรบ้าง และจำสำเร็จแต่ละจุดเมื่อไหร่
โดยล่าสุด สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เป็นพันธมิตรกับ Techsauce http://techsauce.

Read more 4 Comments