นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากช่อง 3 ผ่านรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ให้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ สลิปปลอม

นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากช่อง 3 ผ่านรายการเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์ ให้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ สลิปปลอม

นายไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า โปรแกรมดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาบนเว็บเบส โดยการเขียนโค้ด และใช้โปรมแกรมตัดต่อมาประกอบกัน ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็สามารถปลอมแปลงสลิปขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

เช่นเดียวกับนายณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุว่า การทำสลิปปลอม หรือการเขียนโปรแกรมปลอมสลิป ทำได้ไม่ยาก

ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องเรียน จากเจ้าของร้านขายโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ว่า ถูกคนร้ายในคราบลูกค้า ปลอมสลิปหลอกโอนเงินซื้อมือถือ จำนวน 2 เครื่อง มูลค่า 35,200 บาท

พฤติกรรมของคนร้ายรายนี้ จะเข้ามาซื้อโทรศัพท์มือถือในลักษณะเร่งรีบ พยายามรีบปิดการซื้อโดยเร็ว ไม่ค่อยต่อรองราคา จากนั้นจะขอจ่ายเงิน แบบโอนผ่านบัญชีธนาคาร โดยอาศัยจังหวะนี้ปลอมสลิปขึ้นมา ก่อนจะโชว์สลิปให้พนักงานในร้านดู

เจ้าของร้านยอมรับว่า พนักงานของร้านเองก็ไม่รอบคอบ ที่ไม่ส่งสลิปให้เช็คยอดเงินทันทีหลังการซื้อขาย เนื่องจากกำลังให้บริการลูกค้ารายอื่นอยู่ จึงถูกหลอก

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบ ยังพบว่ามีร้านขายมือถือ ย่านบางพลี สมุทรปราการ ถูกคนร้ายรายนี้ ใช้สลิปปลอมซื้อมือถือเช่นเดียวกัน โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค.65 ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหาย 29,900 บาท

ขณะเดียวกัน วานนี้มีการเปิดเผยว่า กลุ่มเฟซบุ๊ก ‘ชุมชนสายเทา Marketing’ มีสมาชิกรายหนึ่ง โพสต์ขายโปรแกรมสำหรับแก้ไขข้อมูลสลิปโอนเงินบนแอปธนาคารในมือถือ โดยโปรแกรมนี้สามารถเปลี่ยนข้อมูลได้ทั้งหมด ตั้งแต่ วันที่ , เวลา, รหัสอ้างอิง, ชื่อบัญชี รับ - โอน และ จำนวนเงิน

เมื่อระบุข้อมูลครบถ้วน ก็กดให้โปรแกรมสร้าง (generate) ภาพสลิปปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมา ก็จะสามารถนำไปใช้ได้ทันที และสลิปที่ออกมานั้นมีลายน้ำ และตอนนี้สามารถทำสลิปปลอมได้แล้ว 2 ธนาคารดัง

จากการสำรวจดูโพสต์ต่างๆ ในกลุ่มเฟซบุ๊กนี้ พบว่ามีอีกหลายโพสต์ที่เปิดขายไฟล์ภาพสลิปโอนเงินปลอม แม้กระทั่งไฟล์ PSD บัตรประชาชน ที่สามารถแก้ไขได้ทุกจุด โดยอ้างว่าเอาไว้ทำการตลาด (ส่วนใหญ่เป็นเว็บพนันออนไลน์)

ส่วนกรณีข้างต้นที่มีการใช้สลิปปลอมซื้อโทรศัพท์มือถือนั้น น่าจะเป็นการตัดต่อ ตัวเลข เพราะมิจฉาชีพจะต้องโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อให้ได้สลิปตัวจริงมา ก่อนจะทำการตัดแปะ เปลี่ยนตัวเลขลงไป สังเกตได้จาก ตัวเลขในสลิปปลอม จะลอยเอียง ไม่ตรงเป็นระนาบเดียวกัน

ทั้งนี้ การตรวจสอบว่าเงินเข้าบัญชีจริงหรือไม่ ทำได้ไม่ยากเพียงแค่เสียเวลาเล็กน้อย แค่สแกน QR CODE บนสลิปโอนเงินแบบ E-Slip สามารถตรวจสอบ ชื่อผู้โอน จำนวนเงิน วันและเวลาที่โอนเงินได้ หากยอดเงินไม่ตรง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นสลิปปลอม และอีกวิธีใช้บริการแจ้งเตือนของธนาคาร ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อมียอดเงินเข้าบัญชี สามารถนำไปเทียบยอดเงินกับสลิปได้

