สัมมนาวิชาการ รู้ทันก้าวไกล ในโลกไอที

งานสัมมนาวิชาการรู้ทันก้าวไกลในโลกไอที จัดขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 ณ. ห้อง 2101 มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตสะพานใหม่ บรรยากาศเป็นไปด้วยความกันเอง นักศึกษาที่เข้าฟังได้ความรู้จากวิทยากรกลับไปมากมาย

วิทยากรจากสมาคมฯประกอบด้วย

นายกฤษฎา เฉลิมสุข
นายอาคม ไทยเจริญ
นายอภัยชนม์ พันธุ์โอภาส

Code Mania 11 : Raise the bar

งาน Code Mania11 นี้ Concept คือ Raise The bar
Raise The bar จะนำเสนอถึงสิ่งที่คนไทยรู้แล้วจะทำให้เขียนโปรแกรมได้เก่งขึ้น สะดวกขึ้น เร็วขึ้น โค้ดสวยมากยิ่งขึ้น รวมถึงสิ่งที่น่าสนใจที่วิทยากรอยากนำมาแบ่งปันให้กับผู้เข้าร่วมงาน (เน้น technical/code เป็นหลัก)
วันจัดงาน : วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา: 09:00 - 18:00
สถานที่ : ตึก3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Speaker หลัก:

คุณบอย CTO Wongnai
หัวข้อ : "แกะสถาปัตยกรรม วงใน จากผู้ใช้หลักร้อยถึงหลักล้าน" : บทเรียนความผิดพลาด ปัญหา และการปรับปรุงระบบจากวันแรกถึงปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในงาน:

หัวข้อบรรยายมีมากกว่ากว่า 15 หัวข้อ ใน ช่วงบ่ายของงานโดยงาน Code Mania นั้น ในช่วงบ่ายจะมีการแบ่งห้องออกเป็น 3 ห้องให้ผู้เข้างานได้เลือกหัวข้อเข้ารับฟังได้ตามความสนใจ

ตัวอย่าง Speaker ในช่วงบ่าย
ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ หัวหน้าภาควิชา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณเอก Android Developer (GDE) เจ้าของเว็บไซต์ Akexorcist.

Software Expo Asia: Digital Integration

Event name: Software Expo Asia: Digital Integration

Date: Thursday 21st – Saturday 23rd January 2016

Venue: Queen Sirikit National Convention Center, Ratchadapisek Rd., Klong Toey, Bangkok.

Organizer: Software Industry Promotion Agency (Public Organization) (SIPA), Ministry of Information and Communication Technology

ในงานนี้ทางสมาคมได้ส่งคุณกฤษฎา เฉลิมสุขเป็นตัวแทนจากสามาคมเพื่อไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ

Pre-Introduction to Startup CTO เมื่อ Programmer ดีๆ จะเป็น CTO เจ๋งๆ

ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมชมเป็นอย่างมาก

Cr. https://www.

CodeHew Hackathon by Wongnai x สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

งานแข่งเขียนโปรแกรมสุดโหด มัน ฮา
“CodeHew Hackathon” โดย Wongnai ร่วมกับ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท

งานนี้จัดขึ้นสำหรับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดอายุ และการศึกษา ขอแค่ใจรักการเขียนโปรแกรมและอยากร่วมกิจกรรมสนุกๆกับเรา ซึ่งในการเขียนโปรแกรม สามารถเขียนได้โดยไม่จำกัดภาษาโปรแกรมที่ใช้ โดยมีรางวัลให้ดังต่อไปนี้

รางวัล
ชนะเลิศ เงินสด 30,000 บาท
รองชนะเลิศ เงินสด 10,000 บาท
อันดับ 3 เงินสด 5,000 บาท
รางวัลพิเศษ สำหรับทีมที่ทำคะแนนกิจกรรมดีที่สุดในแต่ละฐาน 500 บาท (มีจำนวน 10 ฐาน)
รางวัลชมเชยสำหรับทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบไฟนอล เสื้อยืด CodeHew Hackathon Finalist สุดเท่ห์ จาก Wongnai และ สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย

โดยงานนี้จัดขึ้นไปแล้วที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล้วยน้ำไท ในวันเสาร์ที่ 30 ม.ค. 59 เวลา 10:00 น. - 21:00 น บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ผู้เข้าร่วมเเข่งขันได้พบปะเพื่อนใหม่ๆ ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนทักษะกัน

Cr.ภาพสวยๆจาก

https://www.

How to Get Hired by Top Tech Companies

Disclaimer

เนื้อหาในบทความนี้เป็นมุมมองของผู้เขียนเพียงอย่างเดียว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายจ้างปัจจุบันหรืออนาคต เนื้อหาทุกอย่างเป็นเพียงแนวทางทั่วไป ซึ่งอาจแตกต่างไปในแต่ละบริษัทหรือตำแหน่งงาน
คิดว่าหลายๆคนคงอยากรู้ว่าการจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งวิศวกร (Engineer) กับบริษัทใหญ่ๆระดับโลก เช่น Facebook Google Amazone Microsoft Apple ฯลฯ นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์งาน และกำลังจะเข้าทำงานกับหนึ่งในบริษัทข้างต้น จึงอยากมาแชร์ประสบการณ์นี้กันครับ

สไลด์ประกอบบทความนี้ดูได้ที่ https://www.

Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 7 –ดร.กานต์ อุ่ยวิรัช

ช่วยกรุณาแนะนำตัวคร่าวๆให้พวกเรารู้จักด้วยครับ (ชื่อ ครอบครัว การศึกษา การทำงาน)

สวัสดีครับ กานต์ อุ่ยวิรัช (กานต์) เรียนจบปริญญาเอกสาขา Computer Science ทำวิจัยแนว Computer Vision & Machine Learning จาก Asian Institute of Technology (AIT) มาครับ เรียนมารวดเดียวตั้งแต่ปริญญาตรียันเอก ตอนนี้ทำงานในตำแหน่ง Research & Development Engineer ที่บริษัท Pronto Tools ทำตั้งแต่พัฒนาซอฟต์แวร์ ทดสอบผลิตภัณฑ์ ช่วยดูแลส่วน infrastructure จัดการข้อมูล จนไปถึงวิจัยสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในทีม

มีเว็บไซต์ส่วนตัวเอาไว้เขียนเล่น แล้วก็มาเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์ที่บล็อกของสมาคมปรแกรมเมอร์ครับ

ทำไมถึงมีความชอบทางด้านโปรแกรมมิ่ง อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจ

จุดเริ่มต้นจริงๆ น่าจะเป็นตอนทำโปรเจคในวิชาหนึ่งตอนปี 3 (ปริญญาตรี) ตอนนั้นทำเว็บจองตั๋วหนัง ได้ลองทำขึ้นมาเอง แล้วก็มีเพื่อนคอยช่วยแนะนำ ว่าตรงจุดนี้ทำอย่างไร ตรงนั้นควรทำแบบนี้ดีกว่า อะไรแบบนี้ รู้สึกว่าสนุกมากครับ แล้วก็เริ่มชอบเขียนเว็บมาตั้งแต่ตอนนั้น ยิ่งทำโปรเจคจบตอนปี 4 ก็ชอบเขียนโปรแกรมมากขึ้น โค้ดทั้งหมดเขียนขึ้นมาเองจากการอ่านเปเปอร์ จากนั้นมาเริ่มรู้สึกได้ว่าถ้าเราเขียนโปรแกรมเป็น จริงๆ แล้วเราสามารถจะเอาไปทำอะไรได้อีกเยอะมาก แทบไม่มีข้อจำกัดอะไรเลย

คุณมีหลักการในการพัฒนาตนเองอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จในสายงานนี้

ผมใช้หลักประมาณว่า “หาสิ่งใหม่ ลงมือทำซ้ำ เปลี่ยนแนวคิด และแบ่งปัน” เป็นตัวช่วยพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นในแต่ละวัน สายงานเทคโนโลยีเป็นสายงานที่ไปเร็วมาก ไม่เคยหยุดนิ่งเลย การที่เราสามารถถีบตัวเองให้ stay on top ได้ การพัฒนาตัวเองจะไปไวมากครับ

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากคือเรื่อง Fundamentals ครับ เทคโนโลยีเกือบทุกอย่างถูกพัฒนาต่อยอดจากจุดนี้ ถ้าเราจับแนวคิดได้ เชื่อมโยงองค์ความรู้ของเราได้ ตรงนี้จะสามารถช่วยได้เยอะเลยครับ

ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่าน เล่นเทคโนโลยี หรือ library อะไรอยู่ ช่วยแนะนำคร่าวๆให้ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ

หลักๆ ของผมจะเป็น Django ครับ เป็นเว็บเฟรมเวิร์คที่พัฒนาโดยใช้ภาษา Python เริ่มต้นอาจจะติดขัดเล็กน้อย แต่ถ้าเขียนเป็นเมื่อไหร่นี่อยากทำเว็บแบบไหนก็ไม่มีปัญหาครับ ตัวต่อไปคือ Airflow ครับ เป็น Workflow Management ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เขียนด้วย Python เช่นกัน เนื่องด้วยผมกำลังทำพวก Data Engineering ที่บริษัท Airflow นี่ผมยกให้เป็นพระเอกของงานเลย ส่วนเทคโนโลยีที่เล็งตัวต่อไปคือ Apache Spark ครับ ว่าจะเอามาต่อยอดเรื่องของการทำ Data Analytics

ช่วยแชร์ประสบการณ์ทำงานโปรเจคต่างๆหน่อยครับ โปรเจคที่ยากที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และยากที่จุดไหน

ณ เวลานี้ โปรเจคที่ยากที่สุด จริงๆ อยากจะเรียกว่าเป็นโปรเจคที่ท้าทายที่สุดนะครับ นั่นคือการวาง Data Infrastructure (ที่ Scable) และการ Open Data ในบริษัท เพราะ? เป็นโปรเจคที่เริ่มคิดเองตั้งแต่ต้น ทำเองตั้งแต่ต้น เจ็บเองตั้งแต่ต้น ไม่มีอะไรท้าทายไปมากกว่านี้แล้ว 🙂

