เจาะมุมมองการเลือก Tech Stack สำหรับสตาร์ทอัพยุคใหม่กับ RentSpree

เจาะมุมมองการเลือก Tech Stack สำหรับสตาร์ทอัพยุคใหม่กับ RentSpree
แน่นอนว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ต้องมีเครื่องมือเทคโนโลยีมาช่วยเป็นแกนหลักของบริษัท และนั่นก็ทำให้ Tech Stack หรือชุดของเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา

 

ทั้งนี้ Tech Stack ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจหรือสินค้าของเราพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักและก้าวนำคู่แข่งได้ ทั้งยังช่วยลดภาระงานของเราให้น้อยลง และจัดการงานต่างๆ ของคนในทีมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย สตาร์ทอัพหลายๆ แห่ง จึงมักเสาะหาและใช้เวลาในการเลือกใช้ชุดเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ให้เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อให้การขับเคลื่อนธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมดำเนินควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

สำหรับบทความนี้ คุณพศวีร์ เวชพาณิชย์ CTO ของ RentSpree ซึ่งเป็น Prop-Tech Startup ฝีมือคนไทย ที่ไปเจาะตลาดในสหรัฐอเมริกา มาเล่าถึง Tech Stack ที่บริษัทเลือกใช้งาน รวมถึงความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจว่าควรเลือกเทคโนโลยีแบบไหนหรือเลือกอย่างไรให้เข้ากับองค์กร

 

RentSpree เป็นสตาร์ทอัพที่พัฒนาแพลตฟอร์มการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเจ้าของอสังหาฯ, ตัวแทนให้เช่า (นายหน้า), และผู้เช่า โดยให้บริการตั้งแต่ตรวจสอบประวัติผู้เช่าบ้าน หรือที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ จนไปถึงขั้นตอนการทำสัญญา และชำระค่าเช่าบ้าน และเมื่อปลายในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้รับเงินลงทุน ในรอบ Series A จากกลุ่มนักลงทุนนำโดย 645 Ventures มูลค่ากว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 250 ล้านบาท

คุณพศวีร์ เล่าว่า Tech Stack ถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ เพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทสร้างธุรกิจ สินค้าหรือการบริการออกมาได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วสตาร์ทอัพแต่ละแห่งไม่จำเป็นต้องมี Tech Stack ชุดเดียว แต่สามารถเปลี่ยนชุดเทคโนโลยีได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ Product หรือ Business Goal ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Facebook ที่ตอนเริ่มต้นก็ใช้ PHP ที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่หลังจากนั้นก็มีการย้ายไปใช้ Big Data เมื่อมีฐานผู้ใช้งานมากขึ้นจนเทคโนโลยีแบบเดิม ไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไป

 

เงื่อนไขอื่นๆ ของการเลือก Tech Stack  มีอีกหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายทางธุรกิจในช่วงเวลาที่เลือก, กลุ่มเป้าหมายของทีมงานที่กำลังสร้าง, วัฒนธรรมองค์กร, หรือแม้กระทั่วตัวสินค้าหลักที่จะสร้างเป็นอะไร

คำแนะนำสำหรับสตาร์ทอัพช่วงตั้งบริษัทแรกๆ คือเลือกใช้ Tech Stack ในสิ่งที่ทีมงานมั่นใจว่าจะสร้าง  Product ออกมาได้เร็วที่สุด ทำ Product เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้ได้ก่อน แต่ในระยะหลังจากนั้น เงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาคือการขยายทีม การเลือก Tech Stack ที่มีความนิยมอยู่แล้วในตลาด ทำให้หาทีมงานได้ง่ายขึ้น

 

RentSpree เลือกใช้ Frontend เป็น React และ Backend เป็น Node.