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้ร่วมประชุมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE) และสมาคมการค้าไทยสตาร์ทอัพ (Thai Startup) โดยการหารือในครั้งนี้เน้นไปถึงเรื่องปัญหาการว่าจ้างงานและการคุ้มครองสิทธิ์ผู้พัฒนาในการผลิตซอฟต์แวร์เป็นหลัก

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565
ทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้ร่วมประชุมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE) และสมาคมการค้าไทยสตาร์ทอัพ (Thai Startup)
โดยการหารือในครั้งนี้เน้นไปถึงเรื่องปัญหาการว่าจ้างงานและการคุ้มครองสิทธิ์ผู้พัฒนาในการผลิตซอฟต์แวร์เป็นหลัก

ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รวมถึง Startup ต่างๆ อาจประสบปัญหาไม่ได้รับค่าจ้าง หรือต้องปรับแก้ไขบ่อยครั้งหลังส่งมอบงาน
ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากถึงขั้นฟ้องร้องอาจใช้เวลาหลายปี และอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายข้อหาหมิ่นประมาทได้หากมีการปรึกษากับบุคคลที่สามที่มิใช่ทนายความ ซึ่งความไม่เป็นธรรมตั้งแต่เริ่มขึ้นตั้งแต่เซ็นสัญญาว่าจ้าง แต่ก็ต้องยอมเซ็นสัญญาเพราะบริษัทว่าจ้างเป็นผู้มีอำนาจต่อรองสูง

จากปัญหาที่เกิดขึ้น
สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้เล็งเห็นถึงความไม่เป็นธรรมต่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ จึงได้ร่วมหาทางออกของปัญหาเหล่านี้ ร่วมกับสมาคมสมาคมการค้าผู้ประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัล (DTE) และสมาคมการค้าไทยสตาร์ทอัพ (Thai Startup) เพื่อร่วมประชุม หาทางออกร่วมกันและเบื้องต้นในที่ประชุมมีการเสนอแนะให้ทำ Template Agreement เพื่อเป็นมาตรฐานในการจ้างงานเดียวกัน และใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก จะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถใช้อ้างอิงในการเป็นมาตรฐานหลักของอุตสาหกรรมนี้ได้ต่อไป โดยทั้ง 3 สามคมนี้จะร่วมมือเพื่อหาทางออกของปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และหยุดส่งต่อความไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และสตาร์ทอัพต่อไป

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้จัดงาน Speed Dating Day Offline ที่ Software Park เป็นครั้งที่ 11 หลังนักเรียน Codecamp เรียนจบ มีนักเรียน และมีบริษัทใหญ่ ๆ เข้าร่วม เพื่อรับนักเรียน Codecamp ไปทำงาน

วันที่ 11 กรกฎาคม สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้จัดงาน Speed Dating Day Offline ที่ Software Park เป็นครั้งที่ 11 หลังนักเรียน Codecamp เรียนจบ มีนักเรียนเข้าร่วมงาน 32 คน และมีบริษัทใหญ่ ๆ เช่น ธ.กรุงศรี, เงินติดล้อ, โรงพยาบาลพระรามเก้า, T.N. incorporate มาเข้าร่วมงานเพื่อรับนักเรียน Codecamp ไปทำงาน

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยขอขอบคุณ Software Park ที่ support สมาคมมาตั้งแต่งานถูกจัดขึ้นครั้งแรก ทำให้โครงการดำเนินมาต่อเนื่องถึงครั้งที่ 11 เปลี่ยนคนจากสายอาชีพอื่นเป็นโปรแกรมเมอร์ เปลี่ยนชีวิตมาแล้วกว่า 300 ชีวิต แก้ปัญหาโปรแกรมเมอร์ขาดแคลนอย่างยั่งยืนแท้จริง

ในครั้งนี้มีนักเรียนหลายคนแสดงศักยภาพได้อย่างดีเยี่ยม และมีนักเรียนชั้นม.6 ถึง 4 คนมาเรียนใน camp ครั้งนี้ด้วย ในฐานะที่คุณไพบูลย์ พนัสบดี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยร่วมก่อตั้งโครงการ Codecamp ร่วมกับ คุณกฤษฎา เฉลิมสุข นายกท่านก่อน รู้สึกยินดีที่โครงการเดินทางมาได้ไกลและยั่งยืนขนาดนี้ และทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยมุ่งมั่นจะพัฒนาบุคลากรในด้านอื่น ๆ ต่อไปเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการต่อสู้กับนานาชาติด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในเวทีโลกได้