โปรเจคที่ภูมิใจที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และเพราะอะไรถึงภูมิใจที่สุด

ภูมิใจทุกโปรเจคนะครับ มีส่วนร่วมในทุกๆ โปรเจค ขอตอบเผื่ออนาคตด้วยละกันว่าโปรเจคในข้อ 5 (ข้อที่แล้ว) จะกลายเป็นโปรเจคที่จะภูมิในที่สุด เพราะได้คิดเอง เริ่มต้นเอง ถ้าทำได้ในถึงระดับหนึ่งเมื่อไหร่ มันจะมี impact ที่สูงมากต่อบริษัท

คุณมีโปรแกรมเมอร์ที่เป็นไอดอลในใจมั้ยครับ ถ้ามีคือใคร และเพราอะไร

มีครับ พี่ Mark Zuck แห่ง Facebook ครับผม พี่ Mark เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่มาก เป็นคนที่มุ่งมั่น เป็นคนที่ทำอะไรแล้วทำได้จริง สุดยอดจริงๆ

มาถึงเรื่องการทำงานในองค์กรกันบ้าง วัฒนธรรมองค์กรในฝันของคุณเป็นอย่างไร

ฝันของผมเป็นจริงไปแล้วครับ วัฒนธรรมในทีม ในบริษัท เป็นแบบที่ผมฝันถึง เรามีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เดียวกัน เราทำงานกันเป็นทีม เราอยู่กันแบบสนิทกัน มี Work-Life Balance บรรยากาศการทำงานดี พูดง่ายๆ สั้นๆ ว่าที่ Pronto นี่คือ “บ้าน” ผมอีกหลังครับ

ช่วยให้คำแนะนำสำหรับ novice ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนและสนใจจะเข้ามาในวงนี้หน่อยครับ ว่าจะต้องวางตัวอย่างไร คุณสมบัติอะไรที่ควรมี ถึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในวงการนี้ได้

ถ้าไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน แนะนำให้เริ่มต้นด้วย Python ครับ เป็นภาษาที่เหมาะมากสำหรับมือใหม่ แล้วค่อยๆ ต่อยอดไปเรื่อยๆ ครับ คอร์สเรียนออนไลน์มีเยอะมาก สามารถเริ่มศึกษาด้วยตัวเองได้เลย

เรื่องการวางตัวที่อยากแนะนำอาจจะเป็นเรื่องการตั้งคำถามครับ ผมคิดว่าน่าจะเหมือนกันทุกสายอาชีพ คือไม่ควรตั้งคำถามออกแนวจะเอาไปตอบการบ้าน หรือว่าตอบข้อสอบครับผม จริงๆ มันก็ยากเหมือนกันนะ ถ้าจำเป็นต้องตั้งคำถามประมาณนี้จริงๆ อยากให้ไปลองหาจาก Google หรือตาม Stack Overflow ดูก่อนครับ ฝึกอ่านภาษาอังกฤษเยอะๆ

เรื่องคุณสมบัตินี่ผมมองว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จะเก่งหรือไม่เก่ง ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในวงการนี้ได้ทุกคนครับ มีความตั้งใจ ขยันหาความรู้ เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

และอีกกลุ่มนึงครับสำหรับกลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่พอมีพื้นฐานแล้วอยากจะ raise the bar ของตัวเองไปอีกควรจะต้องทำตัวอย่างไร

ลองทำจริงเลยครับ พัฒนาสิ่งที่แก้ปัญหาให้ตัวเราเองได้ (เริ่มมองปัญหาที่ตัวเองเจอก่อน) ไม่ต้องสนใจเลยครับว่าจะมีใครทำมาก่อนหรือไม่ มันคือการ raise the bar ของตัวเองครับ แล้วก็อะไรที่ทำแล้วเราแบ่งปันให้คนอื่นก็จะเป็นการช่วยหล่อหลอมความคิดของเราไปด้วย เวลาที่ผมอยากจะเรียนรู้อะไรผมจะทำแล้วเก็บไว้ใน GitHub ของผมครับ เพราะผมเชื่อว่าผมไม่ใช่คนเดียวในโลกที่ชอบในสิ่งๆ นั้น

สำหรับเรื่องการพัฒนาตนเอง พอจะแนะนำหนังสือทางด้านโปรแกรมมิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ และควรต้องอ่านให้แก่ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ

หนังสือที่ควรซื้อมาอ่านที่ผมแนะนำคือ Clean Code ครับ แล้วก็ Agile Software Development, Principles, Patterns, and Practices ซึ่งเล่มแรกจะออกแนวการเขียนโค้ดให้ดี ดูแลรักษาง่าย อะไรประมาณนั้น ส่วนเล่มที่ 2 จะออกแนวการปฏิบัติในการพัฒนาซอฟต์แวร์ครับ

แล้วก็นอกนั้นผมจะตามอ่านจากบทความของคนดังๆ ต่างๆ แล้วก็ตาม YouTube ชอบใครคนไหนก็ลองไปตามดูครับ ยกตัวอย่างเช่น Martin Fowler หรือไม่ก็ David Heinemeier Hansson ครับ

ส่วนเว็บที่ชาวโปรแกรมเมอร์ควรเปิดดู เปิดอ่านทุกวันคือ Hacker News ครับ แนะนำ!