Life @ Wing Develop

Life @ Wing Develop
ปีกแห่งอิสระ วัฒนธรรมองค์กรแห่งความไว้ใจ

            ทุกคนรู้ แฟนคลับรู้ โปรแกรมเมอร์แปลว่าทำงานแบบมีพันธะ  มีพันธะแปว่าไม่อิสระ ฉันไม่ยอมตกเป็นทาสของคุณหรอกค่ะ....ไม่จริง! ถึงแม้ว่าการทำงานของโปรแกรมเมอร์ในภาพที่เราคิดอาจจะเป็นภาพของกลุ่มคนที่ตั้งหน้าตั้งตาจ้องหน้าจอที่ปรากฏภาษาที่คนทั่วไปยากจะเข้าใจ ต้องทำงานร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะว่ามีการนำแต่ละส่วนมาประกอบกันในตอนท้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานแสนประทับใจชิ้นหนึ่งที่พร้อมจะส่งไปให้กับลูกค้า จึงจำเป็นต้องมีที่ทำงานเป็นหลักแหล่งเพื่อที่ทุกคนจะสามารถประสานงานกันได้อย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้นเลยกับ Wing Develop สตูดิโอสำหรับโปรแกรมเมอร์ไฟแรงที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อให้ทุกที่บนโลกคือที่ทำงาน

Wing Develop

            คือ Develop Studio ขนาดไม่ใหญ่มาก โดยการนำของ ภควัฒน์ บุญยัง หรือที่หลายคนเรียกว่า อาจารย์แมค CEO ประจำบริษัท Wing Develop และเป็นผู้สอน ด้านการเขียน Java script แห่ง CodeCamp ที่สนับสนุนโดย Software Park Thailand และสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย นอกจากนี้ยังได้รับโอกาสเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย  ซึ่ง Wing Develop มีความพิเศษด้านวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมือนใคร เรียกได้ว่าติดปีกให้กับพนักงานทุกคนตามชื่อเลยทีเดียว

ปีกแห่งอิสระในการทำงาน: ที่ทำงานที่ไม่ใช่ออฟฟิศ และออฟฟิศที่ไม่ใช่ที่ทำงาน

            “ผมเชื่อว่าคงไม่มีบริษัทไหนที่ให้พนักงานเอาเบียร์ขึ้นมาดื่มในเวลาทำงานใช่มั้ยครับ?”

            “คุณอาจจะเห็นได้ที่ออฟฟิศเรานี่แหละ”

            ที่ Wing Develop พนักงานทุกคนมีอิสระและสามารถเลือกทำงานที่ไหนก็ได้บนโลก เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าหากถึงเวลาที่ต้องมีงานส่งก็ควรจะได้งานที่สมบูรณ์ อิสรภาพดังกล่าวนี้มาจากความเข้าอกเข้าใจอย่างลึกซึ้งของ CEO อย่างอาจารย์แมค เนื่องจากตัวอาจารย์เองก็เคยเป็นพนักงานของบริษัทต่าง ๆ มาก่อน ดูแลโปรเจกต์ต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน และเข้าใจเป็นอย่างดีว่าในฐานะโปรแกรมเมอร์นั้น ตนต้องการสภาพแวดล้อมและรูปแบบการทำงานแบบไหนที่จะเอื้อต่อการทำงานมากที่สุด เขาจึงเลือกการบริหารแบบ Country Club Style หรือการบริหารที่ค่อนข้างหละหลวมและให้อิสระพนักงานในการจัดการภาระงานของตัวเอง ออฟฟิศจึงเป็นเหมือนสถานที่ที่พนักงานทุกคนมาเพื่อพบปะพูดคุยกันเสียมากกว่า

            แต่เราทราบก็กันดีว่าการทำงานรูปแบบนี้เป็นดาบสองคม เพราะอาจทำให้ไม่เกิดงานเลยก็ได้หากให้อิสระกับพนักงานมากเกินไป  แต่ที่ Wing  Develop แทบไม่เกิดปัญหานั้นเลย เป็นเพราะอะไร?

ปีกที่พยุงกันและกันด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ: การจัดการทรัพยากรบุคคลภายบนพื้นฐานของความเกื้อกูล

            “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นคำพูดนามธรรมที่จับต้องไม่ได้เลย แต่ที่ Wing มันกลับมีน้ำหนักอย่างชัดเจน และมีมากพอที่ทำให้ทุกโปรเจกต์ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จอย่างลุล่วงโดยที่แทบจะไม่มีข้อผิดพลาด พนักงานของ Wing รวมถึงตัวผู้บริหารอย่างอาจารย์แมคเองใช้คำนี้เป็นหลักในการทำงาน และเพราะคำคำนี้เองที่ทำให้บริษัทนี้ทำงานได้อย่างมีความสุข

