จบลงไปแล้วกับตำนานบทใหม่ของชาวโปรแกรมเมอร์ไทย กับงาน “National Coding Day 2023” งาน Tech ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ตำนานบทใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว!! หลังจบงาน National Coding Day 2023 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ปิดยอดลงทะเบียนไปทั้งสิ้น 3,500 ราย ที่หลั่งไหลมาที่ไบเทค บางนา เรียกได้ว่าเป็น Event ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยเคยจัดมา

เริ่มที่วันแรกของงาน วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เปิดฉากงานในช่วงเช้าด้วย Speaker ชื่อดัง คุณเดียร์ จิรายุส นิ่มแสง กับ Topic "The Future of DevSecOps Is Platform Engineering" และต่อด้วยพิธีเปิด เริ่มโดย คุณเอก เอกนรินทร์ ศิริทรัพย์ กรรมการสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย กล่าวถึงภาพรวมของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยในปี 2022 ที่ผ่านมา พร้อมด้วย คุณโท ไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดงาน พร้อมกล่าวเปิดงานในครั้งนี้  

พิธีเปิดยังไม่จบเพียงเท่านี้ ลำดับถัดไป ประกาศความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ กับการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย กับมหาวิทยาลัยอีก 12 แห่ง ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) ต่อด้วยประกาศความร่วมมือกับสมาคมอื่น ๆ อีก 9 สมาคม โดยทุกสมาคมมีพันธกิจร่วมกันในการพัฒนากำลังคน Reskill คน ด้านต่าง ๆ จึงลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย โดยสมาคมที่เข้าร่วมมีดังนี้ สมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE), สมาคมผู้ดูแลเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ไทย (TWA), สมาคมไทยไอโอที (Thai IoT), สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup), สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ (AIEAT), สมาคมเมกเกอร์ประเทศไทย (Maker), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (TGA), สมาคมเมตาเวิร์สแห่งประเทศไทย (Metaverse Association), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) และสมาคมเทคโนโลยีเพื่อการตลาด (MarTech)

 

โดยพิธีเปิดในครั้งนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ติดภารกิจเร่งด่วน จึงมอบหมายให้ แพทย์หญิงป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์  ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เป็นผู้แทน ประธานในพิธีเปิด ร่วมด้วย ดร.ภัทราวดี พลอยกิติกูล ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand), ซิสเตอร์ ดร.สุรีย์พร ระดมกิจ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต / ผู้จัดการ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, คุณไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ประธานสถาบันเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม (ICTI), ดร.จักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA), คุณนิยม อิงคสุรวัฒน์ ผู้จัดการอาวุโสสำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคกลางและภาคตะวันออกสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน), ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)  และคุณ Anousit Kounlavong CEO kok kok sole จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เข้าสู่การเปิดงานอย่างเป็นทางการ ถือเป็นอันสิ้นสุดพิธีเปิด

สำหรับงานนี้เราได้ขนกองทัพ Speaker ระดับท็อปของวงการเทคฯ มามากกว่า 100 ชีวิต มากกว่า 20 sessions และรวบรวม Community ที่หลากหลายมากันครบ ทั้ง Agile, DevOps, FrontEnd, Data Science, Flutter, Security, Tester, UX, Serverless, Software Delivery, RPA, Golang, VueJS มาไว้ที่งานนี้ เหล่า Speaker มาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์มากมายจนทำให้ห้องสัมมนาที่จัดที่นั่งสำรองไว้ถึง 450 ที่นั่งก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ฟังเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์เดฟ รวิทัต ภู่หลำ จาก Code App, คุณตั้ง วรัทธน์ วงศ์มณีกิจ จาก WISESIGHT, คุณทวิร พานิชสมบัติ จาก ODDS และอีกมากมาย