คำถามนี้ขำๆ นะครับ หากไม่เขียนโปรแกรมจะไปประกอบอาชีพอะไร

อาจจะไปเป็นวิทยากรสอนอะไรสักอย่างมั้งครับ ไม่ก็ไปช่วยพ่อทำโรงน้ำแข็ง 😛

อยากให้วงการโปรแกรมเมอร์ไทยเป็นอย่างไรในตอนนี้และในอนาคต

อยากให้เป็นสังคมของการช่วยเหลือแบ่งปันกันครับ อย่างที่ USA จะเห็นได้ว่ามีสังคมแบบนี้เยอะมาก เขาสนับสนุนผู้เริ่มต้นใหม่ค่อนข้างดี

และคำถามสุดท้ายครับ อยากจะฝากอะไรส่งท้ายแก่ผู้อ่านครับ

ขอบคุณสำหรับคนที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ อยากเป็นกำลังใจให้ แล้วก็อยากเชิญมาร่วมสร้างสังคมโปรแกรมเมอร์ในเมืองไทยให้น่าอยู่มากขึ้นและมากขึ้นไปอีก 🙂

สุดท้ายจริงๆ ขอฝากบทความ Pronto Tools พวกเราทำอะไร? ไว้ด้วยนะครับ

Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 6 –ไพบูลย์ พนัสบดี

Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 6 –ไพบูลย์ พนัสบดี
- อดีต CTO บริษัททำเกมส์ Levelup Studio เป็นระยะเวลา 7 ปี

ช่วงเวลาสัมภาษณ์
- 22.00 - 23.00 น. วันที่ 19 มกราคม 2560

รูปแบบการดำเนินรายการ : ถาม-ตอบ โดยพิธีกร
- 30 นาทีแรก - คำถามจากสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย
- 30 นาทีสุดท้าย

ผู้ดำเนินรายการ : Oak - Founder acourse.

Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 5 – วรธนะ งามตระกูลชล

ช่วยกรุณาแนะนำตัวคร่าวๆให้พวกเรารู้จักด้วยครับ (ชื่อ ครอบครัว การศึกษา การทำงาน)

วรธนะ งามตระกูลชล (เพิร์ธ) ครับ จบปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบและการผลิตยานยนต์ (ADME) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนนี้มาต่อปริญญาโท Master of Data Science ที่ Monash University ครับ

เคยทำงานเป็น Frontend Developer ที่ Salad Co., Ltd.

Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 4 – รัฐ ปัญโญวัฒน์

1. ช่วยกรุณาแนะนำตัวคร่าวๆให้พวกเรารู้จักด้วยครับ (ชื่อ ครอบครัว การศึกษา การทำงาน)

Ans: สวัสดีครับ ชื่อรัฐ ปัญโญวัฒน์ (รัฐ) นะครับ อายุ 30 ปี การศึกษาจริงๆ เรียนหมอมา แต่ว่าชอบเรื่องการพัฒนาซอฟท์แวร์ ก็เลยเป็นหมออยู่ปีเดียวแล้วย้ายสายงานมาทำเกี่ยวกับซอฟท์แวร์มาตลอด จากอยู่ฝ่าย IT ของโรงพยาบาล ก็มาทำ startup ของตัวเองครับ ทำมาหลายตัว เลิกหมดแล้วครับ 55 ตอนนี้โฟกัสแค่ตัวเดียวแล้วคือ Health at Home แต่ปัจจุบันผมก็ลดบทบาทตัวเองลงแล้ว เพราะมาเรียนต่อด้าน Health Informatics ที่สวีเดนครับ (ท่านใดสนใจทุนให้เปล่าเต็มจำนวนเรียนป.โทสวีเดนเชิญลิงค์นี้ครับ)

2. ทำไมถึงมีความชอบทางด้านโปรแกรมมิ่ง อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจ

Ans: จุดเริ่มต้นจริงๆ คือตอนที่ทำ startup ตัวแรก เพื่อน co-founder ถอนตัวออกไปครับ จะจ้างก็ไม่มีเงิน ช่วงนั้นอ่านบทความเกี่ยวกับ startup บอก founder ควร code เป็นด้วย (สมัยนี้มีบทความออกมาแย้งเยอะเลย 55) ก็เลยเอาวะ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว หัดเลยละกัน ช่วงแรกก็เริ่มจาก HTML/CSS ธรรมดาก่อน ต่อมาก็พบว่ามันไม่พอก็เลยได้มาหัด JavaScript แล้วก็ไหลมาเรื่อยเลยครับ ไม่พอซักที 55 คือไปๆ มาๆ ผมรู้สึกว่างาน programming เป็นสิ่งนึงที่ผมทำแล้วรู้สึกสนุกนะ ตราบที่ไม่เครียดเกินไป (เช่น ต้องเร่งให้เสร็จเร็วๆ) จริงๆ ผมว่าทุกสายงานก็เป็นงี้แหละครับ ถ้ากดดันมันก็ไม่สนุกทั้งนั้น แต่งาน programming ในไทยมักมีความกดดันสูง