            ที่บริษัทมีหลักสำหรับพนักงานในการทำงานร่วมกันอยู่ 3 ข้อ

หากใครสักคนก่อความผิดพลาด จะไม่มีการด่ากันให้เกิดความขัดข้องหมองใจ
กล้าที่จะพูดกับเพื่อนร่วมงานในกรณีที่ตนเองพบปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หรือขาดทักษะ
ช่วยเหลือกันให้ถึงที่สุด

            จากทั้งสามข้อจึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดพนักงานจึงทุ่มเทให้กับงานที่ตนเองได้รับอย่างเต็มกำลัง เพราะความไว้เนื้อเชื่อใจไม่ใช่แค่คำพูดลอย ๆ แต่กลืนกับวัฒนธรรมองค์กรจนเป็นเนื้อเดียวกัน ในฐานะพนักงานคนหนึ่งเราสามารถสัมผัสได้ถึงความช่วยเหลือเกื้อกูลได้จากหลักปฏิบัติดังกล่าวแล้ว และนอกจากนั้นยังสัมผัสได้ถึงความเหนียวแน่นประหนึ่งเป็นครอบครัวที่ทุกคนหวังดีแก่กันมากกว่า

            นอกจากหลักปฏิบัติที่กล่าวถึงไป อีกสิ่งสำคัญที่บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากคือ การสื่อสาร อาจารย์เชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่ชำนาญและทุกคนมีโอกาสที่จะผิดพลาด ฉะนั้นการสื่อสารภายในองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการสื่อสารนี่เองที่จะช่วยให้ทุกคนเห็นภาพของปลายทางตรงกัน ลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการทำงาน และเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันด้วย

            อย่างไรก็ดีวัฒนธรรมที่โดดเด่นของ Wing Develop ไม่ได้มีเพียงแต่เรื่องของการจัดการบุคคลแต่ยังมีแนวคิดเรื่องการจัดการกับเนื้องานอย่างมีคุณภาพอีกด้วย

ปีกแห่งความจริงใจและวิสัยทัศน์ในการทำงาน: รู้จักประมาณตนและซื่อสัตย์ต่อตนเอง

            “เราจะรับงานเท่าที่เราทำไหวตามทรัพยากรที่เรามี และเราตอบลูกค้าอย่างจริงใจเสมอหากเราไม่สามารถรับงานที่เสนอมาได้จริง ๆ”

            การประเมินความสามารถของทรัพยากรที่ตนเองมีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้การทำงานในบริษัทไม่อยู่ในความกดดันมากเกินไป และที่สำคัญกว่านั้นอาจารย์ให้ความสำคัญในเรื่องของ Gap ช่องว่างหรือเวลาว่างที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เพื่อที่รุ่นพี่หรือคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของตนเองสำเร็จแล้วได้สอนงานรุ่นน้อง อาจารย์แมคกล่าวว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การสอนงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นปัญหาลูกโซ่ที่บั่นทอนกำลังใจในการทำงานสายนี้ “หากรุ่นน้องทำไม่ได้ก็จะถูกรุ่นพี่ต่อว่า และน้องก็จะบอกว่ารุ่นพี่ไม่สอนงาน หัวหน้าก็จะลงมาต่อว่ารุ่นพี่ที่ไม่สอนงาน และรุ่นพี่ก็จะถามกลับไปที่หัวหน้าว่าจากงานที่มอบหมายมาให้แล้ว เขาจะมีเวลาให้สอนขนาดไหนล่ะ” กลายเป็นว่ามันไม่ใช่ปัญหาของใครสักคนแต่เป็นปัญหามาตั้งแต่ผู้บริหารแล้ว ฉะนั้นข้อดีของบริษัท Wing Develop ซึ่งมีขนาดเล็กจะช่วยให้รุ่นพี่รุ่นน้องหรือแม้แต่ผู้บริหารเองสามารถเข้าถึงกันได้ง่ายและสอนงานกันได้ง่ายนั่นเอง แต่ช่องว่างดังล่าวที่จะนำมาใช้สอนงานมันมาจากไหน?