กิจกรรมภายในงานยังไม่หมดเท่านี้ ยังมี Sub-Event อีกเพียบที่รองรับผู้เข้าร่วมงานไว้ทุกเพศทุกวัย ตรงตาม Concept ‘Anyone Can Code’ ทั้ง DevOps BKK 2023 งานชุมนุม DevOps ประจำปีของประเทศไทย ที่มาร่วม Update เทคโนโลยีทางฝั่งของ DevOps และ Backend รวมไปถึง Cloud Technology, FrontEnd BKK 2023 งาน Conference ประจำปี ในสายของการพัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้ ทั้งในส่วนของ Website, Mobile Application, Super App ต่าง ๆ, National Coding Challenge การแข่งขันหุ่นยนต์ รุ่นอายุ 5-18 ปี ชิงถ้วยจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, Bangkok Open Source Hackathon สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย สนับสนุนชุมชน Open Source จัด Workshop และ Hackathon, National Whitehat Challenge การแข่งขัน WhiteHat RED Tead หรือที่เรียกว่า Penetration testing, Workshop ดี ๆ จาก Huawei Cloud ที่มาร่วมสร้างประสบการณ์กันในงานนี้ รวมถึง Jobs Session ตำแหน่งว่างจากบริษัทใหญ่ชั้นนำด้านเทคโนโลยีที่เปิดรอรับ Candidate จำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงเย็นของวันงานเราเปิดโอกาสให้บริษัทขึ้นมาขายตัวเองกันเต็มที่พร้อมสวัสดิการปัง ๆ  เรียกได้ว่าคุ้มซะยิ่งกว่าคุ่ม บัตร 1 ใบเข้าได้ทุกส่วนของงาน

สำหรับช่วงท้ายของงาน มีพิธีมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการแข่งขันรายการ National Whitehat Challenge และ National Coding Challenge นอกจากนี้ยังมอบรางวัลให้กับโปรแกรมเมอร์อาสาที่เคยสนับสนุน และช่วยเหลือสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยช่วง Covid มาด้วยดีตลอด โดยในพิธีมอบรางวัล ได้รับเกียรติจาก นายประสพสุข พิมพโกวิท รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร,  คุณกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย, คุณปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธาน  HUAWEI CLOUD (Thailand), คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์  Country Manager Amazon Web Services (Thailand) และ ซิสเตอร์ ดร.สุรีย์พร ระดมกิจ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต / ผู้จัดการ โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ขึ้นมามอบของรางวัลให้กับผู้ชนะแข่งขันทั้ง 2 รายการ และโปรแกรมเมอร์อาสาที่ได้รับรางวัล และปิดท้ายงานด้วยพิธีปิด โดย นายประสพสุข  พิมพโกวิท เป็นประธานในพิธีปิดงาน

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจเข้าร่วมงานนี้เป็นอย่างดี  เราจะกลับมาพบกันใหม่ในปีหน้า ที่จะมา record ตำนานบทใหม่ให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม สำหรับท่านใดที่พลาดไป สามารถรับชมงานย้อนหลังได้ที่ Facebook สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย (https://www.

จบลงไปแล้วสำหรับงาน TPA Internship หาที่ฝึกงานให้นักศึกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยสยาม

จบลงไปแล้วสำหรับงาน TPA Internship หาที่ฝึกงานให้นักศึกษา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยสยาม

งาน TPA Internship นี้เปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักศึกษาได้เข้าร่วมเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษาได้มีตัวเลือกบริษัทเข้าฝึกงานงานได้มากขึ้น และเป็นงานที่จะช่วยให้น้องๆ นักศึกษาได้พูดคุย และเข้าสัมภาษณ์กับบริษัทที่อยากเข้าไปร่วมทำงานด้วย
    

โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดหางานให้น้องนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสหกิจหรือฝึกงานของบริษัทก็ตาม งานที่จัดขึ้นในครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมงานมากกว่า 60 คน และมีบริษัทเข้าร่วมถึง 10 บริษัท ทั้ง Krungsri Group, MetaversXR, Gofive เป็นต้น

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยสยามที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้จะนำพาให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษา ช่วยพัฒนาต่อยอดในอาชีพในอนาคตของนักศึกษาได้

#TPA
#TPAInternship

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ร่วมกับ 7 สมาคม จัดงาน Digital Night 2022 #ค่ำคืนคนดิจิทัล งาน Networking ส่งท้ายปีของชาวดิจิทัล

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ร่วมกับ 7 สมาคม จัดงาน Digital Night 2022 #ค่ำคืนคนดิจิทัล งาน Networking ส่งท้ายปีของชาวดิจิทัล ณ True Digital Park เพื่อให้สมาชิกสมาคมและผู้ที่สนใจทั่วไปด้านดิจิทัลได้มาอัปเดตความรู้ข่าวสารและทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัลรวมถึงสร้าง Connection ทางธุรกิจ

.

.