3. คุณมีหลักการในการพัฒนาตนเองอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จในสายงานนี้

Ans: ของผมนี่น่าจะเรียกว่ายังไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเลยนะครับ 555 แต่ถ้าถามว่าพัฒนาตัวเองอย่างไร หลักๆ คือผมชอบการเรียนครับ ถ้าว่างก็ชอบนั่งดูคอร์สเล่น เว็บที่ชอบที่สุดก็คงเป็น Pluralsight ครับ

4. ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่าน เล่นเทคโนโลยี หรือ library อะไรอยู่ ช่วยแนะนำคร่าวๆให้ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ

Ans: จริงๆ ต้องบอกว่าสองเดือนที่ผ่านมาไม่ได้แตะการ coding เลยครับ 55 เพราะเรียนแอบหนัก วันไหนไม่เรียนก็ต้องไปเที่ยวอีก ไม่เที่ยวเดี๋ยวไม่คุ้ม มาทั้งที :p แต่ตอนนี้สนใจเรื่อง data science มากสุด เพราะพอมาเรียน health informatics นี่ ถ้าไม่รู้เรื่อง data science แล้วรู้สึกบาป 55 อธิบายก็คือ วงการแพทย์เป็นวงการนึงที่ล้าหลังมากในการ adopt เอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใน workflow (หลายท่านก็น่าจะเคยสงสัยใช่ไหมครับ ว่าแค่รักษาที่อีกรพ.นึง ทำไมประวัติมันไม่ส่งหากันผ่านคอมได้?) ตอนนี้ในต่างประเทศเริ่มมีการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ในรูปแบบ electronic มากขึ้น แต่เขาก็ยังงงๆ กันอยู่ว่าจะใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้อย่างไร จึงเป็นที่มาของความต้องการด้าน data science ใน health informatics

5. ช่วยแชร์ประสบการณ์ทำงานโปรเจคต่างๆหน่อยครับ โปรเจคที่ยากที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และยากที่จุดไหน

Ans: ข้อนี้อายที่จะตอบจังครับ รู้สึกไม่เคยทำอะไรยากจริงๆ 55 คือสำหรับคนอื่นมันง่ายไงแต่สำหรับผมมันก็ยากอยู่นะ ยากสุดที่เคยทำแค่ Angular 1.x ให้เวอร์ชั่นนึงของ Health at Home แค่นี้แหละครับ 55 อีกอันนึงที่รู้สึกอยากก็คือเคยเขียน NodeJS app อันนึง งงเลยครับ ไม่เคยทำ backend มาก่อน งงตั้งแต่เริ่มโปรเจคท์ยัน deploy

6. โปรเจคที่ภูมิใจที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และเพราะอะไรถึงภูมิใจที่สุด

Ans: ภูมิใจที่สุดคงเป็น Health at Home นี่แหละครับ ทำมาแก้ปัญหาที่เป็น real pain ของสังคมจริงๆ ทุกท่านอาจไม่ทราบว่าปี 2030 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ 17 ล้านคนนะครับ ปัจจุบันเรามีเตียงของรพ.อยู่แค่ 200,000 เตียงทั้งภาครัฐและเอกชน เราเชื่อว่าบ้านคือคำตอบครับ ต้องสร้าง solution ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านของตนเองได้ โดยได้รับบริการทางสุขภาพที่ดีพอ

7. คุณมีโปรแกรมเมอร์ที่เป็นไอดอลในใจมั้ยครับ ถ้ามีคือใคร และเพราอะไร

Ans: ช่วงผมหัดใหม่ๆ ผมเป็นติ่ง Douglas Crockford นะ อ่านหนังสือเขา ฟังที่เขาบรรยาย คนอื่นๆ ก็ Addy Osmani, TJ Holowaychuk สาเหตุหลักที่ชอบคือเขาสร้างอะไรเจ๋งๆ กันออกมาเยอะดีครับ ถ้าคนไทยก็คงพี่เนย สิทธิพล, พี่ปิง ศุภเสฏฐ์ ฯลฯ

8. มาถึงเรื่องการทำงานในองค์กรกันบ้าง วัฒนธรรมองค์กรในฝันของคุณเป็นอย่างไร

Ans: ผมชอบทำงานในทีมเล็กๆ 3-5 คนนี่ perfect ไม่เกิน 10 คนก็ได้อยู่ ส่วน culture ที่ผมชอบที่สุดคือความ craftmanship (ซึ่งจริงๆ อาจไม่ค่อยเหมาะกับ startup นะ เพราะควรจะรีบทำรีบ proof idea 55) รองๆ ลงมาคือ flat hierarchy, openness, remote working ฯลฯ

9. ช่วยให้คำแนะนำสำหรับ novice ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนและสนใจจะเข้ามาในวงนี้หน่อยครับ ว่าจะต้องวางตัวอย่างไร คุณสมบัติอะไรที่ควรมี ถึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในวงการนี้ได้