ทีดี ตะวันแดง ตามหา Dev ร่วมทีมลุยภารกิจดันโชห่วยไทยให้รุ่ง มุ่งสู่ World-class Retail Platform ในงาน TD Tech Virtual Walk-in Interview พร้อมโชว์เบื้องหลังความสำเร็จ “ถูกดี มีมาตรฐาน” โต 10x ด้วย ‘TD Tech’ 

 

Digital Transformation กลายเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญที่ทุกหน่วยงานและองค์กรต้องเรียนรู้และปรับตัวให้ทันในยุค New Normal สิ่งที่ช่วยลดช่องว่างและเพิ่มสปีดในการพัฒนาองค์กรและคน นั้นคือ “เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ทำให้นักพัฒนา Developer (Dev) จึงมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ หรือ สร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ ให้กับองค์กรและลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมและธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจระดับชุมชน อย่าง “โชห่วย” ที่ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง ผ่านการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งบนสนามเศรษฐกิจระดับชุมชนและอยู่เป็นเสน่ห์คู่ชุมชนไทยต่อไปในอนาคต 

นายรุจ อัครพณิชสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด กล่าวว่า “ร้านโชห่วย นับเป็นเสน่ห์ที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าที่ไหนมี ‘ชุมชน’ ที่นั้นย่อมต้องมี ‘โชห่วย’ ทุกพื้นที่ แต่ยิ่งนานวันเข้าร้านโชห่วยเหล่านี้กลับถูกลดบทบาทลงด้วยสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เสน่ห์ที่เคยมีก็ถูกลดทอนน้อยลง คำถามคือทำไมถึงไม่มีใครเข้ามาช่วยยกระดับและสร้างการเรียนรู้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ให้กับโชห่วยให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาดได้ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ คุณเสถียร เศรษฐสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด ได้ลุกขึ้นมาปลุกปั้นโมเดลธุรกิจ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ ให้กับโชห่วยไทย จนปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 3 ปี พิสูจน์ผลสำเร็จของการดำเนินงานได้จากการเติบโตของบริษัทแบบ 10X จำนวนสาขาที่ขยายตัวทั่วประเทศไทยมีมากกว่า 3,500 สาขา ณ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยตั้งเป้าปลายปี 2565 ไว้ที่ 20,000 สาขา และร้านโชห่วยที่เข้าร่วมมียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 200% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก Features ใหม่ๆ เช่น Pre-Order เป็นการเพิ่มช่องทางขาย รวมถึงระบบ Membership  ที่ลูกค้าสามารถสะสมแต้มและนำแต้มเป็นส่วนลดและสินค้าที่ร่วมรายการที่สาขาใดก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ทำให้โชห่วยสามารถปรับตัวให้เทียบเท่ากับการแข่งขันในระดับชุมชนได้ นั่นคือ กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดของ  ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ และ การอัพสกิลเจ้าของร้านโชห่วยเข้าสู่โลกดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยีของบริษัทฯ โดยทีม ‘TD Tech’ หน่วยงานที่รวมตัวเหล่าคน Dev ไทย เพื่อออกแบบแพลตฟอร์มให้กับคนไทยได้ใช้งานได้ง่ายๆ เข้าใจและตอบสนองโจทย์ความต้องการโดยเฉพาะ ด้วยการใช้องค์ความรู้และมาตรฐานระดับสากล” 

เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ และความสำคัญของ ‘TD Tech’