ภายในงานได้อัปเดตความรู้กับเสวนาด้าน Digital Technology, E-Commerce, Future of Web 3.0 และ Tech Talent โดยสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย มีผู้แทนเข้าร่วมเสวนา นำโดย คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมฯ และคุณเอกนรินทร์ ศิริทรัพย์ กรรมการสมาคมฯ ได้ร่วมเสวนาอัปเดตทิศทางอุตสาหกรรมดิจิทัล

.

หลังจบ session เสวนาแล้ว ได้พบปะพูดคุย สร้าง connection ทางธุรกิจ และสนุกไปกับปาร์ตี้จากวง ETC และ DJ Blackcat

.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบคุณ คุณพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จัดงานดีๆ เช่นนี้ และรวมตัวคนดิจิทัลมากกว่า 500 ชีวิต ที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนและอัปเดตความรู้ร่วมกัน

.

.

#TPA
#Digitalnight

จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับกิจกรรม Monthly Meetup ประจำเดือนพฤศจิกายน กับหัวข้อ “ฝ่าวิกฤตต้นทุน คนและเวลาด้วย Tools อัตโนมัติ”

จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับกิจกรรม Monthly Meetup ประจำเดือนพฤศจิกายน กับหัวข้อ "ฝ่าวิกฤตต้นทุน คนและเวลาด้วย Tools อัตโนมัติ" จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ณ  True Digital Park

Monthly Meetup เดือนนี้ได้พาไปรู้จักการทำงานแบบใหม่ที่ไม่ว่าจะเป็น Dev, Business หรือแม้แต่แผนกอื่นอย่าง Marketing ก็สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ได้ เนื่องจากภาวะวิกฤตในปัจจุบันที่ทำให้ทุกอย่างถูกจำกัดไปหมด ทั้งเงิน เวลา กำลังคนกับการทำงานด้วย process เดิมๆ

  

โดยพาตัวแทนของแต่จะสาย ทั้งสาย Dev โดย คุณอภินันท์ วรตระกูล CEO iOTech Enterprise, สาย Marketing โดย คุณไชยพงศ์ ลาภเลี้ยงตระกูล CEO PAM , สาย Startup โดย คุณสรวิศ อัสสรัตนะ CEO Talance, และสาย Product Manager โดย คุณรัตนากร ตั้งพุทธรักษ์ True Digital Group รวมทั้ง 4 สายมานั่งพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ พร้อม Moderator คุณณรงค์ฤทธิ์ กัณหาน้อย CTO PAM ร่วมพาผู้ชมและผู้ฟังฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ ทำให้สุดท้ายต้นทุนถูก กำไรดี มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบทุกท่านที่สนับสนุนสมาคมฯ มาด้วยดีตลอด รวมถึงผู้เข้าร่วมงาน และทีมงานทุกท่านทำให้กิจกรรม Meet Up ในครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

สำหรับใครที่พลาดกิจกรรมนี้ สามารถดู Live ย้อนหลังได้ที่ > https://www.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมงานเปิดตัวโครงการ Let’s code ในงาน Let’s Code Thailand Launch Event ร่วมกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, DMAP, Google และ มูลนิธิเอเชีย

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย นำโดย คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคม และคุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา อุปนายกสมาคม ร่วมงานเปิดตัวโครงการ Let’s code ในงาน Let's Code Thailand Launch Event ร่วมกับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, DMAP, Google และ มูลนิธิเอเชีย

โครงการ Let's Code Thailand เป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาทรัพยากรโปรแกรม และได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความครอบคลุม การเข้าถึง และความยั่งยืน โดยหลักสูตรนี้จะเน้นการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) และการเรียนด้วยตนเอง

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมกับ Software Park จัดงาน Speed Dating Day เป็นครั้งที่ 12 ต่อเนื่องมาจากงาน Codecamp เปลี่ยนอาชีพอื่นเป็นโปรแกรมเมอร์ใน 3.5 เดือน

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ร่วมกับ Software Park จัดงาน Speed Dating Day ณ Software Park เป็นครั้งที่ 12 ต่อเนื่องมาจากงาน Codecamp เปลี่ยนอาชีพอื่นเป็นโปรแกรมเมอร์ใน 3.5 เดือน

ภายในงานได้จัดให้ผู้เข้าร่วมโครงการ 34 คน ร่วมนำเสนอผลงานต่อผู้ประกอบการดิจิตอลมากถึง 13 บริษัท เพื่อสร้างโอกาสในการร่วมงานกับบริษัท โดยจัดพื้นที่ไว้สำหรับพูดคุย สัมภาษณ์โดยตรงกับบริษัท พร้อมรับเข้าทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำ

.
ในปัจจุบันโครงการ Codecamp ได้จัดอย่างต่อเนื่องมาถึงครั้งที่ 13 แคมป์ที่เปลี่ยนคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมให้กลายเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ภายใน 3.5 เดือนสำหรับแคมป์เรียนสด และ 6 เดือนสำหรับคอร์สออนไลน์ เปลี่ยนคนจากสายอาชีพอื่น มาเป็นโปรแกรมเมอร์ เปลี่ยนมาแล้วมากกว่า 300 ชีวิต เพื่อแก้ปัญหาโปรแกรมเมอร์ขาดแคลนอยู่ในปัจจุบัน
.
ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอขอบคุณ Software Park ที่สนับสนุนสมาคมฯ ในการจัดโครงการ Codecamp และ Speed Dating Day มาด้วยดีตลอด สมาคมฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างเครือข่ายโปรแกรมเมอร์ พัฒนาและผลิตบุคลากรในสายอาชีพโปรแกรมเมอร์ต่อไป

#TPA #ThaiProgrammer
#Codecamp #SpeedDatingDay

คุณพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย เป็นตัวแทนจากสมาคมฯ เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณในงาน InfoComm Southeast Asia 2022

บ่ายวันนี้ (2 พฤศจิกายน 2565) คุณพิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย เป็นตัวแทนจากสมาคมฯ เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณในงาน InfoComm Southeast Asia 2022 (IFSEA 2022) จากปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ ไบเทค บางนา

.
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยและ infoComm ต่างให้ความร่วมมือ และสนับสนุนซึ่งกันและกันเสมอมา ทางสมาคมฯ จึงขอขอบพระคุณ infoComm ที่เชิญสมาคมฯ เข้าร่วมพิธีรับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณในครั้งนี้
.

#TPA #ThaiProgrammer
#IFSEA2022 #InfoCommSoutheastAsia2022

คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้เข้าร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Coding ในชีวิตประจำวัน ให้กับคณะครู และนักเรียน

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้เข้าร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Coding ในชีวิตประจำวัน ให้กับคณะครู และนักเรียนโรงเรียนอรุณวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และคณะครูโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ในปัจจุบันหลายโรงเรียนทั่วโลกได้จัดการเรียนการสอน Coding ให้เป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐานที่ถูกบรรจุในหลักสูตรให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ในโรงเรียน โดยเด็กนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการคิด การวางแผนอย่างเป็นระบบ และนำไปพัฒนาต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย – บริษัท Kok Kok จำกัด จับมือลงนาม MOU มุ่งพัฒนาสร้างความรู้ด้านซอฟต์แวร์ และพัฒนาสายอาชีพโปรแกรมเมอร์

.
วันที่ 21 ตุลาคม 2565 สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย นำโดย นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมฯ, นายอภินันท์ วรตระกูล กรรมการและประชาสัมพันธ์สมาคมฯ และนายเอกนรินทร์ ศิริทรัพย์ กรรมการและนายทะเบียนสมาคมฯ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก Mr. Anousit Koulavong ผู้อำนวยการ บริษัท Kok Kok จำกัด และคณะ เพื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือพัฒนาความรู้ด้านซอฟต์แวร์ (software) และฮาร์ดแวร์ (hardware) ณ ประเทศลาว

.

.
จุดประสงค์ของการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือนี้ เพื่อพัฒนาความรู้ด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรภายในและภายนอกบริษัท กระตุ้นความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้านอื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นสมควร และสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายโปรแกรมเมอร์ในประเทศลาว ด้วยเหตุนี้ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงที่จะลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อพัฒนาบุคลากรและการศึกษาในด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

.
โดยการทำ MOU ครั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กร มีความตั้งใจที่จะผลักดันสายอาชีพโปรแกรมเมอร์ให้ก้าวหน้า เพิ่มจำนวนคนที่มีประสิทธิภาพในสายอาชีพโปรแกรมเมอร์ เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง

.