Ans: ผมว่าก็ start with why แหละครับ ตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าอยากเขียนโปรแกรมได้เพื่ออะไร (คือ solution มันอาจไม่ใช่การหัดเขียนโปรแกรมน่ะครับ) หลังจากนั้นก็หัดภาษาอังกฤษก่อนเลย อันนี้ไม่ได้กวน แต่พูดจริงๆ นะครับ เดี๋ยวนี้ไม่มีใครคอยแปลหนังสือให้แล้ว ส่วน blog ก็ใช่จะพึ่งได้ แต่ถ้าได้ภาษา แหล่งความรู้เต็มไปหมดเลยในโลกนี้ หลังจากนั้นก็ค่อยเลือกเรียนเขียนโปรแกรม

ผมแนะนำบทความนี้เสมอนะครับสำหรับคนหัดเขียนโปรแกรม Why Learning to Code is So Damn Hard คำแนะนำคือ ไปให้ถึง Desert of Despair ให้เร็วที่สุดแล้วอดทนผ่านมันไปให้ได้ หลังจากนั้นก็จะดีเอง

10. และอีกกลุ่มนึงครับสำหรับกลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่พอมีพื้นฐานแล้วอยากจะ raise the bar ของตัวเองไปอีกควรจะต้องทำตัวอย่างไร

Ans: ข้อนี้ไม่ทราบแล้วครับ เพราะผมก็กลุ่มพอมีพื้นฐานนี่แหละ 555

11. สำหรับเรื่องการพัฒนาตนเอง พอจะแนะนำหนังสือทางด้านโปรแกรมมิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ และควรต้องอ่านให้แก่ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ

Ans: ข้อนี้ผมก็ไม่รู้จะแนะนำอะไรเหมือนกันครับ ไม่ค่อยได้อ่าน แต่ถ้าจะแนะนำจริงๆ คืออยากให้อ่านเรื่อง soft skill กันเยอะๆ ครับ เพราะความรู้ applied programming มันอายุสั้นมาก ผมเคยเขียน Backbone, Angular 1.x เดี๋ยวนี้ไม่มีใครใช้แล้ว แต่ความรู้แบบ communication skills, conflict management, leadership ฯลฯ พวกนี้หัดครั้งเดียวแล้วอยู่กับเรายาว ที่สำคัญมันเป็นความรู้ที่สำคัญมากๆ ต่อการก้าวหน้าในสายอาชีพ (ผมเองก็อ่อนเรื่องพวกนี้เหมือนกันครับ)

13. คำถามนี้ขำๆนะครับ หากไม่เขียนโปรแกรมจะไปประกอบอาชีพอะไร

Ans: จริงๆ ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้กลับไปเขียนโปรแกรมหรือเปล่าด้วยครับ 555 คือยังไม่รู้เลยว่าจบไปจะไปทำงานอะไร

14. อยากให้วงการโปรแกรมเมอร์ไทยเป็นอย่างไรในตอนนี้และในอนาคต

Ans: เรื่องนี้ยาวและซับซ้อนมากครับ ตอบสั้นๆ คือ ผมอยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศ developed country ที่มี software innovation เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปัญหาต่างๆ ของวงการปรแกรมเมอร์ในปัจจุบัน (ค่าแรงต่ำ งานหนัก คนขาด ฯลฯ) ส่วนตัวผมมองมันเป็นผลของ middle income country trap แบบนึงนะ

15. และคำถามสุดท้ายครับ อยากจะฝากอะไรส่งท้ายแก่ผู้อ่านครับ

- เช่น ว่าบริษัทกำลังทำไรอยู่, มีอะไรที่อยากจะ recruit programmer ไม๊ ไรเงี้ยก็ได้ครับ

Ans: ก็อยากฝากบริษัท Health at Home นะครับ ท่านใดต้องการหาผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านติดต่อเราได้ครับ healthathome.

Programmer Interview by สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ตอนที่ 3 – วัชรินทร์ เหลืองวัฒนากิจ

1. ช่วยกรุณาแนะนำตัวคร่าวๆให้พวกเรารู้จักด้วยครับ (ชื่อ ครอบครัว การศึกษา การทำงาน)
สวัสดีครับ ผมชื่อ วัชรินทร์ เหลืองวัฒนากิจ จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปต่อโท และเอกทางด้าน Software Engineering ที่ University of Tokyo ครับ ปัจจุบันเป็น Senior Quantitative Researcher อยู่ใน hedge fund แห่งหนึ่งครับ

2. ทำไมถึงมีความชอบทางด้านโปรแกรมมิ่ง อะไรเป็นจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจ
จุดเริ่มต้นคงเริ่มจากตอนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนเตรียมอุดมฯ ตอนนั้นมีสอนเขียน HTML แบบพื้นๆ เลยในห้องเรียน ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่การ programming หรอก แต่มันให้ความรู้สึกว่าการเขียน code ลงไปไม่กี่บรรทัด มันสามารถสร้างผลลัพธ์ออกมาได้มากกว่าที่คิด ถัดๆ มาก็ได้เรียนการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนนี่แหละครับ ที่ยิ่งทำให้ความรู้สึกว่า code ไม่กี่ตัวอักษร มันนำไปสู่ความเป็นไปได้มากมาย และก็ทำให้เราค้นพบตัวเองว่า เราเหมาะกับงานสายนี้