            “เราต้องมองภาพให้ขาดแล้วสับย่อยให้ละเอียดก่อนที่จะมอบหมายให้กับพนักงาน”

            ภาพดังกล่าวคือตัวเนื้องานนั่นเอง นี่คือทักษะสำคัญของผู้บริหารด้านโปรแกรมมิ่งที่อาจารย์แมคพูดถึง กล่าวคือผู้บริหารต้องมองภาพให้ออกทั้งหมดว่าโปรเจกต์ที่รับมานั้นต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างในการดำเนินการอย่างถี่ถ้วนเพื่อที่จะได้ผลลัพธ์สุดท้าย และแบ่งมันออกมาเป็นงานย่อยให้ได้ก่อนที่จะมอบหมายมันออกไปแก่ลูกน้อง ฉะนั้นช่องว่างที่เกิดขึ้นก็มาจากการที่ลูกน้องสามารถจัดการกับงานย่อยนั้นสำเร็จลุล่วงแล้วนั่นเอง อย่างไรก็ตามการที่จะมองภาพให้ขาดก็ต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝนทำงานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นก็คือที่มาของการสอนงานนั่นเอง

            แล้วความซื่อสัตย์กับลูกค้าเกี่ยวข้องอย่างไร? การที่ซื้อสัตย์กับลูกค้าเนื่องจากทราบศักยภาพของตนเป็นอย่างดี คือปัจจัยหลักที่ช่วยให้แบ่งงานย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการดำเนินงาน และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญและน่าเชื่อถือในการจัดการกับเนื้องานที่ได้รับให้กับลูกค้าได้อีกด้วย

อยากติดปีกบินไปกับ Wing Develop ด้วยต้องทำอย่างไร

            เรามีพนักงานน้อย แต่หากจะรับคนเพิ่มเราก็อยากจะมั่นใจว่าเค้าตรงกับ requirement ในแต่ละโปรเจกต์ที่เราเสนอไปขนาดไหน เพราะหากเรารับมาโดยที่รู้ว่าศักยภาพของเขาไม่สามารถทำงานที่เรามอบหมายให้ได้เท่ากับว่าเรารับคนเข้ามาทรมาน และนอกจากนั้นมันก็จะบีบคั้นจนเค้าไม่มีความสุข ในการทำงานเลย

            เคยเจอกรณีที่รับเข้ามาแล้วเขาสู้ไม่ไหวเหมือนกัน แต่เราก็ให้ความช่วยเหลือจนถึงที่สุด ให้รุ่นพี่เข้มข้นกับการสอนงานให้ หรือแม้กระทั่งซื้อคอร์สให้เรียนเพิ่มเติม ถ้าเขายังทำไม่ได้ ตัวเขาเองจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหรือจะเดินออกไป เราไม่เคยไล่ใครออกหรือเคยแบล็กลิสต์ใครมาก่อน แต่ถ้าออกไปแล้วไปฝึกฝนทักษะจนชำนาญและมีความพร้อมที่จะทำงานต่อไปจริง ๆ เราก็พร้อมจะรับเขากลับเข้ามาทำงานใหม่เหมือนกัน แต่ที่สำคัญคือเราต้องพิจารณาอีกทีว่าทักษะที่เขามีมันตรงกับ requirement ที่เรากำหนดไว้จริง ๆ

            ฉะนั้นหากต้องการจะเตรียมตัวเพื่อเข้ามาสมัครทำงานกับเรา อาจารย์แมคแนะนำว่าให้ฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอจนมีทักษะเพียงพอและพร้อมต่อ requirement ที่บริษัทประกาศออกไป สิ่งหนึ่งที่อยากให้พกมาด้วยคือทัศนะคติที่สู้งาน เพราะหากจะพัฒนาตนเองต่อหรือกังวลว่าจะสร้างความผิดพลาด มันไม่ใช่ปัญหาสำหรับบริษัทที่ขนาดเล็กที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจและมีการดูแลกันแบบนี้เลย

โอกาสดีๆมาถึงแล้ว !

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.