ทำไมทั่วโลก ถึงมองว่า Dev คือ Solution ของยุค  New Normal นั้นเพราะ “เทคโนโลยี” กลายมาเป็นกุญแจหลักในการปรับตัวในด้านธุรกิจ ทั้งการตลาด การซื้อขาย หรือแม้แต่ระบบฐานข้อมูล โปรแกรมต่างๆ และเครื่องมือต่างๆ จะถูกย่อส่วนมาไว้ในมือถือ หรืออุปกรณ์ดิจิตอลเท่านั้น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกองค์กรต้องการ Dev เข้ามาสร้างสรรค์เทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดและแก้ปัญหาให้กับธุรกิจ เช่นเดียวกับ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ ที่ให้ความสำคัญกับ Dev เป็นอันดับหนึ่ง และถือเป็นผู้บุกเบิกในการนำเอาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยเข้ามาช่วยในการจัดการธุรกิจร้านโชห่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเรามีทีม TD Tech ณ ปัจจุบันรวมกว่า 200 ชีวิต เสมือนคอมมิวนิตี้รวมพลคน Dev ในการร่วมกันพัฒนาระบบเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาดูแลตั้งแต่ต้นน้ำกับการออกแบบและเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนา Feature ต่างๆ รองรับโจทย์ความต้องการของโชห่วยโดยมีทีม Tech หลังบ้าน สำหรับการเขียนโปรแกรม เชื่อมต่อและอัปเดตระบบ Supply Management ไปจนทีม Tech หน้าบ้าน กับเครื่อง POS และมือถือต่างๆ ณ ร้านโชห่วยที่ให้ความสำคัญกับ UX/UI ที่ง่ายต่อการใช้งาน หรือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ของโชห่วยอย่าง Font ตัวอักษรที่สามารถปรับขนาดเล็กใหญ่ได้ เป็นต้น รวมทั้งเรื่องระบบ Data เพื่อให้โชห่วยสามารถพัฒนาและแข่งขันในชุมชนได้อย่างเป็นธรรม จนทำให้ ‘ถูกดี มีมาตรฐาน’ ก้าวสู่การเป็นผู้นำและได้รับความเชื่อมั่นทางด้านเทคโนโลยีจากเครือข่ายร้านโชห่วยทั่วประเทศ

Learn – Unlearn – Relearn ไม่หยุดนิ่งเพื่อเพิ่มศักยภาพ Dev 

3 องค์ประกอบหลัก เพื่อเพิ่มศักยภาพทีม Dev ของ TD Tech สู่การสร้างสรรค์โซลูชั่นให้โชห่วยและคนไทยได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ และยกระดับแพลตฟอร์มสู่การเป็น World-class Retail Platform ได้แก่

ด้านเทคโนโลยี จึงนำเทคโนโลยีล่าสุดมาให้ Dev ได้สร้างสรรค์โซลูชั่นใหม่ๆ อาทิ ระบบ Non-Blocking ที่ใช้ Spring Boot ในลักษณะ Reactor ทั้งหมด, การใช้ Database แบบ NoSQL มารองรับการทำงานของระบบ นอกจากนี้ ยังเพิ่มระบบ Data Science อย่าง MongoDB, Elastic Search, Kafka, Big Query, Airflow เป็นต้น ซึ่งเรารันระบบในลักษณะ Container Based และอยู่บน Cloud Native ทำให้สามารถ Scale ระบบได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่า เราใช้ Framework ระดับโลก เพื่อนำมาช่วยให้โชห่วยไทยไปต่อได้แบบไม่สะดุด โดยเอาเทคโนโลยีมาให้ใช้งานง่ายและเดินหน้าธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น 
ด้านแนวคิดการทำงาน เราใช้ Agile Methodology ที่เรียกว่า Scrumban ที่ดึงข้อดีในการใช้ Scrum และ Kanban เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ลื่นไหลและมีความยืดหยุ่น และยังเพิ่มการพัฒนาประสิทธิภาพของ Flow การทำงาน ตั้งแต่การรับงานและส่งมอบงานอย่างต่อเนื่อง ทั้ง Continuous Improvement, Work in Progress (WIP) และ Continuous Delivery เป็นต้น อีกสิ่งที่สำคัญ Dev ในแบบฉบับของ TD Tech จะมีความเชื่อว่า ‘คนสร้าง = คนซ่อม’ ซึ่งตรงนี้จะมีข้อดีที่แตกต่างจากการทำงานใน Enterprise ใหญ่ๆ  คือ มี Ownership กับระบบเต็มที่และได้รู้ว่า สิ่งที่คิดและทำ ผลออกมาเป็นอย่างไร ผ่านการรับ Feedback และ คอมเมนต์จากผู้ใช้งานจริง โดย Dev ที่พัฒนาระบบ จะสามารถเข้าแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ 
ด้านวัฒนธรรมองค์กร TD Tech ให้อิสระกับ Dev ในการทำงานสูง ทุกคนสามารถให้ Feedback ในเรื่องต่างๆ ได้เต็มที่ เกิดเป็น Self-Management และ Self-Improvement ด้วยตัวเอง ทำให้ Dev สามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก นอกจากนี้ การเกิดโอกาสให้แต่ละทีมสามารถ Feedback ฟีเจอร์ต่างๆ ของกันละกันได้ สิ่งนี้ทำให้ทีมเกิดการพัฒนาฟีเจอร์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้เช่นกัน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการ Work-Life-Balance และอิสระในการทำงานแบบ Hybrid ที่ไม่ยึดติดกับการต้องเข้าออฟฟิศทุกวันแบบเดิมๆ รวมไปถึงเปิด Regional Office เพิ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ เสริมทัพสำหรับ Dev ที่อยากทำงานที่เชียงใหม่ไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