3. คุณมีหลักการในการพัฒนาตนเองอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จในสายงานนี้
ผมคิดว่าในสายงานนี้ สิ่งที่ท้าทายเรามากที่สุดอย่างนึงคือ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และความหลากหลายของเทคโนโลยี ความรู้ในวงการนี้มันมีเยอะมาก มากจนเราไม่มีทางเรียนรู้หมด หลักคิดของผมคือว่า เราควรจะเลือกเรียนรู้เทคโนโลยีที่น่าจะมีอายุขัยค่อนข้างยาว มีขนาด community ที่ใหญ่พอสมควร ซึ่งจะทำให้เรามีคนช่วย support เยอะ เวลามีปัญหา และจะทำให้เราเรียนรู้ได้เร็วขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่เรียนรู้อย่างอื่นเลย ถ้ามีเวลาว่างอาจจะลอง framework หรือ library อะไรที่มีคนพูดถึงบ่อยในตอนนั้นดูบ้าง การรู้กว้าง ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเราสามารถนำ pattern หรือแนวคิดบางอย่างมาใช้ในงานหลักของเราได้เหมือนกัน

4. ในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่าน เล่นเทคโนโลยี หรือ library อะไรอยู่ ช่วยแนะนำคร่าวๆให้ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ
ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ก็ศึกษา GSL เป็น library ทางสถิติของ C++ ครับ เนื่องจากงานที่ทำปัจจุบัน ใช้สถิติค่อนข้างมาก จึงคิดว่าควรจะเรียนรู้ไว้ จะได้เป็นประโยชน์

5. ช่วยแชร์ประสบการณ์ทำงานโปรเจคต่างๆหน่อยครับ โปรเจคที่ยากที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และยากที่จุดไหน
Project ยากที่สุดคงเป็นตอนที่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ตอนนั้นทำ tool ที่ใช้สำหรับ verify networked application แบบอัตโนมัติ ความยากก็คงเหมือนกับการเรียนปริญญาเอกในสายวิทยาศาสตร์ทั่วไป คือไม่มีใครรู้ว่าทำยังไงถึงจะดี เพราะไม่มีใครเคยทำ การทำงานจึงต้องมีการทดลอง approach แบบต่างๆ ต้องล้ม project ทิ้ง แล้วเริ่มเขียนใหม่หลายครั้ง กว่าจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

6. โปรเจคที่ภูมิใจที่สุดที่เคยทำมาคืออะไร และเพราะอะไรถึงภูมิใจที่สุด
ที่ภูมิใจที่สุด เป็นงานกลุ่มทำกับเพื่อนอีก 2 คน งานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ NSC สมัยที่เรียนอยู่ที่คณะวิศวะ จุฬาฯ เป็นการนำกล้องเว็บแคม มาจับภาพของ pattern ลายตารางหมากรุก แล้วคำนวณหา ระยะห่าง และ orientation ของตารางเมื่อเทียบกับกล้อง application อย่างนึงที่เราเอามาโชว์ คือเราใช้กระดานหมากรุกแทนรีโมทไร้สาย แล้วบังคับเกมได้ คล้ายๆ กับ Wii แต่ตอนนั้นยังไม่มี Wii ตอนที่ออกบูทก็มีเด็กนักเรียนมาต่อแถวเล่นกัน คนที่เดินผ่านไปมา ก็สนใจเข้ามาสอบถามว่าเราทำแบบนี้ได้ยังไง ถือเป็นอะไรที่รู้สึกดีมาก สำหรับโปรแกรมเมอร์คนนึง

7. คุณมีโปรแกรมเมอร์ที่เป็นไอดอลในใจมั้ยครับ ถ้ามีคือใคร และเพราอะไร
ถ้าจะมี ก็คงเป็น Richard Stallman ครับ เขาเป็นคนที่เขียน GCC แล้ว release ออกมาให้ใช้ฟรีเป็นคนแรก software มากมายนับไม่ถ้วนก็ถูก compile ด้วย GCC นี่แหละครับ ทุกวันนี้ผมก็ยังใช้ GCC อยู่ทุกวัน การเป็นคนที่เขียน compiler ที่ใช้อย่างแพร่หลายขนาดนี้จึงเป็นอะไรที่เท่มาก

8. มาถึงเรื่องการทำงานในองค์กรกันบ้าง วัฒนธรรมองค์กรในฝันของคุณเป็นอย่างไร
ผมคิดว่าองค์กรที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน มักจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ การดูแล และพัฒนาคนที่ดี การดูแล หมายความว่าให้ค่าตอบแทน และสวัสดิการอย่างเหมาะสม การพัฒนา คือการส่งเสริมให้คนที่อยู่มีทักษะ และความรู้ในการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะทำไปสู่ productivity ที่สูงขึ้นขององค์กรนั้น อีกอย่างที่ผมอยากจะเสริมคือ องค์กรควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้พนักงานแสดงความคิดเห็น ได้อย่างอิสระ