Life @ CodeKit

Life @ CodeKit

พูดคุยกับผู้ปฏิวัติการเขียนโค้ด เริ่มได้ตั้งแต่วัยมัธยม

            เมื่อไม่กี่ปีมานี้ คุณอาจจะเคยได้ยินว่ากระทรวงศึกษาธิการได้ปรับหลักสูตรการศึกษาใหม่ในประเด็นเรื่อง “การเพิ่มวิชาการเขียนโปรแกรมลงไปในหลักสูตรของเด็กประถมและมัธยม” ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายที่เกิดขึ้น ผู้ก่อตั้ง CodeKit คุณไพบูลย์ พนัสบดี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงได้ริเริ่มสร้างรูปแบบการเรียนการสอนโค้ดสำหรับเด็กไทยขึ้น ในบทความนี้ Software Park CodeCamp จะพาไปพูดคุยกับคุณไพบูลย์ พนัสบดี ผู้ก่อตั้ง CodeKit องค์กรที่ทำให้การเรียนการสอนสำหรับเด็กนักเรียนง่ายขึ้น ในหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร และตำแหน่งงานต่าง ๆ ในสายไอทีอันเป็นโอกาสของคนทำงานไอทีในไทยให้เข้ามาสมัครกัน

รู้จัก CodeKit

            จุดเริ่มต้นของ CodeKit เริ่มมาจากการที่คุณไพบูลย์ได้เป็นผู้สอนเรื่อง React ที่ Software Park CampCamp#1 และค้นพบว่าในต่างประเทศมีเว็บไซต์อินเทอร์แอคทีฟสำหรับการเขียนโค้ดทำให้การเขียนโค้ดเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่เมื่อนำมาใช้สอนจริง ก็พบปัญหาด้านภาษา ผู้เรียนค่อนข้างใช้เวลามากในการแปลข้อความต่าง ๆ ร่วมกับการประกาศนโยบายของกระทรงศึกษาธิการเรื่อง “การเพิ่มวิชาการเขียนโปรแกรมลงไปในหลักสูตรของเด็กประถมและมัธยม” เมื่อลองค้นคว้าการเรียนการสอนวิชาการเขียนโปรแกรมในโรงเรียนก็ค้นพบว่าการเรียนการสอนยังขาดเครื่องมือที่จะช่วยให้ครูจัดการสอนได้ง่ายขึ้นและนักเรียน เรียนได้อย่างเข้าใจเห็นภาพมากขึ้น ทั้งสองเหตุผลนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิด “CodeKit Innovation เว็บไซต์สอนเขียนโค้ดออนไลน์แบบอินเทอร์แอ็คทีฟโดยคนไทยเพื่อคนไทย”

Life @ CodeKit 

            หลายบริษัทอาจประสบปัญหาต้องปรับตัวกับการ “Work from Home” จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แต่ที่ CodeKit การทำงานที่บ้านเป็นสิ่งที่บริษัททำมาอย่างยาวนาน ทำให้ไม่ถูกกระทบในเรื่องของระยะเวลาการทำงาน สาเหตุที่ตัดสินใจให้พนักงานทุกคนทำงานที่บ้านตั้งแต่แรก เพราะด้วยลักษณะการทำงานของโปรแกรมเมอร์ที่ว่า “ทำงานกลางคืน นอนเช้า ตื่นสาย” หากเวลามาทำงานก็จะเป็นการเข้างานสายเลิกงานค่ำ ดังนั้นเพื่อปรับให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีโปรแกรมเมอร์จึงปรับให้เป็นการทำงานแบบ Work from Home ตั้งแต่แรก

15 (mins) Daily Scrum a day, keep problems away

            การทำงานแบบ Work from Home ตลอด ทำให้ CodeKit ได้นำ Agile และ Scrum มาปรับใช้ ที่น่าสนใจมากคือ ในทุกวัน ทีมงานจะมีการโทรประชุมออนไลน์  เรียกว่า “Daily Scrum (15 นาที)” เพื่ออัพเดทข้อมูลทั้งหมด 3 ประเด็น ได้แก่ (1) เมื่อวานทำอะไรไปแล้วบ้าง? (2) ในตอนนี้กำลังจะทำอะไรต่อไป? และสุดท้าย (3) ติดปัญหาอะไรตรงไหน? ซึ่งกุญแจสำคัญให้การประชุมแบบนี้คือต้องคุมเวลาทั้งหมดให้ไม่เกิน 15 นาทีให้ได้ เพื่อป้องกันการเบื่อและลดโอกาสของการไม่เข้าประชุม

การทำงานแบบ Work from Home ทำให้งานเยอะขึ้น?