เมื่อธุรกิจขยาย ‘TD Tech’ ต้องขยาย เพราะ Dev คือหัวใจสำคัญ 

เป้าหมาย 20,000 สาขาในปี พ.ศ. 2565 และรุกคืบสู่โมเดลระดับ Southeast Asia นับเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ดังนั้น TD Tech ต้องขยายศักยภาพและเพิ่มพลานุภาพของแพลตฟอร์ม มุ่งเป้าหมายสู่การเป็น World-class Retail Platform แต่ความท้าทายสำคัญ คือ การสร้าง Tech Architecture โครงสร้างเทคโนโลยีที่ต้องสามารถรองรับจำนวนโชห่วยหลักหมื่นสาขา ผู้บริโภคนับล้านคน รวมทั้งการออกแบบซอฟต์แวร์ที่ต้องรองรับ Transaction จำนวนมหาศาล ดังนั้นการเลือกใช้ Tech Stack จึงต้องเลือกพัฒนาด้วย Top-technology Edge ที่ตอบรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเสริมทัพเพิ่มทรัพยากร Dev ไทยในทีม TD Tech จำนวนมากขึ้น ทั้ง Data, Platform Support, Engineering, Infrastructure and Cloud, IT Support, Solution Architect, DevOps, Product owner, Back-end, Front-end, QA, Data Science, UX/UI, Android Dev เป็นต้น 

สำหรับใครที่สนใจสามารถสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่  https://www.

คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain – NFT The Power of Hype)

วันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา รองนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย พร้อมด้วยคุณสถาพน พัฒนะคูหา ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีการพัฒนาการเขียนโปรแกรมแห่งอนาคต (Blockchain - NFT The Power of Hype)

โดยการอบรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับนานามหาวิทยาลัยที่มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) มาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) ของสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

แต่เดิมทางสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยได้มีการทำความร่วมมือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อย่างไม่เป็นทางการในรูปแบบของมาตรการเชิงรับ กล่าวคือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามายังสมาคม จึงมีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยต้องการ เช่น การวิพากษ์หลักสูตร, การจัดส่งวิทยากรเพื่อการอบรมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, การจัดส่งวิทยากรเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของนิสิตและนักศึกษา, การเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว, การฝึกงานของนักศึกษา เป็นต้น

สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา รวมถึงการให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นิสิต นักศึกษาและมหาวิทยาลัย จากกิจกรรมที่ผ่านมา จึงต้องการเพื่อปรับมาตรการเป็นเชิงรุก เพื่อร่วมมือกับกลุ่มมหาวิทยาลัยและเข้าถึงกลุ่มนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีการประกาศจัดตั้ง "มาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาการศึกษาและยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (TPA Education) หรือ โครงการ TPA Education" ประจำปี 2564 ด้วยเหตุผลในการสร้างเครือข่ายและสัมพันธ์อันดีของสมาคมร่วมกับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนา ยกระดับองค์ความรู้ทางการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT) สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับนิสิตและนักศึกษา โดยผ่านกิจกรรมความร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของกิจกรรมที่ผ่านมาของสมาคม อาทิช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT), จัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่หรือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตร่วมกัน, จัดส่งวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือประสานกับกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อสนับสนุนทั้งในด้านการเป็นวิทยากรให้กิจกรรมทางการศึกษา หรือการแนะแนวให้กับนิสิตนักศึกษา, ประสานงานเป็นสื่อกลางในการจัดหาสถานที่ฝึกงาน หรือรับสมัครงานกับบริษัทในเครือพันธมิตรของสมาคมให้แก่นิสิตนักศึกษา และความร่วมมือในการจัดกิจกรรมบูรณาการทางการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT), การดำเนินโครงการต่างๆ รวมถึงพัฒนาทักษะ ที่ทางสาขา คณะ มหาวิทยาลัยต้องการหารือเพิ่มเติมตามสมควร เพื่อเป็นรากฐานทางการศึกษาที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป

ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยชั้นนำมากมายที่เข้าร่วมเซ็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน อาทิ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยสยาม, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เป็นต้น