9. ช่วยให้คำแนะนำสำหรับ novice ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนและสนใจจะเข้ามาในวงนี้หน่อยครับ ว่าจะต้องวางตัวอย่างไร คุณสมบัติอะไรที่ควรมี ถึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในวงการนี้ได้
ถ้าคนที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมเลย ผมอยากให้ลองเช็คตัวเองดูก่อนว่ามีลักษณะนิสัยที่ชอบคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบหรือเปล่า เพราะนั่นคือสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ที่ดีทำอยู่เป็นประจำ อีกอย่างคือเป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือเปล่า อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่า โปรแกรมเมอร์ต้องเรียนอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ การที่เราเป็นคนชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ มีส่วนทำให้ชีวิตการเป็นโปรแกรมเมอร์มีความสุขครับ

10.  และอีกกลุ่มนึงครับสำหรับกลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่พอมีพื้นฐานแล้วอยากจะ raise the bar ของตัวเองไปอีกควรจะต้องทำตัวอย่างไร
ผมคิดว่าการจะยกระดับความสามารถตัวเองนั้น ไม่พ้นการที่จะต้องพยายามทำสิ่ง challenge กว่าที่เคยเป็น ถ้าคุณนั่งวิเคราะห์ project ที่คุณกำลังจะทำ แล้วเห็นทุก step ชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ผมคิดว่านั่นเป็นสัญญาณว่า project นั้นอาจจะไม่ได้ทำให้คุณเก่งขึ้นอีกซักเท่าไหร่ ผมแนะนำว่าพยายามทำ project แนวที่ตัวเองชอบ แล้วใน project นั้นมี feature อะไรบางอย่างที่ challenge ตัวคุณเอง คุณน่าจะเก่งขึ้น และได้ประสบการณ์หลังจากทำ project นั้นเสร็จครับ อีกวิธีในการพัฒนาตัวเองคือ คุณควรจะมองหาคนที่คุณคิดว่าเค้าเก่งมาเป็น advisor ให้ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับคนที่มีประสบการณ์จะทำให้เราพัฒนาทักษะได้เร็วขึ้นมาก

11. สำหรับเรื่องการพัฒนาตนเอง พอจะแนะนำหนังสือทางด้านโปรแกรมมิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ และควรต้องอ่านให้แก่ชาวโปรแกรมเมอร์ได้มั้ยครับ
ปกติจะแล้วแต่ว่าใครใช้เทคโนโลยีอะไรอยู่ ก็จะไปหาหนังสือของเรื่องนั้นๆ ไป ถ้าให้ผมแนะนำผมคิดว่าน่าจะอ่านหนังสือที่เป็นแนวสอน practice การเขียนไว้บ้างเช่นตระกูล Effective ทั้งหลาย (Effective Java, Effective Python, …) หรือ Design Patterns ข้อดีของหนังสือแนวนี้คือคุณจะได้เรียนรู้ pattern การเขียน program ที่ดี และความรู้ไม่ล้าหลังง่ายๆ เมื่อ technology หรือภาษามีการเปลี่ยน version

13. คำถามนี้ขำๆนะครับ หากไม่เขียนโปรแกรมจะไปประกอบอาชีพอะไร
จริงๆ ก็นึกไม่ออกเหมือนกันนะครับ เพราะคิดว่าตัวเองรู้ตัวเร็วว่าเหมาะกับงานสายนี้ เลยไม่เคยคิดว่าจะไปทำงานแนวอื่น ถ้าให้เดาก็อาจจะเป็นนักบัญชีมั้งครับ เพราะจำได้ว่าตอนเรียนม.ต้น แบบทดสอบในคาบแนะแนวมักจะบอกให้ผมไปทำอาชีพนี้บ่อยๆ

14. อยากให้วงการโปรแกรมเมอร์ไทยเป็นอย่างไรในตอนนี้และในอนาคต
ผมคิดว่าโปรแกรมเมอร์เป็นอาชีพที่เป็นได้ง่าย แต่เก่งได้ยาก ในยุคสมัยนี้แทบไม่มี barrier อะไรมาเป็นอุปสรรคกับคนที่ต้องการเรียนเขียนโปรแกรมเลย เรียกว่าต้นทุนการเข้าถึงต่ำมาก เพียงแต่ว่ากว่าที่คนๆ นึงจะเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เก่งได้ จะต้องทำงานหนัก และผ่านประสบการณ์การทำงานมามาก ผมจึงอยากให้โปรแกรมเมอร์ไทยนั้นพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ  มีความกระตือรือร้นที่จะสร้างงานที่คุณภาพสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา การหาความรู้ทางด้าน IT นั้นเป็นหนึ่งในไม่กี่อย่างที่เราแทบจะไม่เสียเปรียบประเทศพัฒนาแล้วเลย ผมจึงคิดว่าคนในวงการนี้เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศไทยเลย

15. และคำถามสุดท้ายครับ อยากจะฝากอะไรส่งท้ายแก่ผู้อ่านครับ
อยากฝากให้โปรแกรมเมอร์ไทยทุกคนพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ อย่าหยุด เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก คู่แข่งของประเทศเราก็ทำงานหนัก และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเช่นกันครับ