            คำถามนี้คงเกิดขึ้นในใจของใครหลายคน แท้จริงแล้วในบางบริษัทอาจเกิดจากการเคยชินกับการทำงานที่มีเวลากำหนด เช่น เข้างานแปดโมงเช้าเลิกห้าโมงเย็น  แต่เมื่อเป็นการทำงานที่บ้านสัญญาณเตือนการเลิกงานหายไป ทำให้รู้สึกว่าระยะเวลาการทำงานนั้นเพิ่มมากขึ้น

            มีความคิดเห็นจากพนักงานในหลายองค์กรว่าต้องการกลับไปทำงานที่บริษัทเช่นเดิม ในทางตรงกันข้าม CodeKit เคยปรับการทำงานให้มีการเข้าออฟฟิสและมีเวลาเข้าออกงานตามแบบฉบับของบริษัททั่วไป ผลกลับกลายเป็นว่า พนักงานของ CodeKit ชื่นชอบการทำงานที่บ้านมากกว่า เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงกว่านั่นเอง

หากข้องใจ อยากทดลองอะไร ไปลองทำดู

            การทำงานในสายงาน IT นั้น อาจจะต้องทำงานในหน้าที่เดิมซ้ำไปซ้ำมา จึงทำให้เบื่อและขาดแรงจูงใจได้ และ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ CodeKit ได้นำวิธีการแก้ปัญหาจากองค์กรเทคโนโลยีชื่อดังใน Silicon Valley มาปรับใช้ โดยการแบ่งเวลาให้พนักงานไปทดลองทำงานในตำแหน่งหรือส่วนที่ตนเองอยากลองทำ เพื่อทำให้พนักงานไม่คาใจและไม่เบื่อ โดนจะแบ่งเวลาได้ 20% หรือก็คือ 1 วัน จากทั้งหมด 5 วัน

ทักษะเป็นต่อ ทัศนคติเป็นต่อกว่า

            ทักษะความชำนาญในการทำงานย่อมเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในการพิจารณาเลือกเข้าทำงาน อย่างไรก็ตาม “ทัศนคติ” กลับเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า หากมีทักษะมาก แต่มีทัศนคติในแง่ลบมาก ย่อมส่งผลให้คนที่มีความสามารถไม่โดนเด่น แต่มีทัศนคติที่ดีสามารถพัฒนาได้ “เป็นต่อกว่า”

CodeKit ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรให้ความสำคัญกับทัศนคติอย่างมาก ทุกคนที่เข้าทีมจะต้องมีความสามัคคี อยู่ร่วมกันได้ไม่เกิดปัญหา “ไม่คิดจะเก่งคนเดียว แต่พร้อมที่จะเก่งไปด้วยกัน” เมื่อเกิดปัญหาพร้อมที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาโดยไม่โทษผู้อื่น และมีเรื่องยึดถือสำคัญก็คือเรื่อง “การกล้าที่สื่อสาร” เช่น การกล้าที่จะสื่อสารว่าตอนนี้งานที่กำลังทำเกิดปัญหา เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือได้ทันโดยไม่ทำให้กระบวนการทำงานทั้งหมดช้าลง

โอกาสมี อย่ารอช้า!

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://codekit.

Life @ KBTG

Life @ KBTG

เปิดอกคุยกับองค์กรที่อยู่เบื้องหลัง K PLUS แอพพลิเคชั่นที่มี Active User มากกว่า 10 ล้าน User

คนไทยคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมผ่านทางมือถือกันเป็นอย่างดี แน่นอนว่า “K PLUS” ก็เป็นแอพพลิเคชั่นทำธุรกรรมของธนาคารกสิกรไทยที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ของประเทศ ยิ่งช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ทุกคนได้ Work From Home อาจจะยิ่งทำให้เราช้อปปิ้งหนักขึ้น จนใช้ต้องโอนเงินซื้อของหลายครั้งต่อวัน ในบทความนี้ Software Park CodeCamp จะพาไปพูดคุยกับ KASIKORN Business - Technology Group หรือ KBTG บริษัทผู้อยู่เบื้องหลังแอป K PLUS รวมถึงระบบอื่น ๆ อีกมากมายที่คนไทยคุ้นเคย เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร และตำแหน่งงานใหม่อันเป็นโอกาสของคนทำงานไอทีในไทยให้เข้ามาสมัครกัน