เจาะมุมมองการเลือก Tech Stack สำหรับสตาร์ทอัพยุคใหม่กับ RentSpree

เจาะมุมมองการเลือก Tech Stack สำหรับสตาร์ทอัพยุคใหม่กับ RentSpree
แน่นอนว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ต้องมีเครื่องมือเทคโนโลยีมาช่วยเป็นแกนหลักของบริษัท และนั่นก็ทำให้ Tech Stack หรือชุดของเทคโนโลยี มีความสำคัญต่อธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา

 

ทั้งนี้ Tech Stack ไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจหรือสินค้าของเราพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นทางธุรกิจ ทำให้ธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักและก้าวนำคู่แข่งได้ ทั้งยังช่วยลดภาระงานของเราให้น้อยลง และจัดการงานต่างๆ ของคนในทีมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย สตาร์ทอัพหลายๆ แห่ง จึงมักเสาะหาและใช้เวลาในการเลือกใช้ชุดเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ให้เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อให้การขับเคลื่อนธุรกิจและการสร้างนวัตกรรมดำเนินควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

สำหรับบทความนี้ คุณพศวีร์ เวชพาณิชย์ CTO ของ RentSpree ซึ่งเป็น Prop-Tech Startup ฝีมือคนไทย ที่ไปเจาะตลาดในสหรัฐอเมริกา มาเล่าถึง Tech Stack ที่บริษัทเลือกใช้งาน รวมถึงความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจว่าควรเลือกเทคโนโลยีแบบไหนหรือเลือกอย่างไรให้เข้ากับองค์กร

 

RentSpree เป็นสตาร์ทอัพที่พัฒนาแพลตฟอร์มการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเจ้าของอสังหาฯ, ตัวแทนให้เช่า (นายหน้า), และผู้เช่า โดยให้บริการตั้งแต่ตรวจสอบประวัติผู้เช่าบ้าน หรือที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ จนไปถึงขั้นตอนการทำสัญญา และชำระค่าเช่าบ้าน และเมื่อปลายในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้รับเงินลงทุน ในรอบ Series A จากกลุ่มนักลงทุนนำโดย 645 Ventures มูลค่ากว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 250 ล้านบาท

คุณพศวีร์ เล่าว่า Tech Stack ถือว่าเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ เพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทสร้างธุรกิจ สินค้าหรือการบริการออกมาได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วสตาร์ทอัพแต่ละแห่งไม่จำเป็นต้องมี Tech Stack ชุดเดียว แต่สามารถเปลี่ยนชุดเทคโนโลยีได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของ Product หรือ Business Goal ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Facebook ที่ตอนเริ่มต้นก็ใช้ PHP ที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่หลังจากนั้นก็มีการย้ายไปใช้ Big Data เมื่อมีฐานผู้ใช้งานมากขึ้นจนเทคโนโลยีแบบเดิม ไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไป

 

เงื่อนไขอื่นๆ ของการเลือก Tech Stack  มีอีกหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายทางธุรกิจในช่วงเวลาที่เลือก, กลุ่มเป้าหมายของทีมงานที่กำลังสร้าง, วัฒนธรรมองค์กร, หรือแม้กระทั่วตัวสินค้าหลักที่จะสร้างเป็นอะไร

คำแนะนำสำหรับสตาร์ทอัพช่วงตั้งบริษัทแรกๆ คือเลือกใช้ Tech Stack ในสิ่งที่ทีมงานมั่นใจว่าจะสร้าง  Product ออกมาได้เร็วที่สุด ทำ Product เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้ได้ก่อน แต่ในระยะหลังจากนั้น เงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาคือการขยายทีม การเลือก Tech Stack ที่มีความนิยมอยู่แล้วในตลาด ทำให้หาทีมงานได้ง่ายขึ้น

 

RentSpree เลือกใช้ Frontend เป็น React และ Backend เป็น Node.

Huawei เปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน AppsUP 2021 APAC ชิงเงินรางวัลกว่า $200,000

โอกาสดีๆ ของนักพัฒนา Mobile App

กับการแข่งขัน ?????? ???? ???? ชิงเงินรางวัลกว่า 200,000 เหรียญสหรัฐ

ในปีนี้ คุณอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา อุปนายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้วย

นอกจากเงินรางวัลและประการณ์การworkshop กับโค้ชมากฝีมือ พบปะผู้เข้าแข่งขันจากนานาประเทศ สั่งสมประสบการณ์ที่หาได้ยากแล้ว ยังเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์แอพในสื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย นับเป็นการโอกาสที่พลาดไม่ได้เลยสำหรับนักพัฒนา

สนใจสมัครเข้าร่วมแข่งขัน หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://bit.