.
ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้ง 2 องค์กร ทั้งกิจกรรมในไทย และลาว ติดตามได้ทางเพจสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย (https://www.

depa – สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย สร้างสายสืบไซเบอร์กับโครงการ White Hat Hacking for Security 2022

ในปัจจุบันความสำคัญด้านความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กร ถือเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ จากประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) รวมถึงการอนุมัติร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ผ่านมาในปีนี้ ทางองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมนโยบาย และแผนดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับพรบ. และแผนปฏิบัติการ ความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ จึงได้พูดคุยหารือกับ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง จาก depa และจัดตั้งโครงการ White Hat Hacking for Security เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้าน Cybersecurity เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลให้มากยิ่งขึ้น

หลังจากที่ประสบความสำเร็จในรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 จากโครงการ White Hat Hacking for Security 2020 และ 2021 ทาง depa และ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตรในการสร้างบุคลากรทางด้าน Cybersecurity เพื่อรองรับสังคมดิจิทัลในยุค Work from home เนื่องจากนโยบายการทำงานขององค์กรที่เปลี่ยนไป ทำให้แผนการป้องกันข้อมูลต้องถูกพัฒนาไปพร้อมกันตามยุคสมัย แต่บุคลากรด้านความปลอดภัยไซเบอร์กลับขาดแคลนเป็นอย่างมาก ทั้งกำลังพล ความรู้ และความเชี่ยวชาญ เพราะยังถือว่าเป็นวิชาชีพใหม่ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก จึงเป็นโอกาสของคนที่กำลังมองหาอาชีพใหม่ในยุคดิจิทัล ที่เปิดโอกาสด้านความก้าวหน้าของสายอาชีพ โอกาสในการทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงความต้องการในตลาดการจ้างงานยังมีเป็นจำนวนมาก

โครงการ White Hat Hacking for security 2022 ได้รับเกียรติจาก นางสาวสุชนา สินธวถาวร รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ และ ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และความมั่นคง เป็นประธานในพิธีกิจกรรม Capture the Flag ณ อาคารมหาวชิรุณหิศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.รตินันท์ บุญเคลือบ หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เห็นความสำคัญในกิจกรรมดังกล่าว จึงร่วมสนับสนุนสถานที่การจัดกิจกรรม Capture the Flag ครั้งนี้ขึ้น

สำหรับโครงการในปีนี้ ได้เพิ่มการทดสอบความรู้ขั้นพื้นฐานก่อนเริ่มเรียน เพื่อทดสอบระดับความรู้ของบุคลากรในด้าน Cybersecurity และหากบุคลากรท่านใดที่ไม่ผ่านการทดสอบ จะมีการปูพื้นฐานให้ใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนอย่างสูงสุด ทั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ผ่านระบบ online ในรูปแบบเกมมิ่งผ่านแพลตฟอร์ม Gather Town ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้สะดวก ง่าย ไม่รู้สึกเบื่อ และยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนท่านอื่น และอาจารย์ได้เสมือนกับเรียน offline ทั้งยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้มีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียนที่กรุงเทพมหานคร นับเป็นการเปิดโอกาสสู่ภูมิภาคเป็นอย่างดี

ซึ่งกิจกรรมนี้ได้เริ่มจัดตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2565 ถึง 16 ตุลาคม 2565 โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมถึง 142 คนจากทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ และในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีกิจกรรมการแข่งขันทดสอบด้านการเจาะระบบ (Penetration Testing) Capture The flag โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ การแข่งขันของทีมโจมตี (Red Team) และทีมป้องกัน (Blue Team) ในการแข่งขันครั้งนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัลของทีมป้องกัน ประกอบด้วย

รางวัลชนะเลิศ คุณพัชระสิทธิ์ พรสกุลศักดิ์
รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณเอกณัฏฐ์ อเนกเจริญวณิช
รองชนะเลิศอันดับ 2 คุณนนท์รวิศ ชมชื่น

ผู้ที่ได้รับรางวัลของทีมโจมตี ประกอบด้วย
รางวัลชนะเลิศ คุณโสภณ ตั้งปทุม
รองชนะเลิศอันดับ 1 คุณบวรทัต ทรัพย์ทวีวศิน
รองชนะเลิศอันดับ 2 คุณอรุณ ลิ้มวงศ์เจริญสุข

สำหรับท่านที่สนใจโครงการด้านการพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัล สามารถติดตามสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ หรือ ต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ติดตามได้ทางเพจของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

ขอขอบคุณสำนักข่าวมติชนออนไลน์ และสำนักข่าว MGR Online
https://www.