รู้จัก KBTG

KBTG เป็นบริษัทที่แยกตัวออกจากธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งเป็นบริษัท IT Solution ที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมในการทำธุรกิจที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ของธนาคารเท่านั้น เช่น K PLUS แอพพลิเคชั่นสำหรับทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านมือถือของธนาคารกสิกรไทย ทำเทคโนโลยี Block Chainที่ได้ยินกันอย่างหนาหูในเวลานี้ ทำ Chatbot สำหรับตอบกลับอัตโนมัติ ทำระบบ AI และ ระบบ Cloud นอกจากนี้ยังทำ Innovation Unit อื่น ๆ อีกมากมาย

มีโอกาสสำหรับเด็กจบใหม่ที่อยากทำงานไม่ตรงสายเสมอ

ที่ KBTG มีโครงการ “KBTG Intensive Program (KIP)” เปิดโอกาสให้เด็กจบใหม่หรือคนที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากที่มีความสนใจเฉพาะ หรือ สนใจในด้านธุรกิจและเทคโนโลยี มาทำงานในสาย Business Analyst และ Project Manager โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเลือกได้อย่างอิสระว่าต้องการทำสายใดมากกว่า หรือ อย่างทำทั้งสองสายพร้อมกัน ระยะเวลาในโครงประมาณ 2 ปี ซึ่งในช่วงระหว่าง 2 ปีนั้น ผู้เข้าโครงการจะได้ หมุนเปลี่ยนงาน (Job Rotation) ไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น โดยขึ้นอยู่กับความสมัครใจและความสนใจของเรา นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังมี “โค้ชประจำตัว”คอยให้คำปรึกษา ติดตามงานต่าง ๆ รวมถึง มีการเทรนนิ่งในส่วนที่เราอยากรู้เพิ่มเติมทั้ง Soft Skill และ Tech Skill

Life @ KBTG     

            ภาพในหัวของใครหลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่าองค์กรใหญ่จะต้องมีกฎระเบียบเคร่งครัด มีการนับถือความอาวุโส เข้าออกงานตรงเวลาเป๊ะ ตามแบบแผน แต่ที่ KBTG ไม่ได้เป็นแบบนั้น ด้วยความที่องค์กรเป็นองค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยีทำให้เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบและหน้าที่

“พนักงานสำคัญที่สุด” ที่ KBTG พนักงานทุกคนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมทีมทำโปรเจคหรือแม้แต่ตำแหน่งใดก็ได้ที่ตนเองสนใจเมื่อตัวเราและทีมแมตช์กัน เป็นการเปิดโอกาสให้พนักงาน “Explore” ทุกอย่างที่ตนอยากรู้ เพราะหัวใจสำคัญอีกอย่างนึงที่ KBTG เชื่อคือ “ข้อผิดพลาดคือการเรียนรู้” ทำให้ตอนที่พนักงานทำผิดพลาดไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือเป็นเรื่องใหญ่ระดับองค์กรก็จะไม่มีการดุด่าหรือคำพูดในเชิงลบอย่างเด็ดขาด แต่กลายเป็นการสอน การลงมาช่วยเหลืออย่างไม่มีชนชั้น และการแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือ ชี้ทางให้กับพนักงาน ถือได้ว่าทุกครั้งที่เกิดข้อบกพร่อง ทุกคนจะมองไปที่ปัญหา ไม่มองไปที่พนักงาน ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาตั้งแต่บุคลากรไปจนถึงองค์กร

รูปแบบการทำงานที่ปรับได้ตามโปรเจค

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า KBTG มีโปรเจคนับไม่ถ้วนและเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ส่งให้แต่ละโปรเจคสามารถกำหนดเองได้ตามความถนัดและเหมาะสมได้เลยว่า โปรเจคไหนควรเป็น Waterfall โปรเจคไหนควรเป็น  Agile หรืออื่น ๆ ที่สำคัญในบางครั้งการทำในงานอาจจะมีการกำหนดเวลาที่กระชั้นชิด หากทั่วไปแล้วผู้ใต้บังคับบัญชาทำได้เพียงก้มหน้าทำโอทีให้เสร็จให้ได้ แต่ที่ KBTG พนักงานทุกคนคือคนสำคัญ ดังนั้นหากงานส่วนไหนที่ไม่สามารถทำได้ทันจริง ๆ ก็สามารถแจ้งกับหัวหน้าได้ในทันที ไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบการทำงานเท่านั้นที่ปรับได้ แม้แต่ภาษาในการ Programming เองก็สามารถเลือกใช้ได้ตามที่ตัวเองถนัดแบบไม่มีจำกัด

ยกระดับวัฒนธรรมองค์กรสู่ระดับโลก

กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรของ KBTG มีความใกล้เคียงกับองค์กรนวัตกรรมยักษ์ใหญ่ใน Silicon Valley (ศูนย์รวมองค์กรนวัตกรรมที่มีมูลค่ามหาศาลของโลก) จุดที่สามารถเห็นความใกล้เคียงได้ชัดที่สุดคือ “การให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคน” เพราะสำหรับองค์กรนวัตกรรมแล้วขุมทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดก็คือพนักงาน ด้วยเหตุนี้การคัดเลือกบุคคลเข้าองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ทุกคนที่สัมภาษณ์เข้าทำงานที่ KBTG จะต้องสัมภาษณ์กับผู้บริหารระดับสูงอย่างน้อยที่สุด 1 คน เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผู้สมัครมีทัศนคติและบุคลิกภาพ รวมถึง ทักษะ ตรงกับ KBTG หรือไม่

หัวหน้าที่ไม่ใช่หัวหน้า

“โค้ช” คือสิ่งที่หัวหน้าทุกระดับใน KBTG เป็น ดังนั้นทุกคนจึงสามารถออกไอเดียหรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างสบายใจไม่มีการถือความอาวุโสเป็นใหญ่ ทุกคนเคารพสิทธิและความคิดของผู้อื่น เน้นการก้าวหน้าไปด้วยกันไม่ใช่การให้หัวหน้าเดินนำลูกน้องเดิมตาม นอกจากนี้ไม่ว่าพนักงานจะอยากได้อะไร เช่น อุปกรณ์สำหรับการทำงานใหม่ หัวหน้าก็จะจัดหาให้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ภายใต้ดูแลของตน

เป้าหมายคือมุ่งหน้าสู่เวทีโลก

            KBTG เป็นบริษัทของคนไทย ที่มีคนไทยใช้ผลิตภัณฑ์อยู่กว่า 10 ล้านคน ผลงานของ KBTG จึงมี Impact สูง ทั้งยังมีการร่วมมือระหว่างพาร์ทเนอร์ธุรกิจต่างชาติยักษ์ใหญ่มากมากร่วมโปรเจคด้วย ส่งผลให้ KBTG พร้อมที่จะเข้าเป็นผู้แข่งขันในเวทีโลกได้ เพื่อที่จะทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ การรวมรวบคนไทยที่มีความสามารถมาก ๆ จากที่ต่าง ๆ มาเป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทรงประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ภายในองค์กรเองก็ยังมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้กับบุคลากรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คอร์สเรียนภาษาอังกฤษฟรีกว่า 10 ระดับ ชมรมภาษาอังกฤษเพื่อฝึก Public Speaking และภายในองค์กรเองก็มีชาวต่างชาติทำงานอยู่เช่นกัน

แรงดึงดูดให้คนรัก KBTG

พนักงานที่ทำงานที่ KBTG มีความภูมิใจในงานที่ตนเองทำเพราะผลงานที่ได้ทำออกมา มีผู้ใช้มหาศาล มี Impact ต่อประเทศมุ่งสู่เวทีโลก รวมถึง การให้ความสำคัญกับบุคลากรของผู้บริหาร ทำให้โตพนักงานในสาย IT โตได้ไกล และมีการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานที่ KTBG นั้นต่ำมาก

ยังมีที่ว่างกว่า 100 ตำแหน่งรอคุณอยู่ !

หากสนใจอยากร่วมงานกับ KBTG ค้นหาตำแหน่งที่เปิดรับและสมัครได้ที่ https://www.